ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์พัฒนา ‘หุ่นยนต์ตัวแม่’ สามารถสร้างและคัดสรรลูกที่เก่งที่สุด


‘หุ่นยนต์ตัวแม่’ สามารถสร้างและคัดสรรลูกๆที่เก่งที่สุด
please wait

No media source currently available

0:00 0:01:57 0:00

‘หุ่นยนต์ตัวแม่’ สามารถสร้างและคัดสรรลูกๆที่เก่งที่สุด

แนวคิดนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากกฏการคัดเลือกโดยธรรมชาติของชาร์ลส ดาร์วิน ที่ว่าสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่รอด

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:56 0:00
Direct link

นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในอังกฤษได้สร้างหุ่นยนต์ตัวแม่ขึ้นมาทำหน้าที่ผลิตหุ่นยนต์ลูกขนาดเล็กแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนและยังสามารถทดสอบประสิทธิภาพของลูกๆได้เอง

คุณ Andre Rosendo หนึ่งในคณะนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในอังกฤษ บอกว่าเมื่อสร้างหุ่นยนต์ลูกขึ้นมาแล้ว หุ่นยนต์ตัวแม่จะคอยเฝ้าดูเพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ว่า หุ่นยนต์ลูกตัวที่สร้างมานั้นสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ เช่นวิ่งได้เร็วแค่ไหน มีประสิทธิภาพดีพร้อมหรือไม่ ก่อนที่จะส่งต่อคุณสมบัติที่ดีกว่าของหุ่นยนต์ตัวลูกที่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย ให้กับหุ่นยนต์รุ่นต่อๆไป

หุ่นยนต์ตัวแม่สร้างหุ่นยนต์ตัวลูกโดยทากาวลงบนแผ่นพลาสติกหลายแผ่นแล้วนำมาต่อติดกันในรูปแบบต่างๆโดยมีมอเตอร์อยู่ด้านใน จากนั้นตรวจสอบว่าเด็กๆของเธอสามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วแค่ไหน มีความผิดปกติหรือไม่ จากนั้นเก็บเอาหุ่นยนต์ลูกที่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วที่สุดเอาไว้ ส่วนตัวที่ทำงานได้ไม่ดีก็ต้องทิ้งไป

กระบวนการทั้งหมดนี้ไม่มีมนุษย์เข้าไปแทรกแซงการทำงาน ยกเว้นแค่การสั่งงานผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อให้หุ่นยนต์ตัวแม่สามารถเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้

คุณ Fumiya Iida ผู้นำคณะนักวิจัยชุดนี้ระบุว่า หุ่นยนต์ตัวแม่หนึ่งตัวสามารถสร้างและตรวจสอบหุ่นยนต์ลูกได้หลายร้อยตัว และหลังจากการทดสอบแบบลองผิดลองถูกตามกฎการคัดเลือกของชาร์ลส ดาร์วิน หลายต่อหลายครั้ง นักวิจัยพบว่าหุ่นยนต์ลูกรุ่นต่อๆมาสามารถวิ่งได้เร็วกว่ารุ่นแรกถึงสองเท่า

นักวิจัยเชื่อว่าหุ่นยนต์ตัวแม่ในลักษณะนี้ สามารถพัฒนาไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆได้ โดยเฉพาะในอุตฯรถยนต์ เพื่อใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพของรถยนต์แต่ละคันในลักษณะของ Quality Control

เรียกได้ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาทำหน้าที่แทนธรรมชาติในการคัดสรรสายพันธุ์ที่ดีที่สุด

(ผู้สื่อข่าว Deborah Block รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG