ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์รอลุ้นข้อมูลจากยาน Rosetta ติดตามดาวหางโคจรเฉียดดวงอาทิตย์


Still image from animation of Philae separating from Rosetta and descending to the surface of comet 67P/Churyumov-Gerasimenko, Nov. 2014.
Still image from animation of Philae separating from Rosetta and descending to the surface of comet 67P/Churyumov-Gerasimenko, Nov. 2014.

ในวันพฤหัสบดีนี้ ดาวหาง 67P และยาน Rosetta จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดคือห่างราว 186 ล้านกิโลเมตร

นักวิทยาศาสตร์กำลังรอดูอย่างใจจดใจจ่อว่า ห้องทดลองเคลื่อนที่ซึ่งถูกติดตั้งอยู่บนดาวหาง 67P ที่กำลังโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์เพื่อศึกษาเรื่องการก่อกำเนิดของระบบสุริยจักรวาล จะกลับมาทำงานได้อีกครั้งหรือไม่

เมื่อวันที่ 2 มี.ค 2004 องค์กรอวกาศยุโรปส่งยานอวกาศชื่อ Rosetta ซึ่งมีห้องทดลองเคลื่อนที่เรียกว่า Philae ขึ้นไปในอวกาศ มุ่งหน้าหาดาวหาง 67P โดยใช้เวลาเดินทางกว่า 10 ปีก่อนที่จะไปถึงดาวหางดวงนี้เมื่อเดือน ส.ค 2014

Pits on the surface of Comet 67P/Churyumov Gerasimenko's northern hemisphere are pictured in this August 3, 2014 handout photo obtained by Reuters, July 1, 2015.
Pits on the surface of Comet 67P/Churyumov Gerasimenko's northern hemisphere are pictured in this August 3, 2014 handout photo obtained by Reuters, July 1, 2015.

และเมื่อเดือน พ.ย ปีที่แล้ว Rosetta ส่งห้องทดลองเคลื่อนที่ขึ้นไปบนดาวหางสำเร็จ แต่ปรากฏว่า Philae เกิดปัญหาไม่สามารถชาร์จแบตเตอรี่จากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะกลับมาทำงานอีกครั้งเมื่อเดือน มิ.ย แต่หายไปอีกครั้งหลังวันที่ 9 ก.ค

ในวันพฤหัสบดีนี้ ดาวหาง 67P จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดคือห่างราว 186 ล้านกิโลเมตร ความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้เกิดการระเบิดของแก๊สและฝุนผงบนพื้นผิวดาวหาง ตัวรับสัญญาณของ Philae และ Rosetta สามารถตรวจจับและวิเคราะห์อนุภาคของโมเลกุลบนดาวหาง โดยเฉพาะโมเลกุลที่ซุกซ่อนอยู่ใต้ชั้นน้ำแข็งของดาวหางนั้น

ข้อมูลจากการวิเคราะห์ดังกล่าวคือสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการ แต่ก็อาจต้องรอนานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน กว่าที่ Rosetta จะส่งข้อมูลดังกล่าวกลับลงมาได้

XS
SM
MD
LG