ลิ้งค์เชื่อมต่อ

พรรครัฐบาลไต้หวัน Nationalist พ่ายแพ้การเลือกตั้งท้องถิ่น ส่งผลสะเทือนต่อความสัมพันธ์ไต้หวัน-จีน


ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ยังส่งผลต่อการเลือกตั้งปธน.ในอีก 2 ปีข้างหน้า หลังจากพรรคฝ่ายค้านที่มีจุดยืนต่อต้านจีนได้รับเสียงสนับสนุนมากขึ้น

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:19 0:00
Direct link

พรรค Nationalist ของประธานาธิบดี Ma Ying-jeou พ่ายแพ้การเลือกตั้งใน 9 เมืองและ 9 ตำบลเมื่อวันเสาร์ ในการเลือกตั้งกลางเทอมที่ว่ากันว่าเป็นการทดสอบฐานเสียงของ ปธน. Ma ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งหน้าในปี ค.ศ 2016

นายก รมต.Jiang Yi-huah ประกาศลาออกในวันเสาร์เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผลการเลือกตั้ง และเชื่อว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในเร็ววันนี้ ด้านประธานาธิบดี Ma Ying-jeou ออกมากล่าวขอโทษต่อความพ่ายแพ้ครั้งนี้เช่นกัน พร้อมสัญญาว่าจะมีการปฏิรูปพรรค Nationalist ครั้งใหญ่

คุณ Ross Feingold ที่ปรึกษาของบริษัทบริหารจัดการความเสี่ยง DC International Advisory สาขากรุงไทเป ชี้ว่าปกติแล้วการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นนั้นมักจะไม่มีการเมืองระหว่างประเทศมาเกี่ยวข้อง แต่ไม่ใช่ครั้งนี้ คุณ Feingold กล่าวว่าเห็นได้ชัดเจนว่าการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นของไต้หวันในวันเสาร์ ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์กับจีนคือประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

ด้านอาจารย์ George Tsai แห่งคณะรัฐศาสตร์ Chinese Cultural University ในกรุงไทเป เชื่อว่าจากนี้ไปพรรค Nationalist และประธานาธิบดี Ma Ying-jeou จะประสบกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งในการรักษาฐานเสียงเอาไว้ พร้อมไปกับการรักษาความสัมพันธ์กับจีน

ปธน. Ma เข้ารับตำแหน่งเมื่อปี ค.ศ 2008 และมีสัมพันธ์อันดีกับจีนมาตลอด นำไปสู่การทำข้อตกลงการค้าและการลงทุนระหว่าง 2 ประเทศถึง 21 ฉบับในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทางรัฐบาลไต้หวันมองว่าเป็นการยกระดับเศรษฐกิจของไต้หวัน

ถึงกระนั้นชาวไต้หวันจำนวนมากดูจะไม่พอใจต่อท่าทีเป็นมิตรต่อจีนของปธน. Ma และเมื่อเดือน มี.ค ผู้ประท้วงชาวไต้หวันหลายพันคนเดินขบวนในกรุงไทเปและบุกยึดอาคารรัฐสภา เพื่อต่อต้านความสัมพันธ์ไต้หวัน-จีน ที่ทางผู้ประท้วงระบุว่าไม่โปร่งใส
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์การเมืองไต้หวันต่างเชื่อว่า แม้พรรค Nationalist พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด แต่รัฐบาลประธานาธิบดี Ma Ying-jeou จะยังคงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับจีนต่อไปจนถึงการเลือกตั้ง ปธน.ในปี ค.ศ 2016

ส่วนทางพรรคฝ่ายค้านไต้หวัน Democratic Progressive Party ซึ่งปกครองไต้หวันระหว่างปี ค.ศ 2000 – 2008 ด้วยนโยบายตีตนออกห่างจากจีนแผ่นดินใหญ่จนก่อให้เกิดรอยร้าวระหว่างสองประเทศ ระบุว่าเวลานี้ทางพรรคยินดีที่จะเจรจากับรัฐบาลจีน แต่ต้องเป็นไปภายใต้เงื่อนไขว่าจีนต้องยอมรับไต้หวันว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งเท่านั้น


รายงานจาก Ralph Jenning - ไต้หวัน / เรียบเรียงโดยทรงพจน์ สุภาผล

XS
SM
MD
LG