ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผลศึกษาแนะนำใช้ยาบำบัดวัณโรคร่วมกัน 6 ชนิดเพื่อช่วยป้องกันวัณโรคดื้อยาหลายขนาน


FILE - A physician examines an X-ray picture of a tuberculosis patient.
FILE - A physician examines an X-ray picture of a tuberculosis patient.

การใช้ยาหลายตัวร่วมกันในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคแบบเรื้อรังช่วยลดโอกาสเกิดเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนานได้

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:28 0:00
Direct link

สำนักงานเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ หรือ CDC (U.S. Centers for Disease Control and Prevention) ประมาณว่า มีคนป่วยด้วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน 10 ล้านคนเมื่ิอปี พ.ศ. 2557 และราว 1 ล้าน 5 แสนคนเสียชีวิต

หากยังไม่มียุทธวิธีบำบัดแบบมีประสิทธิภาพ ทาง CDC คาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนานเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมเป็น 75 ล้านคนทั่วโลกภายในอีก 35 ปีข้างหน้า

คุณ Peter Cegielski หัวหน้าทีมงานด้านวัณโรคดื้อยาและการควบคุมการติดเชื้อแห่งสำนักงานซีดีซีกล่าวว่า หากไม่เริ่มแก้ปัญหาตั้งเเต่ตอนนี้ ปัญหาการติดเชื้อวัณโรคดื้อยาจะมีแต่รุนแรงมากขึ้น

เขาอธิบายว่าหากมีคนติดเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนานหรือ MDR-TB เชื้อเเบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคจะไม่ตอบสนองต่อยาที่ใช้รักษาสองชนิดคือ ยา isoniazid กับยา rifampicin ทำให้แพทย์หันไปใช้ยารักษาวัณโรคชนิดที่ได้ผลน้อยกว่าและราคาเเพงกว่า แต่ใช้รวมกันหลายชนิดในรูปของยาคอคเทล

ทีมงานของคุณ Peter Cegielski ทำการศึกษาว่าจะต้องใช้ยากี่ชนิดร่วมกัน ยาคอคเทลจึงจะได้ผลในการลดโอกาสการเกิดโรคดื้อยาหลายขนาน

ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ผู้ป่วยกินยารักษาวัณโรค 5 ชนิดร่วมกัน แต่การศึกษาที่จัดทำใน 26 จุด ใน 9 ประเทศ พบว่าการใช้ยาบำบัดวัณโรคร่วมกัน 6 ชนิดได้ผลในการป้องกันการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานดีกว่า

ประเทศที่เข้าร่วมการศึกษานี้ รวมทั้ง รัสเซีย แอฟริกาใต้ ไต้หวันและเอสโทเนีย ในบรรดาผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ในการศึกษา 1,100 คน ที่ติดเชื้อวัณโรคชนิดดื้อยาหลายขนาน คนที่ได้รับยาบำบัดร่วมกัน 6 ชนิดตอบสนองต่อตัวยารักษาสูงขึ้น 36 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับยา 5 ชนิดหรือน้อยกว่านั้น

คุณ Cegielski กล่าวว่าการทดสอบก่อนการทดลองรักษา จะช่วยยืนยันได้ว่ายาตัวใดมีโอกาสสูงที่สุดในการต่อต้านเชื้อวัณโรคดื้อยา

ขณะนี้องค์การอนามัยโลกได้เร่งเร้าให้แพทย์ทั่วโลกทำการตรวจผู้ติดเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน เพื่อดูว่าตอบสนองต่อยาบำบัดตัวใดมากที่สุดก่อนที่จะเริ่มการบำบัดวัณโรคดื้อยา

(เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG