ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'กล้องถ่ายภาพตรวจจับความร้อน' ช่วยนักอนุรักษ์ศึกษาจำนวนค้างคาวที่ลดลง


please wait

No media source currently available

0:00 0:02:29 0:00

เป็นเวลาร่วม 25 ปีแล้วที่ Simon Holmes ได้ติดตามเฝ้าดูค้างคาวสายพันธุ์ต่างๆ ในอังกฤษ เขากังวลว่าค้างคาวหลายสายพันธุ์ของที่นั้นกำลังค่อยๆ ลดจำนวนลงและหายไปอย่างช้าๆ

Simon Holmes กล่าวว่า ประชากรค้างคาวในอังกฤษลดลงเนื่องจากสาเหตุคุกคามหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียเเหล่งที่อยู่อาศัย วิธีการทำการเกษตรแบบต่างๆ การก่อสร้าง การทุบตึกทิ้ง และการสูญเสียพื้นที่ป่า

เพื่อช่วยในการอนุรักษ์ค้างคาวที่กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์จะต้องรู้เสียก่อนว่ามีจำนวนค้างคาวเหลืออยู่เท่าไหร่ และอาศัยอยู่ที่ไหน

คุณ Holmes นักอนุรักษ์ค้างคาว ใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนที่ตรวจจับความร้อนจากร่างกายของค้างคาว เขามองเห็นค้างคาวหลายตัวทั้งที่บินออกไปจากที่อาศัยแล้ว และกำลังเตรียมตัวออกบิน

ในอดีตนักอนุรักษ์ค้างคาวเคยต้องพึ่งกล้องถ่ายภาพแสงอินฟราเรดในการติดตามดูค้างคาว แต่ในขณะนี้กล้องถ่ายภาพตรวจจับความร้อนช่วยให้นักอนุรักษ์ค้างคาวอย่างคุณ Holmes มองเห็นค้างคาวได้ดีขึ้น ขณะค้างคาวบินเข้าและออกจากที่อาศัยในตอนกลางคืน

กล้องถ่ายภาพตรวจจับความร้อนช่วยให้การประมาณจำนวนของค้างคาวทำได้ด้วยความเเม่นยำมากขึ้น

คุณ Holmes บอกว่ากล้องถ่ายภาพด้วยความร้อนนี้ ตรวจจับความร้อนที่ออกมาจากตัวค้างคาวในขณะที่กล้องเเสงอินฟราเรดทำไม่ได้ เขาบอกว่าในสถานการณ์ที่ค้างคาวไปเกาะอยู่ตามต้นไอวี่หรือในจุดที่กล้องแสงอินฟราเรดตรวจจับค้างคาวไม่ได้ กล้องถ่ายภาพด้วยความร้อนจะสามารถตรวจหาค้างคาวเจอเพราะตรวจจับความร้อนจากตัวค้างคาวได้

ค้างคาวเป็นตัวช่วยวัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศวิทยา ค้างคาวส่วนใหญ่กินแมลงเป็นอาหารจึงช่วยลดปัญหาศัตรูพืชในภาคการเกษตรได้ มีค้างคาวหลายชนิดที่ช่วยผสมเกสรพืช กระจายเมล็ดพืชและมูลค้างคาวยังมีเป็นปุ๋ยธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอีกด้วย

(รายงานโดย Deborah Block / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)

XS
SM
MD
LG