ลิ้งค์เชื่อมต่อ

งานวิจัยชี้การแพทย์ที่ก้าวหน้าจะช่วยให้คนเรามีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้นแต่จะไม่เกิน 100 ปี


Global Aging: Elderly Indians participate in celebrations to mark International Day of Older Persons at an old age home in Ahmadabad, India.
Global Aging: Elderly Indians participate in celebrations to mark International Day of Older Persons at an old age home in Ahmadabad, India.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:30 0:00

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าระดับอายุขัยโดยเฉลี่ยของคนในประเทศตะวันตกได้เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 80 ปี โดยเป็นผลมากจากความก้าวหน้าด้านการเเพทย์สมัยใหม่และการบริการด้านสาธารณสุขที่ดีขึ้น

ทีมนักวิจัยที่วิทยาลัยการเเพทย์ Albert Einstein มหานครนิวยอร์ค กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่อายุขัยโดยเฉลี่ยของคนเราอาจจะเพิ่มสูงขึ้นไปอีก

การศึกษาชิ้นใหม่สรุปว่า ในหลายส่วนของโลก คนเราอาจจะมีชีวิตได้ยาวนานเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับมนุษย์และในชาติตะวันตก โดยอายุขัยโดยเฉลี่ยของคนอยู่ที่ 80 ปี

ทีมผู้ร่างผลการศึกษาเรื่องนี้ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature กล่าวว่า ผลการศึกษาชี้ว่าระดับอายุขัยเฉลี่ยที่สูงที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ น่าจะเกิดขึ้นไปแล้วตั้งเเต่ช่วงทศวรรษที่ 1990

อายุขัยโดยเฉลี่ยของคนเรายาวนานขึ้นอย่างมากจากปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงศตวรรษที่ 20 โดยสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากความก้าวหน้าด้านการแพทย์สมัยใหม่ และการบริการทางสาธารณสุขที่ปรับปรุงดีขึ้น

ในสหรัฐฯ อายุขัยเฉลี่ยของคนอเมริกันเพิ่มขึ้นจาก 47 ปี ในตอนปลายศตวรรษที่ผ่านมา มาเป็น 79 ปี สำหรับเด็กทารกที่คลอดวันนี้

ทีมนักวิจัยที่วิทยาลัยการเเพทย์ Albert Einstein College ในมหานครนิวยอร์ค สรุปผลการศึกษาของพวกเขาจากข้อมูลที่ได้จากสำนักงาน Human Mortality Database ที่เก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเสียชีวิตของประชากรในมากกว่า 40 ประเทศ ย้อนกลับไปถึงทศวรรษที่ 1900

ข้อมูลในบันทึกดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงการลดลงของการเสียชีวิตก่อนวัยอย่างต่อเนื่อง ตั้งเเต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการเพิ่มขึ้นของการมีชีวิตยืนยาวจนถึงวัยเเก่เฒ่าอย่างสม่ำเสมอโดยนักวิจัยให้นิยามว่าคือที่อายุ 70 ปี

ทีมนักวิจัยชี้ว่า คนบางคนที่เกิดในสหรัฐฯ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และอังกฤษ มีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 110 ปีหรือเเก่กว่า ระหว่างปี ค.ศ. 1968 ถึง ค.ศ. 2006 แต่จำนวนของคนที่อายุเกินหนึ่งร้อยปี หรือที่เรียกว่า supercentenarians มีน้อยมากและเป็นไปได้ยากสำหรับคนส่วนใหญ่ที่จะมีชีวิตอยู่นานเกิน 100 ปี

ทีมนักวิจัยระบุว่านาง Jeanne Calment หญิงชาวฝรั่งเศสอายุ 122 ปี ถือเป็นคนที่มีอายุยืนที่สุดในโลก ในข้อมูลบันทึก นาง Calment ซึ่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1997 ถือว่าเเตกต่างออกไปจากกลุ่มทั่วไปในเชิงสถิติอย่างมาก และสำหรับคนที่อายุยืนกว่าคนทั่วไปและขึ้นไปถึงเลขสามตัว ก็มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะมีอายุขัยไม่เกิน 115 ปี

Vijg ย้ำว่าการพัฒนาด้านการเเพทย์อย่างต่อเนื่องช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนเราให้ดีขึ้นโดยเฉพาะในโลกพัฒนาเเล้ว ที่อาจจะช่วยผลักดันให้อายุขัยโดยเฉลี่ยนานกว่า 80 ปีได้

อย่างไรก็ตาม เขาชี้ว่าเราไม่ควรคาดหวังให้อายุขัยโดยเฉลี่ยของมนุษย์ขึ้นไปเกิน 100 ปี

(รายงานโดย Jessica Berman / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)

XS
SM
MD
LG