ลิ้งค์เชื่อมต่อ

WHO ชี้ว่าฮอร์โมนอ็อกซี่โทซินมีประสิทธิภาพในการขับรกหลังคลอดบุตรและลดการตกเลือด


ผลการวิจัยชิ้นใหม่พบว่าวิธีการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อว่าจะช่วยลดการเสียชีวิตของมารดาหลังคลอดบุตรในทวีปเอเชียและทวีปอาฟริกา

ภาวะการตกเลือดหลังคลอดบุตรเป็นหนึ่งในสามสาเหตุของการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรในหญิงชาวเอเชียและชาวอาฟริกา


เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะตกเลือด องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้แนะนำวิธีหลายอย่างในการป้องกัน รวมทั้งการให้ฉีดยาฮอร์โมนที่เรียกว่า อ็อกซี่ี่โทซินแก่มารดาเพื่อช่วยให้มดลูกบีบตัวและขับสายรกออกมาหลังคลอดบุตร ตลอดจนใช้เทคนิคที่เรียกว่า การดึงสายรกอย่างมีการควบคุม

นายแพทย์เมททิน กัลเมซูโล่ แห่งองค์การอนามัยโลก หัวหน้าทีมศึกษาเรื่องประสิทธิภาพของการดึงรกอย่างมีการควบคุม กล่าวว่า หากเริ่มดึงสายรก ตัวมดลูกจะถูกดึงจากช่องท้อง

ขึ้นไปอยู่ในระดับสูงขึ้น ขั้นตอนการดึงรกเป็นวิธีที่ทำยาก

นายแพทย์กัลเมซูโล่ บอกว่าหากไม่มีความเชี่ยวชาญในการดึงสายรก อาจจะเกิดปัญหาตามมาอีกหลายอย่าง

การศึกษาของนายแพทย์กัลเมซูโล่ เป็นการศึกษากลุ่มหญิงมีครรภ์สองหมื่นสามพันคนในแปดประเทศ ครึ่งหนึ่งของหญิงมีครรภ์เหล่านี้เข้ารับการคลอดด้วยวิธีที่ใช้วิธีการดึงรก อีกครึ่งหนึ่งคลอดตามปกติที่ให้ตัวมารดาเบ่งรกออกมาเองหลังคลอดลูก แต่หญิงทั้งสองกลุ่มได้รับการฉีดยาฮอร์โมน oxytocin เพื่อช่วยมดลูกบีบตัวให้ขับรกออกมาได้ง่ายขึ้น

การศึกษาพบว่า หญิงทั้งสองกลุ่มสูญเสียเลือดในการคลอดบุตรในปริมาณเท่าๆกัน และ แทบไม่เกิดการตกเลือดที่มากกว่าหนึ่งลิตรในกลุ่มหญิงที่ได้รับการดึงรกอย่างมีการควบคุมประกอบด้วย

นายแพทย์เมททิน กัลเมซูโล่ หัวหน้าทีมวิจัยแห่งองค์การอนามันโลก กล่าวว่า องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยในการลดการสูญเสียเลือดในการคลอดบุตรคือฮอร์โมนอ็อกซี่โทซิน ซึ่งเป็นยาที่ช่วยให้มดลูกบีบตัวและขับรกออกมาจากมดลูก

ฮอร์โมนอ็อกซี่โทซิน เป็นยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จึงไม่มีผลกระทบใดๆและยังเหมาะกับเจ้าหน้าที่ทำคลอดที่ได้รับการฝึกอบรมน้อย แต่ปัญหาคือมีราคาสูงมาก และประสิทธิภาพของฮอร์โมนจะลดลงหากสัมผัสกับความร้อนสูงๆ

ทางองค์การอนามัยโลกจึงได้ออกแนวทางการใช้ฮอร์โมนอ็อกซี่โทซินแนวทางใหม่ โดยให้ผลิตออกมาในรูปแบบของเข็มฉีดยาใช้แล้วทิ้ง มีตัวเซ็นเซ่อร์อยู่ภายในเข็มเพื่อเตือนให้เจ้าหน้าที่รู้ หากตัวยาถูกกับความร้อนสูงจนขาดประสิทธิภาพ

ผลการศึกษาเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ทาง The Lancet ออนไลน์เมื่อเร็วๆนี้

XS
SM
MD
LG