ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เสียงสะท้อนของ 'ชุมชนพม่าในอเมริกา' กับการตัดสินใจเลือกประธานาธิบดีสหรัฐฯ


 U.S. Secretary of State Hillary Clinton (L) and Myanmar's pro-democracy leader Aung San Suu Kyi tour the grounds after their meeting at Suu Kyi's house in Yangon December 2, 2011.
U.S. Secretary of State Hillary Clinton (L) and Myanmar's pro-democracy leader Aung San Suu Kyi tour the grounds after their meeting at Suu Kyi's house in Yangon December 2, 2011.

ชาวพม่าที่กลายเป็นพลเมืองอเมริกัน เชื่อว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งนี้จะมีผลกระทบต่อสถานการณ์ในเมียนม่าร์ด้วย

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:01 0:00

ชาวพม่าหลายคนที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในสหรัฐฯ กล่าวว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรครีพับลิกัน กำลังทำให้พวกตนนึกถึงความทรงจำที่เจ็บปวดภายใต้การปกครองของระบอบเผด็จการทหารพม่า

คุณ Phyu Hlaing ชาวพม่าที่อพยพมาอาศัยอยู่ในอเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1983 กล่าวว่าเมื่อตนเห็นนายโดนัลด์ ทรัมป์ ตนนึกถึงผู้นำเผด็จการทหารของเมียนม่าร์ และยิ่งใกล้วันเลือกตั้งตนก็ยิ่งกังวลว่า หากผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันผู้นี้จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจทำให้ตนต้องย้ายกลับเมียนม่าร์ก็เป็นได้

คำพูดของชาวพม่าที่กลายมาเป็นพลเมืองอเมริกันผู้นี้แม้จะฟังดูเหมือนพูดเล่น แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติของคนพม่าจำนวนมากในอเมริกาที่มีต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปีนี้

ข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่ามีผู้ลี้ภัยชาวพม่าอพยพอาศัยอยู่ในสหรัฐฯ เกือบ 160,000 คน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นจำนวนที่เกินครึ่งหนึ่งของประชากรเชื้อสายพม่าทั้งหมดในอเมริกา ที่คาดว่ามีอยู่ราว 300,000 คน

หลายคนที่กลายเป็นพลเมืองอเมริกัน เชื่อว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งนี้จะมีผลกระทบต่อสถานการณ์ในเมียนม่าร์ด้วย

คุณ Htet Wint นักศึกษาชาวพม่าที่รัฐแคลิฟอร์เนีย เชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่ดีต่อประเทศเมียนม่าร์ หากประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีความรู้เรื่องเมียนม่าร์อย่างแท้จริง

คุณ Wint และชาวอเมริกันเชื้อสายพม่าหลายคน ประกาศตัวสนับสนุนนางฮิลลารี คลินตั้น ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต เพราะเชื่อว่าหากเธอได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประสบการณ์ของเธอในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศผู้เคยเดินทางเยือนเมียนม่าร์ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้

อดีต รมต. คลินตั้น เดินทางเยือนเมียนม่าร์เมื่อ 5 ปีก่อน และได้พบปะนางอองซานซูจี รวมทั้งยังมีส่วนร่วมในการช่วยผลักดันให้รัฐบาลสหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อเมียนม่าร์ และช่วยให้เกิดการปฏิรูปประชาธิปไตยในเมียนม่าร์

ตัวนางคลินตั้นเองมักจะบอกอยู่เสมอว่า ความก้าวหน้าในเมียนม่าร์คือหนึ่งในความสำเร็จสูงสุดของเธอในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ โดยในหนังสือบันทึกความทรงจำที่เธอเขียนไว้เมื่อปี ค.ศ. 2014 คลินตั้นได้ระบุถึงการทำงานในฐานะนักการทูตที่เมียนม่าร์ไว้หนึ่งบทเต็มๆ

อย่างไรก็ตาม คุณ Lex Rieffel ผู้เชี่ยวชาญด้านเมียนม่าร์แห่งสถาบัน Brookings กล่าวว่าสถานการณ์ในเมียนม่าร์นั้นค่อนข้างซับซ้อนและละเอียดอ่อน และตนเชื่อว่าใครคนใดคนหนึ่งหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ควรได้รับเครดิตสำหรับความก้าวหน้าทางประชาธิปไตยของเมียนม่าร์ แต่เครดิตนั้นควรเป็นของประชาชนเมียนม่าร์ รวมทั้งคณะทหารที่ยินยอมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมือง

คุณ Lex Rieffel ยังบอกด้วยว่าความสำเร็จทางการทูตในเมียนม่าร์ ของอดีต รมต. คลินตั้น คงไม่อยู่ในการจดจำของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เท่าใดนัก

ผลการสำรวจที่จัดทำโดยสถาบันเพื่อชุมชนชาวอเมริกันเชื้อสายพม่า ในเมือง Indianapolis รัฐ Indiana เมื่อเร็วๆนี้ ชี้ว่าชาวพม่าที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่มีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม โดยเฉพาะด้านสังคมและศาสนา ซึ่งสืบทอดมาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของพม่า

ถือเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างสอดคล้องกับอุดมคติของพรรครีพับลิกัน แต่ดูเหมือนเมื่อมาถึงประเด็นที่เกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกนายโดนัลด์ ทรัมป์ ความคิดของชาวพม่าในอเมริกาเหล่านั้น กลับแตกต่างออกไป

(ผู้สื่อข่าว William Gallo รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG