ลิ้งค์เชื่อมต่อ

“Germanwings Effect”! ผู้เชี่ยวชาญชี้อาชีพนักบินมีความเครียดสูงเพราะต้องแบกรับความกดดันมากมาย


Andreas Lubitz Facebook photo
Andreas Lubitz Facebook photo

สำนักงานความปลอดภัยด้านการบินของยุโรปและสหรัฐฯ มิได้กำหนดให้นักบินต้องผ่านการทดสอบด้านสุขภาพจิตเป็นประจำ

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:09 0:00
Direct link

Priests celebrate a religious ceremony for victims of a Germanwings flight that crashed in the French Alps, killing all 150 aboard, on March 28, 2015 at Notre-Dame-du-bourg cathedral in Digne-les-Bains, near the site of the crash.
Priests celebrate a religious ceremony for victims of a Germanwings flight that crashed in the French Alps, killing all 150 aboard, on March 28, 2015 at Notre-Dame-du-bourg cathedral in Digne-les-Bains, near the site of the crash.

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่ผู้ช่วยนักบิน Andreas Lubitz จงใจขับเครื่องบินแอร์บัส A320 ของสายการบิน Germanwings ชนเทือกเขาแอลป์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้มีผู้เสียชีวิต 150 คน ผู้เชี่ยวชาญการบินส่วนใหญ่ต่างเห็นตรงกันว่า อาชีพนักบินเป็นอาชีพที่ต้องแบกรับแรงกดดันมหาศาล ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของนักบินได้

ดร.Andre Droog คือจิตแพทย์ที่ทำงานกับโรงเรียนฝึกนักบินของสายการบิน KLM Royal Dutch Airlines มา 22 ปี และปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสมาคมจิตวิทยาการบินของยุโรปหรือ EAAP ดร.Droog กล่าวว่าปกติแล้วคนที่จะเป็นนักบินได้นั้น ต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกที่ยากลำบาก ต้องผ่านการทดสอบหลายขั้นตอน ต้องเป็นคนที่มีความกระตือรือร้น มีสภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแกร่ง ดังนั้นเราจึงไม่ค่อยเห็นนักบินที่มีปัญหาสุขภาพจิตหรือเป็นโรคซึมเศร้า

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาชีพนักบินเป็นอาชีพที่ต้องแบกรับความเครียดมากมาย นอกจากความรับผิดชอบในหน้าที่แล้ว ยังมีตารางเวลาที่ไม่ตายตัวต่างจากคนทั่วไป ต้องทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมงหากเป็นเที่ยวบินข้ามทวีป ซึ่งอาจหมายถึงอาการ jet lag หรืออ่อนเพลียตามมา

ในหนังสือ “Anxiety at 35,000 feet: An introduction to Clinical Aerospace Psychology” ผู้เขียนคือคุณ Robert Bor ชี้ถึงความเครียดของนักบินเอาไว้ว่า เกิดจากการที่ต้องนั่งอยู่หน้าอุปกรณ์ควบคุมเครื่องบินที่สลับซับซ้อน ในห้องทำงานแคบๆ ที่สูงกว่าพื้นดินถึง 35,000 ฟุตเป็นเวลาหลายชั่วโมง รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของความเครียดของนักบิน เช่นการทดสอบต่างๆ ที่ต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอ และการที่ต้องติดตามตรวจสอบลูกเรือคนอื่นอย่างใกล้ชิด

Police officers walk next to the apartment believed to belong to Germanwings co-pilot Andreas Lubitz in Duesseldorf March 27, 2015. The German pilot believed to have deliberately crashed a plane in the French Alps killing 150 people broke off his training
Police officers walk next to the apartment believed to belong to Germanwings co-pilot Andreas Lubitz in Duesseldorf March 27, 2015. The German pilot believed to have deliberately crashed a plane in the French Alps killing 150 people broke off his training

ก่อนเหตุการณ์เครื่องบินแอร์บัส A320 ของ Germanwings ชนเทือกเขาแอลป์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้มีผู้เสียชีวิต 150 คน ทางเครือข่ายความปลอดภัยด้านการบินหรือ AviationSafetyNetwork รายงานว่า เคยมีเหตุการณ์เครื่องบินตกที่เกิดจากความตั้งใจของนักบินทั้งหมด 5 ครั้งตั้งแต่ ปี ค.ศ 1982 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 422 คน ในจำนวนนี้เป็นเครื่องบินจากเอเชีย 2 ลำ คือของสายการบิน Japan Airlines และ Singapore Pte. ซึ่งส่งผลให้ปัจจุบัน สายการบินต่างๆ ในเอเชียจะมีการทดสอบสุขภาพจิตของนักบินอยู่เป็นประจำ

ขณะที่สำนักงานความปลอดภัยด้านการบินของสหรัฐฯ กำหนดไว้ว่านักบินที่เป็นกัปตันต้องต่อใบรับรองทางการแพทย์ที่ระบุว่าไม่มีข้อบกพร่องทางร่างกายและจิตใจ เป็นประจำทุก 6 เดือน ส่วนผู้ช่วยนักบินต้องต่อใบรับรองทุก 1 ปี

ถึงกระนั้นสำนักงานความปลอดภัยด้านการบินของยุโรปและสหรัฐฯ มิได้กำหนดให้นักบินต้องผ่านการทดสอบด้านสุขภาพจิตเป็นประจำ แต่จะมีขึ้นก็ต่อเมื่อพบสิ่งผิดปกติระหว่างการตรวจร่างกายประจำปีเท่านั้น ซึ่งในการตรวจร่างกายนี้จะรวมถึงการพูดคุยเกี่ยวกับสภาพจิตใจของนักบินแต่ละคนด้วย

ในคู่มือขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ระบุไว้ว่าการทดสอบบุคลิกภาพของนักบินแต่เพียงอย่างเดียว ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นวิธีที่เชื่อถือได้ในการประเมินสุขภาพจิตของนักบินคนใดคนหนึ่ง ซึ่ง ดร. Andre Droog เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และเสริมว่า การทดสอบสุขภาพจิตนั้นได้ผลดีอย่างยิ่งในช่วงของการคัดเลือกคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นนักบิน แต่จะไม่มีประสิทธิผลมากนัก เมื่อนำมาใช้ทำนายว่านักบินผู้นั้นจะรับมือกับเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้ดีแค่ไหน

อย่างไรก็ตามสมาคมจิตแพย์ the Royal College of Psychiatrists ในกรุงลอนดอนชี้ว่า ควรมีความระมัดระวังในการตัดสินผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เพราะที่ผ่านมามีนักบินที่เป็นโรคซึมเศร้าหลายคนที่ทำหน้าที่โดยไม่บกพร่อง จึงยังไม่ควรเหมารวมว่าผู้ที่มีอาการซึมเศร้าทุกคนเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยง โดยสมาคมนี้แนะนำให้มีการพิจารณาหรือประเมินเป็นกรณีไป

รายงานจากผู้สื่อข่าว Mary Motta / เรียบเรียงโดยทรงพจน์ สุภาผล

XS
SM
MD
LG