ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์พบว่าระดับกัมมันตรังสีในมหาสมุทรแปซิฟิค นอกฝั่งเกาะญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นหลังอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิม่า


นักวิทยาศาสตร์ที่ติดตามดูผลกระทบจากวิกฤติการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่าในญี่ปุ่น เผยแพร่รายงานที่ระบุว่า ระดับกัมมันตรังสีในมหาสมุทรแปซิฟิค นอกฝั่งเกาะญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นในบริเวณกว้างหนึ่งแสนห้าหมื่นตารางกิโลเมตร และว่าระดับกัมมันตรังสีของธาตุซีเซี่ยมในบางจุดที่อยู่ไกลออกไป สูงยิ่งกว่าในบริเวณที่ใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้

นักวิทยาศาสตร์ที่ติดตามดูผลกระทบจากวิกฤติการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่าในญี่ปุ่น เผยแพร่รายงานที่ระบุว่า ระดับกัมมันตรังสีในมหาสมุทรแปซิฟิคนอกฝั่งญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นในบริเวณกว้างหนึ่งแสนห้าหมื่นตารางกิโลเมตร และว่าระดับกัมมันตรังสีของธาตุซีเซี่ยมในบางจุดที่อยู่ไกลออกไป สูงยิ่งกว่าในบริเวณที่ใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้


คำถามก็คือ จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์มากน้อยแค่ไหน

นักเคมีสมุทรศาสตร์ Ken Buesseler แห่งสถาบันสมุทรศาสตร์ Woods Hole ในรัฐแมสสาชูเสทส เป็นหนึ่งในคณะนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานวิจัยน้ำในมหาสมุทร์แปซิฟิค ในเดือนมิถุนายน ศกก่อน

เขากล่าวว่า ความเข้มข้นของกัมมันตรังสีซีเซี่ยมในบางส่วนสูงกว่าที่เคยมีก่อนอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น ระหว่าง 100 – 1,000 เท่าตัว แต่ยังนับว่าต่ำ ถ้ามองจากแง่ของผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในทะเล และวิธีเดียวที่มนุษย์จะถูกต้องกับกัมมันตรังสีนี้ คือการรับประทานอาหารทะเลจากบริเวณชายฝั่งที่ว่านี้

นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้กล่าวต่อไปว่า ระดับกัมมันตรังสีที่พบเปรียบเทียบได้กับที่เคยเห็นหลังอุบัติเหตุนิวเคลียร์อื่นๆ รวมทั้งที่เชอร์โนเบิล และว่าผู้คนในบริเวณทะเลดำและทะเลบัลติคก็ยังรับประทานปลาจากทะเลเหล่านั้นอยู่ต่อไป เพราะฉะนั้นจึงไม่วิตกเกี่ยวกับปลานอกฝั่งเกาะญี่ปุ่น แต่ที่เป็นห่วงคือหอย ปู ปลาที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง หรือที่อยู่ใต้ท้องทะเล เพราะกัมมันตรังสีสะสมอยู่ในตะกอนที่พื้นทะเล

ที่นักชีววิทยาทางทะเลวิตกกังวลกันมากกว่า คือ การที่น้ำปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิม่ายังคงไหลลงทะเลอยู่ต่อไป รวมทั้งกัมมันตรังสีจากเตาปฏิกรณ์ปรมาณู 3 ตัวที่หลอมละลายของโรงงาน ซึ่งล่องลอยอยู่เหนือน้ำและอยู่ในน้ำทะเลแปซิฟิคตอนเหนือในขณะนี้

นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Woods Hole มหาวิทยาลัย Stony Brook ในรัฐนิวยอร์ค และมหาวิทยาลัยโตเกียว วัดไอโซโถปต่างๆทั้งที่พื้นผิวน้ำและใต้น้ำ รวมทั้งเก็บ plankton ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในน้ำ และปลา มาวิเคราะห์

Ken Buesseler แห่งสถาบัน Woods Hole กล่าวว่า nuclide กัมมันตรังสี ที่น่าเป็นห่วงคือ Strontium-90 ซึ่งมีระยะเวลาที่อะตอมครึ่งหนึ่งของปริมาณสารกัมมันตรังสีที่กำหนดให้ที่จะสลายตัว หรือค่ากึ่งชีวิต นานเกือบสามสิบปี

เขาอธิบายว่า Strontium-90 เข้าไปสะสมแทนที่แคลเซี่ยมในกระดูกคนและปลา โดยเฉพาะในปลาเล็ก ซึ่งเป็นปลาที่คนญี่ปุ่นนิยมรับประทาน

รายงานนี้ตีพิมพ์ไว้แล้วใน Proceedings of the National Academy of Sciences ฉบับสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนรายงานเรื่อง Strontium-90 ต้องอดใจรอกันอีกสองสามเดือน

XS
SM
MD
LG