ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผลการทดลองชี้ยาคุมกำเนิดชายแบบฉีดได้ผลในการป้องกันการตั้งครรภ์... แต่มีผลข้างเคียงหลายอย่าง


FILE - Injection materials are pictured.
FILE - Injection materials are pictured.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:16 0:00

สถาบัน Guttmacher ชี้ว่า ราว 40 เปอร์เซ็นต์ของการตั้งครรภ์ทั่วโลกในปีค.ศ. 2012 เป็นการตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผน

ขณะนี้ทีมนักวิจัยชี้ว่า ยาคุมกำเนิดชายเเบบฉีดที่กำลังพัฒนาและทดสอบอยู่ มีประสิทธิผลในการป้องกันการตั้งครรภ์ถึง 96 เปอร์เซ็นต์ ยาคุมกำเนิดชายนี้มีฤทธิ์ควบคุมการผลิตเชื้ออสุจิให้ลดจำนวนลง จนไม่สามารถก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ได้

แต่ยาคุมกำเนิดชายแบบฉีดนี้ต้องฉีดทุกสองเดือนเพื่อคงประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด และยังมีผลข้างเคียงหลายอย่างอีกด้วย

ฝ่ายการวิจัยขององค์การอนามัยโลกและวิทยาลัยการแพทย์ East Virginia ในสหรัฐฯ เป็นผู้พัฒนาและทดสอบยาคุมกำเนิดชายแบบฉีดนี้มานานหนึ่งปีแล้ว ผลการทดสอบประสิทธิภาพยาคุมกำเนิดชายนี้มีขึ้นในศูนย์วิจัย 10 เเห่งใน 7 ประเทศ รวมทั้ง สหรัฐฯ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ชิลี เยอรมนี อังกฤษและอินเดีย

Mario Festin เจ้าหน้าที่การแพทย์ประจำฝ่ายการวิจัยด้านสุขภาพการเจริญพันธุ์แห่งองค์การอนามัยโลกในนครเจนีวา กล่าวว่าการทดลองยาคุมกำเนิดชายนี้เป็นการป้องกันการปฏิสนธิ

ผู้เชี่ยวชาญจาก WHO กล่าวว่ายาคุมกำเนิดชายนี้มีส่วนผสมของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) และฮอร์โมนโปรเจสตาเจน (Progestagen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนทั้งสองเพศสำหรับในผู้ชาย เมื่อรวมกันแล้วฮอร์โมนสองชนิดนี้จะไปควบคุมการผลิตเชื้ออสุจิให้ต่ำลง และคงรักษาให้ปริมาณตัวอสุจิต่ำอย่างต่อเนื่องจนไม่ทำให้ตั้งครรภ์ได้

อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการฉีดยาคุมกำเนิดชายหลายครั้งในช่วงหลายเดือน ก่อนที่ปริมาณตัวอสุจิจะลดลงจนไม่ทำให้ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์

ในการทดสอบ มีอาสาสมัครชายที่สุขภาพเเข็งเเรงดี อายุระหว่าง 18-45 ปี จำนวน 320 คนเข้าร่วม ยาคุมกำเนิดทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่อร่างกายที่ไม่น่าพึงประสงค์หลายอย่าง เพราะมีระดับฮอร์โมนทั้งสองชนิดในปริมาณสูงเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ ผลข้างเคียงต่อร่างกายดังกล่าวได้แก่ สิว อาการซึมเศร้า มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น และมีอาการปวดบริเวณจุดที่ฉีดยามากขึ้น

Festin เจ้าหน้าที่การแพทย์ของ WHO บอกว่า อาการซึมเศร้าและความต้องการทางเพศที่เพิ่มขึ้นเ ป็นอาการข้างเคียงสองอย่างที่สร้างปัญหาเเก่ผู้ใช้มากกว่าอาการข้างเคียงอื่นๆ

คณะกรรมการทบทวนของ WHO ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าติดตามความคืบหน้าของการทดลอง ได้สั่งให้ยุติการทดลอง แต่ได้อนุญาตให้ทีมนักวิจัยติดตามดูสุขภาพของผู้เข้าร่วมการทดลองต่อ และภายในหนึ่งปี ทีมนักวิจัยพบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองเกือบทุกคนมีปริมาณตัวอสุจิในระดับปกติ

Festin เจ้าหน้าที่การแพทย์ของ WHO บอกว่า ยาคุมกำเนิดชายเเบบฉีดนี้จะต้องได้รับการปรับปรุงเสียก่อนที่จะผลิตออกมาสู่ตลาด และมีทีมงานวิจัยทีมอื่นอีกหลายทีมกำลังทำงานด้านนี้อยู่ในขณะนี้

เเม้ว่าจะมีผลข้างเคียงต่อร่างกายหลายอย่าง แต่ 75 เปอร์เซ็นต์ของอาสาสมัครชายที่เข้าร่วมในการศึกษาทดลองบอกว่า พวกเขาต้องการใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉีดนี้ตัวใหม่นี้

(รายงานโดย Jessica Berman / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)

XS
SM
MD
LG