ลิ้งค์เชื่อมต่อ

หนังสือ The Interpreter’s Journal หรือบันทึกของล่าม โดยคุณเบญจวรรณ ภูมิแสน Becker


หนังสือ The Interpreter’s Journal หรือบันทึกของล่าม โดยคุณเบญจวรรณ ภูมิแสน Becker
หนังสือ The Interpreter’s Journal หรือบันทึกของล่าม โดยคุณเบญจวรรณ ภูมิแสน Becker

การเป็นล่ามกฏหมาย ทำหน้าที่แปลภาษาอังกฤษ ไทยและลาว ให้กับคู่กรณี ทั้งที่เป็นโจทก์ และจำเลย ตลอดจนทนายความ พยาน ผู้พิพากษา ลูกขุน และพนักงานศาลในศาลแห่งต่างๆ ทั่วมลรัฐแคลิฟอร์เนียภาคเหนือ เป็นงานที่ทั้งยากและเหนื่อย ถือเป็นการอุทิศตัว เพื่อช่วยเหลือคนไทยและคนลาวที่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลอย่างแท้จริง

เมื่อไม่นานมานี้ คุณเบญจวรรณ ภูมิแสน Becker ล่ามกฏหมายไทยลาว ได้เขียนหนังสือชื่อ The Interpreter’s Journal หรือบันทึกของล่าม เป็นภาษาอังกฤษ เล่่าถึงชีวิตการเป็นล่าม และปัญหาต่างๆในการเป็นล่าม ที่เธอต้องประสบอยู่ ส่วนหนังสือเล่มนี้ฉบับภาษาไทย กำลังจะออกวางจำหน่ายในเร็วๆ นี้

การเป็นล่ามนั้น ต้องประสบปัญหาต่างๆหลายประเภทด้วยกัน คุณเบญจวรรณอธิบายว่าล่าม ต้องเข้าใจภาษา และวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศเป็นอย่างดี แต่ก็ต้องประสบปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหากฏไวยากรณ์ ที่ภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ต่างกันออกไปเช่น การใช้พหูพจน์เอกพจน์ การใช้สรรพนาม การใช้กาลบอกเวลาในไวยากรณ์

ปัญหาในการเป็นล่ามกฏหมาย ยังมีอีกหลายประเภท เช่น ทนายความ หรือผู้พิพากษาบางคน พูดเร็วจนแปลไม่ทัน หรือบางครั้ง ถ้าต้องไปเป็นล่ามในคุก ก็อาจมีเสียงรบกวน หรือต้องแปลผ่านแผ่นกั้นกระจก ทำให้ได้ยินกันไม่ค่อยชัด หรือบางครั้ง ล่ามต้องทำงานแปลหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ไม่สามารถจะแปลได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่อง นอกจากนั้น คนไทยบางคน ยังชอบพูดภาษาไทยคำอังกฤษคำ ทำให้แปลความหมายยาก หรือเด็กอายุ 12 หรือ 13 ปี ที่เพิ่งมาจากเมืองไทย ยังไม่ค่อยเข้าใจศัพท์กฏหมาย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ล่ามต้องช่วยแปลอย่างหนัก หรือคู่กรณีประหม่าตื่นกลัวเมื่อต้องขึ้นศาล ทำให้พูดไม่รู้เรื่องเป็นต้น

นอกจากปัญหาด้านภาษาแล้ว ล่ามกฏหมาย ยังมักต้องขบแก้ปัญหาด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วย เช่น คนไทยบางคน เปลี่ยนชื่อนามสกุลหลายครั้ง เพื่อแก้เคล็ดตามหลักโหราศาสตร์ แต่เจ้าหน้าที่ศาล หรือเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองอาจไม่เข้าใจ คิดว่า คนไทยคนนั้น เปลี่ยนชื่อเพราะต้องการปิดบังหรือ หลบหนีคดีตามกฏหมาย เป็นต้น

ชนิดา อังคณารักษ์ บันทึกมาเสนอ

XS
SM
MD
LG