ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิเคราะห์บอกว่า การที่จีนและฟิลิปปินส์ห้ามหาปลาในทะเลจีนใต้ในบริเวณที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนกัน อาจผ่อนความตึงเครียดได้ในระยะสั้น


จีนและฟิลิปปินส์ประกาศห้ามหาปลาชั่วคราวในบริเวณที่กำลังเป็นที่ขัดแย้งกันในทะเลจีนใต้ ทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวอ้างอธิปไตยเหนือบริเวณดังกล่าว การห้ามอาจช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างสองประเทศนี้ได้ แต่นักวิเคราะห์การเมืองกล่าวว่า จะต้องหาทางทำความตกลงเป็นการถาวรในเรื่องนี้ให้ได้ เพื่อแก้ไขวัฏจักรของความขัดแย้งที่สืบเนื่องมาจากปริมาณปลาที่ลดน้อยลงในบริเวณ

จีนและฟิลิปปินส์ประกาศห้ามหาปลาชั่วคราวในบริเวณที่กำลังเป็นที่ขัดแย้งกันในทะเลจีนใต้ ทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวอ้างอธิปไตยเหนือบริเวณดังกล่าว การห้ามอาจช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างสองประเทศนี้ได้ แต่นักวิเคราะห์การเมืองกล่าวว่า จะต้องหาทางทำความตกลงเป็นการถาวรในเรื่องนี้ให้ได้ เพื่อแก้ไขวัฏจักรของความขัดแย้งที่สืบเนื่องมาจากปริมาณปลาที่ลดน้อยลงในบริเวณ


จีนห้ามหาปลาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ในตอนเหนือของทะเลจีนใต้เป็นประจำทุกปี โดยให้เหตุผลว่า ที่ใช้มาตรการนี้มาเป็นเวลากว่าสิบปี ก็เพื่อให้โอกาสปริมาณปลาได้ฟื้นตัว

แต่ฟิลิปปินส์และเวียตนาม กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จีนทำ เพื่ออ้างสิทธิ์เหนือบริเวณน่านน้ำที่กำลังเป็นที่ขัดแย้งกัน นักวิเคราะห์ Ian Storey ของ Institute of Southeast Asian Studies ในสิงคโปร์ เห็นด้วยกับความเห็นของฟิลิปปินส์และเวียตนาม

นักวิเคราะห์ผู้นี้ บอกว่า เหตุผลสำคัญสำหรับจีนในการห้ามหาปลา คือเพื่อแสดงสิทธิ์ของตนในทะเลจีนใต้ และว่า ถ้ามีการนำเรื่องนี้ขึ้นศาลโลก ปักกิ่งก็จะใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างสนับสนุนการอ้างสิทธิ์ของตนได้

แต่นาย Kim Bergmann บก. ของ Asia-Pacific Defense Reporter และ Defense Review Asia บอกว่า การที่จีนประกาศห้ามหาปลา ทำให้จีนและฟิลิปปินส์ เกิดการประจันหน้ากัน แต่เมื่อฟิลิปปินส์ประกาศห้ามขึ้นมาบ้าง ก็คิดว่า อาจเป็นประโยชน์ต่อการเจรจา และช่วยลดความตึงเครียดได้บ้าง อย่างน้อยก็ในระยะสั้น

การประจันหน้ากันระหว่างจีนและฟิลิปปินส์ เกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในบริเวณที่เรียกว่า Scarborough Shoal เมื่อเรือรบของฟิลิปปินส์พยายามจะจับกุมเรือประมงจีน แต่ไม่สำเร็จเพราะเรือลาดตระเวณของจีนเข้าขัดขวาง

บริเวณดังกล่าว นอกจากจะมีปลาชุกชุมแล้ว นาย Kim Bergmann ยังอ้างคำกล่าวของนักธรณีวิทยาที่ว่า ทะเลจีนใต้มีแหล่งน้ำมันมากราวๆ 80% ของที่ซาอุดิ อเรเบียมี รวมทั้งแก๊สธรรมชาติปริมาณมหาศาล

ในขณะที่ปริมาณปลาที่จับได้จากทะเลจีนใต้นั้น ประมาณว่า เท่ากับ 10% ของปริมาณปลาที่จับได้ทั่วโลก และนักวิเคราะห์ Ian Storey ของ Institute of Southeast Asian Studies ในสิงคโปร์ กล่าวว่า การแก่งแย่งหาปลาในบริเวณที่ว่านี้ ก่อให้เกิดความขัดแย้งได้ และว่าชาติต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน จะต้องหาทางทำความตกลงกันให้ได้ เพื่ออนุรักษ์ปริมาณปลา แต่เนื่องจากการอ้างสิทธิ์ทับซ้อนเหนือบริเวณดังกล่าว จึงยังทำความตกลงกันไม่ได้

นอกจากจีนและฟิลิปปินส์แล้ว ยังมีบรูไน มาเลย์เซีย ไต้หวัน และเวียตนาม ที่อ้างสิทธิ์อธิปไตยเหนือบริเวณดังกล่าวด้วย และความตึงเครียดที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่มีการสำรวจแหล่งน้ำมันและแก๊สได้อย่างสมบูรณ์แบบ

มาตรการห้ามหาปลาของจีนนั้น จะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 สิงหาคม ศกนี้ ส่วนของฟิลิปปินส์ไม่ไว้ได้ระบุไว้

XS
SM
MD
LG