ลิ้งค์เชื่อมต่อ

กระแสข่าวลือสะพัดในพม่า... 'นางออง ซาน ซูจี อาจเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป'


Myanmar's National League for Democracy leader Aung San Suu Kyi arrives to the opening of the new parliament in Naypyitaw February 1, 2016. After decades of struggle, hundreds of lawmakers from Aung San Suu Kyi's camp will form Myanmar's ruling party on M
Myanmar's National League for Democracy leader Aung San Suu Kyi arrives to the opening of the new parliament in Naypyitaw February 1, 2016. After decades of struggle, hundreds of lawmakers from Aung San Suu Kyi's camp will form Myanmar's ruling party on M

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยจะเปิดเผยชื่อผู้ที่ได้รับเสนอให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีพม่าในช่วงกลางเดือนหน้า

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:15 0:00
Direct link

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือ NLD ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเมื่อปีที่แล้ว ทำให้มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล แต่ตัวหัวหน้าพรรคคือนางออง ซาน ซูจี นั้น ไม่สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นโดยคณะทหารพม่า กำหนดไว้ว่าผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นประธานาธิบดีพม่า ต้องไม่มีคู่ครองหรือบุตรเป็นชาวต่างชาติ

รัฐสภาพม่าจะลงมติเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ และ รอง ปธน. อีกสองคน ก่อนที่รัฐบาลชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่ในวันที่ 1 เม.ย โดยทั้งสภาสูง สภาล่าง และกองทัพพม่า จะเลือกผู้ที่มีโอกาสดำรงตำแหน่งดังกล่าวขึ้นมาอย่างละ 1 คน จากนั้นผู้ที่ได้รับเสนอชื่อจากทั้งสามฝ่าย จะต้องแข่งขันกันเพื่อชิงตำแหน่งผู้นำทั้งสามตำแหน่งนั้น

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยจะเปิดเผยชื่อผู้ที่ได้รับเสนอให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีพม่าในช่วงกลางเดือนหน้า ซึ่งนักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุที่การประกาศเป็นไปอย่างล่าช้าอาจเป็นเพราะความพยายามยืดเวลาการเจรจาต่อรองระหว่างนางซูจีกับคณะทหารพท่าออกไป

ที่ผ่านมานางซูจีได้หารือกับผู้บัญชาการทหารบกของพท่า พลเอกมิน อ่อง ฮเลียง หลายครั้ง เกี่ยวกับโครงสร้างรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งนักวิเคราะห์เชื่อว่าอาจรวมถึงการยินยอมให้นางซูจีสามารถนั่งในตำแหน่ง ปธน. ได้ด้วย

Myanmar Min Aung Hlaing and Aung San Suu Kyi
Myanmar Min Aung Hlaing and Aung San Suu Kyi

เมื่อวานนี้ มีรายงานข่าวหลายชิ้นจากสื่อที่สนับสนุนรัฐบาลพม่า ระบุว่าอาจมีข่าวดีเกี่ยวกับการเจรจาเรื่องการยกเว้นมาตรา 59 ชั่วคราว ซึ่งยิ่งทำให้ข่าวลือว่านางซูจีจะได้เป็น ปธน. นั้น แพร่กระจายไปมากยิ่งขึ้น แต่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐบาลหรือทหารที่ยืนยันหรือปฏิเสธเรื่องนี้

ด้านคุณคิน ซอว์ วิน แห่งสถาบัน Tampadipa กล่าวหาว่าพรรค NLD เป็นผู้ปล่อยข่าวลือนี้เอง และยังพยายามปกปิดความลับทุกอย่างเกี่ยวกับรัฐสภาชุดใหม่ของพม่า

ขณะที่หนึ่งในสมาชิกอาวุโสของพรรค NLD ที่ไม่เปิดเผยชื่อ กล่าวกับวีโอเอว่าอย่าเพิ่งคาดหวังว่าจะมีชื่อนางซูจี อยู่ในรายชื่อผู้มีสิทธิ์เป็น ปธน. ในการประกาศเดือนหน้า

และคุณ Tpm Lambert แห่งสถาบัน Andaman Research and Advisory เห็นด้วยว่าข่าวลือที่สะพัดอยู่ในพม่าขณะนี้ควรรับฟังกันอย่างระมัดระวัง เพราะอย่างน้อยทางทหารเองยังไม่เคยมีทีท่าว่าจะยินยอมให้นางซูจีขึ้นเป็น ปธน.

การปรับแก้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของพม่าอย่างถาวร ต้องได้รับการสนับสนุนอย่างน้อย 75% จากทั้งสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภาพม่า ก่อนที่ขะเข้าสู่ขั้นตอนการลงประชามติ แต่ในขณะที่กองทัพพม่าครองที่นั่งอยู่ 25% ในรัฐสภา จึงหมายความว่าพรรค NLD จะไม่สามารถผลักดันเรื่องนี้ได้ หากกองทัพไม่ยินยอม

Myanmar Parliament
Myanmar Parliament

อย่างไรก็ตาม รายงานใน นสพ.ท้องถิ่นฉบับหนึ่งกล่าวอ้างว่า นางซูจีได้ต่อรองเพื่อมอบตำแหน่งระดับสูงในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ให้กับทางกองทัพ เพิ่มเติมจากตำแหน่ง รมต. 3 ตำแหน่งที่ถูกกันไว้ให้คณะทหารพม่าตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว

นักวิเคราะห์เชื่อว่าเป็นข้อเสนอที่คณะทหารพม่าไม่อยากปฏิเสธ เมื่อพิจารณาจากความพ่ายแพ้ถล่มทลายในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ซึ่งกองทัพพม่าเองก็ต้องการรักษาฐานที่มั่นทางการเมืองของตนเองไว้ให้มั่นคงที่สุดเช่นกัน

แต่กว่าจะถึงตอนนั้น ผู้ติดตามการเมืองพม่าก็คงต้องอดใจรอดูว่า ข่าวลือที่แพร่สะพัดไปทั่วพม่าขณะนี้จะกลายเป็นความจริงหรือไม่!

(ผู้สื่อข่าว Katie Arnold รายงานจากนครย่างกุ้ง / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG