ลิ้งค์เชื่อมต่อ

องค์กรระหว่างประเทศหวั่นลาวจะลำบากภายใต้อิทธิพลการเมืองและอำนาจเศรษฐกิจจีน


laos-china-nam-ou-dams
laos-china-nam-ou-dams

นักวิเคราะห์แนะนำให้ลาวรักษาสมดุล และกระชับสัมพันธ์กับเวียดนามและชาติตะวันตกเพื่อคานอำนาจจีน

please wait

No media source currently available

0:00 0:05:19 0:00
Direct link

เมื่อปีที่แล้ว จีนก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในลาว ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 5,000 ล้านดอลล่าร์ ทั้งในโครงการเหมืองแร่ เขื่อน ทรัพยากรและอุตสาหกรรมการเกษตร และเมื่อเร็วๆ นี้ ลาวกับจีนตกลงสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงมูลค่า 7,000 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ “หนึ่งถนน หนึ่งวงแหวน” หรือ “One Road, One Belt” ของจีน เพื่อจะเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งทั่วเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

laos-china-hi-speed-railway-map
laos-china-hi-speed-railway-map

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากจีนมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเริ่มต้นที่เมืองคุนหมิงในมณฑลยูนนานทางใต้ของจีน ผ่านสะพาน 150 แห่ง อุโมงค์ 76 แห่ง และสถานีรถไฟ 31 แห่ง จนมาถึงกรุงเวียงจันทน์ของลาว จากนั้นมีแผนเชื่อมต่อกับเครือข่ายรถไฟในไทยก่อนที่จะลงใต้ไปสิ้นสุดที่สิงคโปร์

อาจารย์ Carl Thayer นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงแห่งมหาวิทยาลัย New South Wales ในออสเตรเลีย ชี้ว่าการที่จีนลงทุนในเครือข่ายรางรถไฟดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความพยายามขยายอิทธิพลของจีนในอาเซียน โดยเฉพาะไทย พม่า กัมพูชาและลาว จีนพยายามพัฒนาเส้นทางการค้าลงทางใต้ และเชื่อมโยงเครือข่ายประเทศในอาเซียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไทยต้องการเช่นกันเพราะไทยจะได้ประโยชน์จากเครือข่ายรางรถไฟนี้ด้วย

แต่ปัญหาคือโครงการดังกล่าวจะยิ่งทำให้ลาวเป็นหนี้สะสมกับจีนมากยิ่งขึ้น นักวิเคราะห์เชื่อว่าเงินกู้ที่ลาวได้รับจากจีน ซึ่งลาวต้องนำทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไปแลกนั้น ยิ่งทำให้หนี้ของลาวเพิ่มพูน ปัจจุบันสัดส่วนหนี้ของลาวสูงเกือบ 90% ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมของประเทศ

ด้านธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียหรือ ADB ระบุว่าโครงการสร้างเครือข่ายรางรถไฟมูลค่ามหาศาลนั้น ไม่เหมาะกับประเทศเศรษฐกิจขนาดเล็กอย่างลาว ซึ่งมีประชากรเพียง 6 ล้านคน และพึ่งพาการเกษตรเป็นหลัก

นักวิเคราะห์ชี้ว่าอิทธิพลของจีนที่มีต่อลาวกำลังก่อความกังวลในหลายด้าน เช่นความสมบูรณ์ทางสิ่งแวดล้อม การยึดที่ดินทางการเกษตร และการไล่เกษตรกรออกจากผืนดินของพวกเขา

please wait

No media source currently available

0:00 0:05:19 0:00
Direct link

ดร.ฐิตินันท์ พงศ์สุทธิรักษ์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่าจีนมองลาวว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่อาเซียน ลาวมีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะตกอยู่ภายใต้การครอบงำของจีน เพราะเป็นประเทศเล็ก และจีนไม่กลัวที่จะรวบแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เข้ามาอยู่ใต้ปีก หรือกลายเป็นสวนหลังบ้านของจีน

laos-map-of-special-economic-zones
laos-map-of-special-economic-zones

ปัจจุบัน เศรษฐกิจลาวเติบโตในระดับเกือบ 7% แต่ยังต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการจ้างงานมากนัก ธนาคารโลกได้แนะนำให้ลาวกระจายการผลิตให้หลากหลายเพื่อลดการพึ่งพาทรัพยากร และเพื่อสร้างงานใหม่ไว้รองรับตลาดแรงงานที่มีการขยายตัวเกือบ 1 แสนคนต่อปี ขณะที่ภาคการเงินของลาวก็ยังอ่อนแอ มีการขาดดุลงบประมาณมากมายในแต่ละปี ซึ่งยิ่งทำให้ลาวมีความเปราะบางมากยิ่งขึ้น

ดร.ฐิตินันท์ พงศ์สุทธิรักษ์ ระบุว่าลาวมีเศรษฐกิจมหภาคที่อ่อนแอ ทำให้ต้องพึ่งพาจีน ซึ่งจีนก็ฉลาดพอที่จะขยายวงเงินกู้และเสนอโครงการใหม่ๆในลาว ซึ่งลาวต้องระมัดระวังในเรื่องนี้

ด้าน ศ.เกียรติคุณ ดร.Martin Stuart-Fox แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัย Queensland เชื่อว่าในด้านการเมืองระหว่างประเทศ จีนก็กำลังใช้นโยบายที่มีเป้าหมายลดทอนความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับลาว ซึ่งผูกพันแน่นแฟ้นมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามอินโดจีน และว่าจีนมีเป้าหมายแน่วแน่ที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับลาว ให้ทัดเทียมกับที่เวียดนามมีกับลาวให้ได้

ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ต่างเชื่อว่ารัฐบาลลาวจำเป็นต้องรักษาสมดุลระหว่างจีนกับเวียดนาม พร้อมกับดึงประเทศทางตะวันตกให้เข้ามามีส่วนคานอำนาจจีน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีหน้าซึ่งลาวจะขึ้นเป็นประธานสมาคมอาเซียน ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ลาวจะสามารถยกระดับอำนาจการต่อรอง เพื่อต้านทานอิทธิพลประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังแย่งชิงการครอบงำทางการเมืองและเศรษฐกิจเหนือรัฐบาลกรุงเวียงจันทน์

ผู้สื่อข่าว Ron Corben รายงานจากกรุงเทพฯ / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG