ลิ้งค์เชื่อมต่อ

"หลวงพี่เดลิเวรี่" บริการออนไลน์แบบใหม่พลิกโฉมหน้าวงการพุทธศาสนาญี่ปุ่น


Junku Soto, a Buddhist priest. Credit Ko Sasaki for The New York Times.
Junku Soto, a Buddhist priest. Credit Ko Sasaki for The New York Times.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:17 0:00

โลกในยุคอินเทอร์เน็ตกำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน ต่อวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่การทำพิธีกรรมทางศาสนา จนเป็นที่มาของบริการ “หลวงพี่เดลิเวรี่” หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “Obosan-bin” ที่กำลังแพร่หลายตามเมืองใหญ่ของญี่ปุ่น จนทำให้เกิดเสียงถกเถียงตามมามากมายถึงความเหมาะสม

ชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน ทำให้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากไม่มีเวลาแม้กระทั่งไปทำบุญที่วัด แต่เวลานี้ชาวญี่ปุ่นตามเมืองใหญ่สามารถสั่งออเดอร์ออนไลน์ ทางเว็บไซต์ Amazon เพื่อให้พระมาสวดถึงบ้านได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นพิธีทำบุญบ้าน ทำบุญวันเกิด หรือกระทั่งทำบุญครบรอบวันเสียชีวิตของสมาชิกในครอบครัว

คุณ Yutaka Kai คือผู้หนึ่งที่ใช้บริการ “หลวงพี่เดลิเวรี่” หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “Obosan-bin” ในวันครบรอบ 1 ปีที่ภรรยาเสียชีวิต เขาบอกว่าบริการนี้สะดวกรวดเร็ว ราคาไม่แพง และทางเว็บไซต์ยังระบุราคาชัดเจนว่าแต่ละแพ็คเก็จนั้นราคาเท่าไร ประกอบด้วยพิธีกรรมและอุปกรณ์อะไรบ้าง

Junku Soto, a Buddhist priest, being greeted by a client. Credit Ko Sasaki for The New York Times
Junku Soto, a Buddhist priest, being greeted by a client. Credit Ko Sasaki for The New York Times

บริการที่ว่านี้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจที่เรียกว่า Gig Economy หรือเศรษฐกิจที่ไม่ผูกติดกับงานประจำ แต่รับงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ที่กำลังระบาดเข้าไปในแวดวงศาสนา

ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าอย่างมากในด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ใช่ในด้านศาสนา เพราะที่ผ่านมาวงการศาสนาของญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

ปัจจุบัน 70% ของประชากรญี่ปุ่นระบุว่าตัวเองไม่นับถือศาสนาใด หรือเรียกว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีศาสนา อย่างไรก็ดี คนกลุ่มนี้จำนวนมากบอกว่ายังคงปฏิบัติตามธรรมเนียมทางศาสนาแบบเดิมๆ ที่พ่อแม่หรือปู่ย่าตายายปฏิบัติตามกันมา เช่นการไปที่ศาลเจ้าในวันปีใหม่ หรือการไหว้หลุมฝังศพบรรพบุรุษในวันสำคัญ

แน่นอนว่ามีคนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับบริการ “หลวงพี่เดลิเวรี่” เพราะมองว่าขัดกับหลักการทำพิธีกรรมตามธรรมเนียมดั้งเดิมของศาสนาพุทธนิกายมหายานแบบญี่ปุ่น ขณะที่ผู้นำศาสนาหลายคนออกมาตำหนิว่าไม่เหมาะสม

แต่ผู้ที่สนับสนุนบริการดังกล่าว บอกว่าเป็นการสนองความต้องการที่ตรงจุด และยังถือเป็นการดำรงรักษาพิธีกรรมทางศาสนา ด้วยการทำให้เข้าถึงได้ง่ายสำหรับประชากรญี่ปุ่นหลายล้านคนในเมืองใหญ่ ซึ่งห่างไกลจากศาสนาไปทุกที

บรรดาผู้สนับสนุนยังบอกด้วยว่า เวลานี้วัดในญี่ปุ่นต่างทำธุรกิจไม่ต่างจากบริษัท และบางครั้งมีการตั้งราคาอุปกรณ์ในการทำพิธีกรรมต่างๆ ตามใจชอบ หรือให้ญาติโยมเป็นผู้บริจาคเงินเองตามกำลังศรัทธา ซึ่งมักทำให้ราคาที่จ่ายนั้นสูงกว่าความเป็นจริง

แต่ในกรณี “หลวงพี่เดลิเวรี่” ที่สั่งซื้อได้ทาง Amazon.com นี้ ลูกค้าสามารถทราบราคาได้ทันที โดยราคาตั้งต้นสำหรับบริการสวดในงานศพคือ 35,000 เยน หรือราว 344 ดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยคือ 12,000 บาท ส่วนราคาแบบแพ็คเก็จสูงสุดซึ่งรวมถึงการเดินทางไปสวดที่หลุมฝังศพด้วยนั้น อยู่ที่ระดับ 65,000 เยน หรือราว 22,000 บาท

บริษัท Minrevi เจ้าของไอเดีย “Obosan-bin” ระบุว่าปัจจุบันมีพระสงฆ์ลงชื่อในเครือข่ายบริการนี้แล้วกว่า 500 รูป โดยทางบริษัทเก็บค่านายหน้าราว 30% อีก 70% เป็นของพระ และคาดว่าปีนี้จะมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 20% เป็น 12,000 ราย

Junku Soto, a Buddhist priest.Credit Ko Sasaki for The New York Times
Junku Soto, a Buddhist priest.Credit Ko Sasaki for The New York Times

หลวงพี่ Junko Soko ผู้ทำหน้าที่สวดในวันครบรอบ 1 ปีที่ภรรยาคุณ Yutaka Kai เสียชีวิต ชี้ว่าพุทธศาสนาในญี่ปุ่นอยู่ในสถานะน่าเป็นห่วง ประชาชนเข้าวัดน้อยลง และรายได้จากเงินบริจาคก็ลดลงมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

หลวงพี่ Soko เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ แบบ “หลวงพี่เดลิเวรี่” คือสิ่งสำคัญที่จะทำให้พุทธศาสนาอยู่รอดได้ในญี่ปุ่น

(รายงานจาก NY Times / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG