ลิ้งค์เชื่อมต่อ

แผ่นน้ำแข็งเขตร้อนเก่าแก่ในเทือกเขาแอนดีสช่วยไขปริศนาภาวะโลกร้อน


Ashes rise above the Cotopaxi volcano in the Andes mountains about 50km south of Quito, Ecuador, Aug. 14, 2015.
Ashes rise above the Cotopaxi volcano in the Andes mountains about 50km south of Quito, Ecuador, Aug. 14, 2015.

ทีมนักวิทยาศาสตร์เก็บตัวอย่างจากแผ่นน้ำแข็งบนเทือกเขาแอนดีสในเปรูที่กำลังละลายอย่างรวดเร็วเพื่อศึกษาประวัติการเกิดภาวะโลกร้อน

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:30 0:00
Direct link

ประเทศต่างๆ ในเทือกเขาแอนดีส ไม่ว่าจะเป็นโบลิเวีย เอกวาดอร์และเปรู ต่างพึ่งพาแหล่งน้ำที่มาจากแผ่นน้ำแข็งบนยอดเทือกเขาแอนดีสเป็นหลัก แต่รายงานของธนาคารโลกปีคริสตศักราช 2009 เตือนว่าภาวะโลกร้อนอาจจะทำให้แผ่นน้ำแข็งในเทือกเขาแอนดีสละลายหายไปในที่สุด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำ แหล่งพลังงานและแหล่งอาหารในประเทศเหล่านี้

เท่าที่ผ่านมาตลอดช่วง 30 ปี แผ่นน้ำเเข็งเขตร้อนเหล่านี้สูญเสียปริมาณน้ำแข็งและหิมะไปแล้วมากกว่า 1 ใน 5

คุณ Lonnie Thompson ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงของภาวะอากาศ กล่าวว่าสักวันหนึ่ง แผ่นน้ำเเข็ง Quelccaya บนเทือกเขาแอนดีสที่เปรูจะหมดไปจากโลก เช่นเดียวกับหลักฐานของการเปลี่ยนแปลงทางภาวะอากาศที่ฝังอยู่ในแผ่นน้ำแข็ง

ทำให้บรรดานักวิทยาศาสตร์เร่งเข้าไปเก็บตัวอย่างน้ำเเข็งจากแผ่นน้ำเเข็งแห่งนี้ ก่อนที่มันจะหายสาปสูญไปพร้อมกับแผ่นน้ำแข็งที่ละลายอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากโลกอุ่นขึ้น

การวิเคราะห์ฟองอากาศและฝุ่นที่ติดอยู่ในแผ่นน้ำแข็ง จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเรียนรู้ถึงประวัติการเกิดภาวะโลกร้อน กับการเกิดภูเขาไฟระเบิดครั้งต่างๆ ในอดีตนักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานที่ชี้ว่า มลภาวะที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้ในคริสต์ศวรรษที่ 16 สมัยที่นักล่าอณานิคมจากสเปนเริ่มบังคับให้คนท้องถิ่นเริ่มขุดเหมืองเเร่เงิน

คุณ Emilie Beaudon นักวิจัยที่ศึกษาเรื่องนี้ชี้ว่า เนื่องจากแผ่นน้ำแข็งจะละลายต่อไปและฝุ่นผงและสิ่งที่ปะปนอยู่ในแผ่นน้ำแข็งก็จะหลุดออกมาอยู่ในสิ่งแวดล้อม เธอกล่าวว่าทีมนักวิทยาศาสตร์ต้องการศึกษาปริมาณของสิ่งปะปนเหล่านี้และศึกษาว่ามันจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์หรือไม่

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าเริ่มมีปริมาณมลพิษสูงที่สุดและแผ่นน้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็วที่สุดในช่วงคริสต์ศวรรษที่ 20 ภาพถ่ายหลายชุดที่ถ่ายในช่วงระยะเวลา 33 ปีติดต่อกัน แสดงให้เห็นแผ่นน้ำแข็งแผ่นหนึ่งในพื้นที่ละลายไปแล้วครึ่งหนึ่ง

คุณ Roxana Sierra นักวิจัยอีกคนหนึ่งกล่าวว่าแผ่นน้ำเเข็งเขตร้อนเหล่านี้เริ่มละลายมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากระดับอุณหภูมิที่สูงขึ้นและหากอุณหภูมิโลกยังสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้มีปริมาณไอโซโทปเพิ่มสูงขึ้น

บรรดานักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าแผ่นน้ำแข็ง Quelccaya บนเทือกเขาแอนดีสในเปรูเป็นหนึ่งในไม่กี่จุดทั่วโลก ที่นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาผลกระทบจากกิจกรรมมนุษย์ในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมต่อคุณภาพของอากาศ

XS
SM
MD
LG