ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักโทษในเรือนจำหลายแห่งทั่วสหรัฐเรียนรู้การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ใกล้สูญพันธุ์


Inmate Joseph Njonge at work in the Stafford Creek Corrections Center conservation nursery. (Tom Banse/VOA)
Inmate Joseph Njonge at work in the Stafford Creek Corrections Center conservation nursery. (Tom Banse/VOA)

สหรัฐอเมริกามีนักโทษเรือนจำมากกว่า 2 ล้านคนและถือเป็นประเทศที่มีผู้ต้องขังมากที่สุดในโลก ขณะนี้มีเรือนจำหลายแห่งทั่วประเทศส่งเสริมความรู้แก่ผู้ต้องขังด้วยการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชที่หายาก

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:02 0:00
Direct link

ทีมนักโทษทีมเล็กทีมหนึ่งสวมเครื่องแบบสีกากีของเรือนจำ กำลังเพาะเมล็ดดอกไม้ที่เรือนเพาะชำ ซึ่งล้อมรอบด้วยการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนาภายในเรือนจำ Stafford Creek ในรัฐ Washington

อีกไม่กี่เดือนหลังจากนี้ ดอกไม้เหล่านี้จะถูกนำไปปลูกตามทุ่งหญ้าธรรมชาติในรัฐ เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้แก่ผีเสื้อ หลายชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์


นาย Toby Erhart และนักโทษคนอื่นๆ ในโครงการนี้มีเวลาเหลือเฟือในการทำงานเพาะต้นกล้าดอกไม้เหล่านี้ นาย Erhart นักโทษข้อหาทำร้ายทางเพศเด็กกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า เรือนเพาะชำที่เรือนจำไม่มีจุดประสงค์ เพื่อทำกำไรจึงเหมาะแก่นักโทษเพราะมีค่าจ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นแต่งานปลูกพืชในเรือนเพาะชำมีผลให้สภาพจิตใจของตนเองดีขึ้น

ผลพลอยได้ของโครงการต่อจิตใจและพฤติกรรมของนักโทษนี่เองที่หัวหน้าเรือนจำต้องการ นาย Pat Glebe หัวหน้าเรือนจำกล่าวว่า โครงการนี้ช่วยลดปัญหาความรุนแรงในคุกลง เพราะนักโทษได้ทำกิจกรรม ที่มีคุณค่าต่อตนเองและต่อสิ่งแวดล้อม

โครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชที่เรือนจำ Stafford Creek นี้ได้เพาะพืชประจำทุ่งหญ้าสายพันธุ์ที่หายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ได้แล้วมากกว่า 1 ล้านชนิดตั้งแต่เริ่มโครงการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว

นักโทษในเรือนจำแห่งอื่นๆ ทั่วประเทศก็มีส่วนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสัตว์พันธุ์หายากเช่นกัน ในรัฐ Ohio นักโทษที่นั่นทำการเลี้ยงกิ้งก่าพันธุ์ Eastern Hellbender เพื่อนำไปปล่อยสู่ป่า ส่วนนักโทษในรัฐ Maryland ตระเตรียมเปลือกหอย oyster เพื่อนำไปใช้ในการฟื้นฟูอ่าว Chesapeake Bay

ในรัฐ Oregon มีมาตรการที่บังคับว่านักโทษทุกคนต้องทำงานเต็มเวลาหรือไม่ก็เรียนหนังสือ ทำให้บรรดาผู้จัดการ เรือนจำในรัฐต้องสร้างสรรค์กิจกรรมที่มีคุณค่าให้นักโทษทำ

นักโทษในโครงการปลูกพืชได้รับค่าตอบแทนต่ำกว่าหนึ่งดอลล่าร์สหรัฐต่อชั่วโมงในทางฝั่งตะวันตกของประเทศ

แม้งานทำสวนเป็นงานค่อนข้างจำเจ ซ้ำซาก แต่ความซ้ำซากของงานไม่ใช่อุปสรรคสำหรับนาย Joseph Njonge นักโทษข้อหาฆาตกรรมคนนี้ ที่สมัครเข้าร่วมโครงการในเรือนจำ 200 เตียงที่ Strafford Creek แห่งนี้

เขาบอกว่ายากมากที่จะได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนี้แต่เมื่อได้รับเลือก ความรู้ที่ได้จากโครงการหาที่ใหนไม่ได้ เมล็ดพืชที่ปลูกในเรือนเพาะชำส่วนมากเป็นพืชเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เป็นพืชที่หาไม่ได้ในที่อื่นๆของสหรัฐอเมริกา

นาย Njonge เป็นชาวเคนยาและอาจจะถูกส่งตัวกลับประเทศบ้านเกิดหลังจากจองจำจนครบ 16 ปี เขาหวังว่าความรู้ใหม่ๆ ที่ได้จากโครงการอนุรักษ์พืชระหว่างการจองจำนี้จะช่วยให้เขาหางานทำในสาขานี้ได้ในอนาคต ไม่ว่าเขาจะไปอยู่ที่ใหนก็ตาม เขากล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเขาตัดสินใจแล้วว่านี่จะเป็นอาชีพในอนาคตเมื่อหลุดพ้นจากเรือนจำ

โครงการสิ่งแวดล้อมของเรือนจำในรัฐ Washington ได้ขยายขอบเขตงานออกไปกว้างมากขึ้น ในคุกแห่งนี้ นักโทษยังได้เรียนรู้การฝึกฝนสุนัขไร้บ้านเพื่อให้เหมาะแก่การนำไปเลี้ยงเป็นสัตวเลี้ยง นักโทษกำลังเรียนรู้การเลี้ยงปลา ในแท็งค์น้ำพลังงานแสงอาทิตย์ บางคนเรียนซ่อมแซมจักรยานและรถเข็นคันเก่าเพื่อมอบให้แก่คนทั่วไปที่ด้อยโอกาส

XS
SM
MD
LG