ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ทีมวิจัย Harvard พบว่าถ้าเด็กโตมาในสภาพที่สะอาดเกินไปจะทำให้เป็นภูมิแพ้ง่าย รวมทั้งเสี่ยงเป็นหืดหอบและโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันอื่นๆ


คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัย Harvard ศึกษาหนูทดลองที่ถูกเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อและพบว่าหนูเหล่านั้นมีแนวโน้มว่าจะเป็นภุมิแพ้ หรืออาการต่างๆที่เป็นผลมาจากระบบภูมิคุมกันที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งโรคหอบหืด ถือเป็นหลักฐานทางชีววิทยา ชิ้นแรกที่บ่งชี้ว่าถ้าเด็กได้สัมผัสเชื้อโรคที่ไม่รุนแรงมากบ้างอาจทำให้มีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าเมื่อพวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่

คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัย Harvard ศึกษาหนูทดลองที่ถูกเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อและพบว่าหนูเหล่านั้นมีแนวโน้มว่าจะเป็นภุมิแพ้ หรืออาการต่างๆที่เป็นผลมาจากระบบภูมิคุมกันที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งโรคหอบหืด ถือเป็นหลักฐานทางชีววิทยา ชิ้นแรกที่บ่งชี้ว่าถ้าเด็กได้สัมผัสเชื้อโรคที่ไม่รุนแรงมากบ้างอาจทำให้มีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าเมื่อพวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่

อาจารย์ Richard Blumberg จาก Harvard Medical School สานต่อการศึกษาเมื่อปี 1989 ซึ่งพยายามอธิบายการบกพร่องของการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ในขณะนั้นเริ่มมีความคิดที่ว่าสภาวะที่สะอาดเกินไปอาจเป็นต้นเหตุของระบบภูมิคุ้มกัน ที่เป็นภัยต่อเซลล์ที่ดีของร่างกาย ในภาวะที่ว่านี้ ภุมิคุ้มกันที่มีเซลล์ต่อสู้เชื้อโรค หรือ T cell จะทำงานผิดปกติโดยที่ไม่เพียงแต่จะเข้าทำลายเชื้อโรคเท่านั้น แต่ยังจะไปฆ่าเนื้อเยื่อที่ดีของร่างกายอีกด้วย อาการเช่นว่านี้เรียกตามภาษาวิทยาศาสตร์ว่า autoimmune condition

ทีมวิจัยของอาจารย์ Blumberg สานต่อความพยายามเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานว่า ถ้าหากคนเราคอยหมั่นฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในสภาพแวดล้อมใกล้ตัว ในที่สุดสภาพแวดล้อมที่ผิดธรรมชาตินี้จะกลับมาส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีอาการผิดปกติในลักษณะแพ้ภูมิตัวเอง หรือ autoimmune disorder

ล่าสุดทีมของอาจารย์ Blumberg ทดสอบภูมิคุ้มกันของหนูสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกเป็นหนูที่ถูกเลี้ยงให้โตมาในสภาพปลอดเชื้อ และอีกกลุ่มหนึ่งถูกเลี้ยงในสภาพปกติที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อแบคทีเรียตามธรรมชาติบ้าง นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่า หนูที่ถูกเลี้ยงในสภาพไร้เชื้อมีอาการ autoimmune disorder คือระบบภูมิคุ้มก้นทำลายเซลล์ที่ดีในร่างกาย ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรค หืดหอบ ปวดข้อ อาการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งโรคเบาหวานในเด็กอีกด้วย

การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นหลักฐานทางชีววิทยา ชิ้นแรกที่บ่งชี้ว่าถ้าเด็กได้สัมผัสเชื้อโรคที่ไม่รุนแรงมากบ้างอาจทำให้มีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าเมื่อพวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่

และที่สำคัญยังพบด้วยว่าเมื่อร่างกายได้เรียนรู้วิธีการต่อสู้กับเชื้อโรคตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ระบบภูมิคุ้มกันสามารถจดจำวิธีการเอาชนะเชื้อโรคได้ และนำวิธีการต่อสู้เชื้อโรคแบบเดียวกันกลับมาใช้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างมีประสิทธิภาพตลอดอายุขัยอีกด้วย

โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ

XS
SM
MD
LG