ลิ้งค์เชื่อมต่อ

"เห็ดเมา" อาจช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพจิตผู้ป่วยเป็นมะเร็งได้


A hullucenogenic substance found in certain mushrooms appears to help with depression and anxiety among cancer patients.
A hullucenogenic substance found in certain mushrooms appears to help with depression and anxiety among cancer patients.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:30 0:00

ผลการศึกษาวิจัยระบุว่าเห็ดเมาดูจะมีคุณสมบัติช่วยผ่อนคลายความกระวนกระวายใจและความเศร้าซึมของผู้ป่วยเป็นมะเร็ง

ผลสรุปที่ว่านี้มาจากการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins และมหาวิทยาลัย New York

นักวิจัยพบว่าการให้สาร psilocybin ซึ่งเป็นสารประกอบในเห็ดเมาที่ทำให้ประสาทหลอน สามารถผ่อนคลายอาการทางจิตของผู้เป็นโรคมะเร็งได้นานถึง 6 เดือน

ศาสตราจารย์ Roland Griffiths ซึ่งสอนวิชา Behavioral Biology ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Johns Hopkins บอกว่า แม้จะให้ psilocybin เพียงขนานเดียว ก็ช่วยลดความเศร้าซึมและความกระวนกระวายได้นานระหว่าง 4-6 ชั่วโมง และเห็นว่าอาจเป็นวิธีใหม่สำหรับบำบัดอาการโรคจิตได้

แต่นักวิจัยเตือนว่า การศึกษาวิจัยนี้ทำในสภาพที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด และมีการติดตามดูตลอดเวลาโดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมทางการแพทย์ นอกจากนี้ กลุ่มผู้ร่วมงานวิจัยก็เล็กมาก โดยมีผู้เข้าร่วม 51 คนที่ Johns Hopkins และเพียง 29 คนที่ New York

สำหรับผลในเชิงบวกนั้น นอกจากจะช่วยลดความรู้สึกเศร้าซึมและความวิตกกระวนกระวาย โดยเฉพาะในเรื่องความตายแล้ว นักวิจัยรายงานว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งบอกว่า คุณภาพชีวิตของตนดีขึ้น มีความหมายในชีวิตและมองโลกในทางดีขึ้นด้วย

และดูเหมือนว่าประโยชน์ที่ว่านี้มีอยู่ได้นานอย่างน้อย 6 เดือน โดย 80% ของผู้ร่วมงานวิจัยบอกว่า มีความรู้สึกเศร้าซึมน้อยลง ในขณะที่ความวิตกกระวนกระวายลดลง 60%

และ 83% รายงานว่า มีความรู้สึกสบายหรือมีความพอใจกับชีวิตของตนมากขึ้น ในขณะที่ สองในสามของบอกว่า ทำให้ประสบการณ์ในชีวิตของตนมีความหมาย รวมทั้งทางจิตใจด้วย

แต่เมื่อมีผลเชิงบวกก็ต้องระมัดระวังเชิงลบด้วย โดยราวๆ 15% ของผู้ร่วมการวิจัยบอกว่า มีอาการคลื่นเหียนหรืออาเจียนออกมา ในขณะที่ 30% มีความรู้สึกไม่สบายใจหลังการรับสารประกอบ psilocybin และในอัตราเดียวกัน มีความดันโลหิตสูงขึ้น โดยมีบ้างที่บอกว่าปวดศีรษะ

ติดตามอ่านรายงานการวิจัยทั้งสองชิ้นนี้ได้ที่ Journal of Psychopharmacology

XS
SM
MD
LG