ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์ตัดแต่งพันธุกรรมยุงเพื่อใช้ปราบเชื้อมาลาเรีย


นักวิทยาศาสตร์ตัดแต่งพันธุกรรมยุงเพื่อใช้ปราบเชื้อมาลาเรีย
นักวิทยาศาสตร์ตัดแต่งพันธุกรรมยุงเพื่อใช้ปราบเชื้อมาลาเรีย

อีกไม่นานเกินรอ นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะมีวิธีการใหม่ออกมาใช้ปราบไข้มาลาเรีย นั่นก็คือ การใช้ยุงที่ได้รับการตกแต่งทางพันธุกรรมให้สามารถกำจัดเชื้อมาลาเรียในตัวยุงเองหลังจากไปดูดเลือดคนที่เป็นไข้มาลาเรีย

ไข้มาลาเรียเป็นสาเหตุหนึ่งที่คร่าชีวิตคนจำนวนมากทั่วโลก ตัวเลขล่าสุดในรายงานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ชี้ว่ามีคนทั่วโลกเสียชีวิตจากไข้มาลาเรีย โรคที่ยุงเป็นพาหะจำนวน 655,00 คนในปีพุทธศักราช 2553 ส่วนใหญ่เป็นเด็กในชาติอาฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า


นักวิจัยได้ทำการตกแต่งพันธุกรรมยุงให้มีระบบภูมิต้านทานของยุงแข็งแรงขึ้นเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปสู่มนุษย์

ยุงตกแต่งพันธุกรรมหรือ ยุงจีเอ็ม สามารถสร้างโปรตีน เรลทู ในภูมิต้านทานได้สูงกว่าปกติ ทำหน้าที่ทำลายเชื้อมาลาเรียที่เข้าสู่ตัวยุงหลังจากดูดเลือดของผู้ป่วย

จอร์จ ดิมโมพูลอส หัวหน้าทีมวิจัยที่สถาบันวิจัยมาลาเรีย มหาวิทยาลัย Johns Hopkins ที่เมืองบัลติมอร์ในรัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การตกแต่งพันธุกรรมยุงเป็นการกำจัดเชื้อมาลาเรียในตัวยุง วิธีป้องกันไม่ให้เชื้อมาลาเรียดื้อยา นักวิจัยชี้ว่ายุงที่พันธุกรรมถูกตัดแต่ง หรือ ยุงจีเอ็มนี้ยังคงมีวงจรชีวิตเหมือนยุงทั่วไป

ทางทีมงานหวังว่าในที่สุดพวกเขาจะสามารถผสมพันธุ์ยุงจีเอ็มกับยุงลายในธรรมชาติได้เพื่อให้กำเนิดลูกยุงที่มีระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายสูงกว่าเดิม ยุงจีเอ็ม อาจกลายอาวุธต่อต้านไข้มาลาเรียที่มีประสิทธิภาพที่สุดวิธีหนึ่งก็ได้และอาจจะกลายเป็นเพียงวิธีเดียวที่หลงเหลือในการปราบปรามเชื้อมาลาเรีย

คุณจอร์จ ดิมโมพูลอส หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าการใช้ยุงจีเอ็มปรามปรามมาลาเรียจะได้ผลเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อมาลาเรียโดยยุงเฉพาะสายพันธุ์เท่านั้นเพราะทางทีมวิจัยยังไม่สามารถตกแต่งพันธุกรรมยุงทุกสายพันธุ์ได้

ผู้สื่อข่าววีโอเอรายงานว่า ทีมงานได้ทดลองตัดแต่งพันธุกรรมยุงสายพันธุ์อัลนะเฟลลีส (Anopheles) ยุงพาหะหลักของไข้มาลาเรียที่แพร่ระบาดในทวีปอาฟริกาเท่านั้น พวกเขาจะเดินหน้าวิจัยต่อไปเพื่อดูว่าการตัดแต่งพันธุกรรมจะใช้ได้หรือไม่กับยุงสายพันธุ์อื่นๆที่เป็นพาหะไข้มาลาเรีย

XS
SM
MD
LG