ลิ้งค์เชื่อมต่อ

คณิตศาสตร์สูตรใหม่ช่วยไขวิธีทำลายฝูงตั๊กแตนที่เป็นภัยต่อพื้นที่เกษตร


A locust devouring vegetation in Morocco, July 2004. ©FAO/Giampiero Diana
A locust devouring vegetation in Morocco, July 2004. ©FAO/Giampiero Diana

แนวทางดังกล่าวรวมถึงการใช้เครื่องบินก่อกวนฝูงแมลงไม่ให้บินรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:27 0:00
Direct link

เกษตรกรและนักกำจัดแมลงในอาร์เจนตินากำลังพยายามปราบปรามการทำลายพืชผลโดยตั๊กแตนครั้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 50 ปี

ตั๊กแตนฝูงมหึมาหลายร้อยล้านตัวสามารถสร้างความเสียหายทางการเกษตรมูลค่ามหาศาลได้ในพริบตา ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์จะหมดประโยชน์สำหรับการเป็นแหล่งอาหารของวัวจำนวนมาก หลังจากโดนทำลายโดยแมลงเหล่านี้

ที่ผ่านมาเกษตรกรใช้ยาฆ่าแมลงปราบศัตรูพืชเหล่านี้ ตั้งแต่ก่อนที่พวกมันจะก่อตัวเป็นกลุ่มตั๊กแตนฝูงใหญ่ อย่างไรก็ตามในประเทศยากจน เช่น บางประเทศในแอฟริกา อเมริกาใต้และเอเชีย เกษตรกรไม่มีความพร้อมและทุนทรัพย์ในการใช้วิธีป้องกันดังกล่าว

ขณะนี้คณะนักวิจัยจากอังกฤษ พยายามอธิบายพฤติกรรมของฝูงตั๊กแตนด้วยสูตรคณิตศาสตร์ และอาจนำไปสู่การวางแผนความคุมการย้ายถิ่นของฝูงตั๊กแตน หนึ่งในวิธีป้องกันอาจรวมถึงการรบกวนแมลงกลุ่มใหญ่ด้วยเครื่องบินเพื่อทำให้ฝูงแตก

ในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยจัดกลุ่มตั๊กแตนเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่ ลงในพื้นที่วงกลมขนาดเล็ก และดูพฤติกรรมของพวกมัน

หนึ่งในกลุ่มผู้วิจัย Christian Yates จากมหาวิทยาลัย Bath กล่าวว่า ขณะที่กลุ่มแมลงเข้ารุมเป็นฝูงใหญ่ พวกมันมักบินในทิศทางเดียวกันกับแมลงตัวใกล้เคียง แต่เมื่อพวกมันเปลี่ยนทิศทางการบิน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และทำร่วมกันเป็นกลุ่ม

เขาบอกว่ามีแมลงบางตัวที่ไม่สนใจเพื่อนร่วมฝูง แต่พฤติกรรมจะเปลี่ยนทันทีถ้าเพิ่มจำนวนแมลงในพื้นที่ที่จัดไว้ เพราะหลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์เห็นความพร้อมเพรียงในการเปลี่ยนทิศทางการบิน ไม่ว่าจะเป็นการบินตาม หรือทวนเข็มนาฬิกา

การทดลองชี้ว่า พฤติกรรมของตั๊กแตนเปลี่ยนไป แม้เพิ่มจำนวนเพื่อนร่วมฝูงไม่มาก เขากล่าวว่าทิศทางการบินของแมลงสองตัวแรกจะมีผลต่อแมลงตัวที่สามอย่างเห็นได้ชัด

Christian Yates กล่าวว่า ตามธรรมชาติตั๊กแตนเป็นสัตว์ที่อ่อนไหวต่อความไม่แน่นอน และหากว่าเกษตรกรใช้เครื่องบิน บินก่อกวนเพื่อสร้างความปั่นป่วน กลุ่มแมลงขนาดใหญ่อาจแตกฝูงได้ อีกวิธีที่สร้างความปั่นป่วนได้อาจใช้สัญญาณอัลตร้าโซนิค

อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่าวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันฝูงตั๊กแตนขนาดใหญ่ ก่อนพวกมันเข้าทำลายผลผลิตการเกษตร อย่างที่เห็นในอาร์เจนติน่า คือตัดตอนการแพร่พันธุ์ตั้งแต่แรก

(รายงานโดย Deborah Block/ เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)

XS
SM
MD
LG