ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ย้อนอดีตพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับโอกาสและความท้าทายของ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’


The U.S. Capitol during a rehearsal for the inauguration ceremony Donald Trump
The U.S. Capitol during a rehearsal for the inauguration ceremony Donald Trump
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:06 0:00

พิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นอกจากจะถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการเปลี่ยนผ่านอำนาจที่สงบและราบรื่นที่สืบทอดมายาวนานของสหรัฐฯ แล้ว ยังเป็นโอกาสสำคัญของผู้นำคนใหม่ ที่จะได้แสดงวิสัยทัศน์และทิศทางการทำงานอย่างเป็นทางการครั้งแรก

ผู้ที่จะขึ้นรับตำแหน่งผู้นำสหรัฐจะต้องเข้าร่วมในพิธีสาบานตนอย่างเป็นทางการ เพื่อกล่าวยืนยันความมุ่งมั่นที่จะรักษา ป้องกัน และปกป้อง รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาอย่างสุดความสามารถ

พิธีสาบานตนของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในแต่ละครั้ง จัดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม ซึ่งสืบเนื่องมาจากวาระการลงสัตยาบันรับรองบทบัญญัติบทที่ 20 ในรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ และใช้วันนี้เป็นวันทำพิธีสาบานตนมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1937

George Washington's Inauguration by Jean Leon Gerome Ferris (courtesy of the Library of Congress)
George Washington's Inauguration by Jean Leon Gerome Ferris (courtesy of the Library of Congress)

ไม่ว่าภาวการณ์จะเป็นอย่างไร พิธีการที่เป็นสัญลักษณ์นี้คือจุดเริ่มต้นของภารกิจที่ท้าทายในฐานะผู้นำสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการในทันที

ในปี พ.ศ. 2476 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลำดับที่ 32 แฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) ขึ้นกล่าวสาบานตนรับตำแหน่งท่ามกลางความท้าทายของสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่สุดของอเมริกา

ในครั้งนั้น ประธานาธิบดีรูสเวลท์ กล่าวถึงความความเชื่อของตัวเองว่า "สิ่งเดียวที่ทุกคนควรจะต้องกลัว ก็คือความกลัวในตัวเอง" ซึ่งเป็นวาทะที่หลายคนยังจดจำเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเอาชนะความกลัวในภาวะวิกฤติให้กับชาวอเมริกันในขณะนั้น

ต่อมาใน พ.ศ. 2504 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลำดับที่ 35 นายจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ( John F. Kennedy) กล่าวสร้างแรงบันดาลใจกับชาวอเมริกันรุ่นใหม่ ด้วยประโยคสุดคลาสสิคในตอนนั้นว่า "จงอย่าถามว่าประเทศทำอะไรเพื่อคุณบ้าง แต่จงถามว่าคุณทำอะไรเพื่อประเทศของคุณ"

Kennedy Inauguration
Kennedy Inauguration

20 ปีต่อมา ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ก้าวขึ้นสู่อำนาจพร้อมกับแนวทางที่จะจำกัดอำนาจของรัฐบาล ผู้นำสหรัฐฯ ลำดับที่ 40 กล่าวว่า "ในสภาวะวิกฤติของสหรัฐฯ ขณะนั้น รัฐบาลนั้นไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหา แต่รัฐบาลต่างหากคือปัญหา"

การกล่าวปราศรัยต่อผู้ที่เข้าร่วมพิธีสาบานตนอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก จะถือเป็นเรื่องสำคัญของการบอกแนวทางการทำงาน และภาระหน้าที่ของประธานาธิบดี ว่าจะนำพาประเทศไปในทิศทางใด

John Fortier จาก Bipartisan Policy Center องค์กรวิเคราะห์ทางการเมืองสหรัฐฯ บอกว่า ปัญหาความแตกแยกในสังคมอเมริกันที่ยังคงดำเนินอยู่หลังชัยชนะในการเลือกตั้งของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จะเป็นความท้าทายแรกๆ ที่ว่าที่ผู้นำสหรัฐฯ จะต้องเผชิญ

นักวิเคราะห์จากศูนย์วิเคราะห์เชิงนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งสองพรรค บอกว่า "การขึ้นแถลงในพิธีสาบานตนถือเป็นโอกาสสำคัญมาก สำหรับการบอกกับประชาชนทั้งประเทศเป็นครั้งแรกในฐานะประธานาธิบดี และบางทีก็อาจจะมีบางเรื่องที่แตกต่างออกไปจากเมื่อครั้งเดินสายหาเสียง"

Reagan Inauguration 1981
Reagan Inauguration 1981

ขณะที่ John Hudak นักวิเคราะห์ จาก Brooking Institution บอกว่า "ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้น พิธีสาบานตนของประธานาธิบดีจะช่วยลดความร้อนแรงทางการเมืองให้กลับมาสู่การเปลี่ยนผ่านที่เต็มไปด้วยความหมาย และตามแนวทางแห่งประชาธิปไตย"

เขาบอกว่าประธานาธิบดีโอบามา และว่าที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จะนั่งรถจากทำเนียบขาวเดินทางไปร่วมพิธีสาบานตนด้วยกันที่อาคารรัฐสภาสหรัฐฯ ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านที่สงบราบรื่น เคร่งครัดในพิธีการ

ซึ่งเป็นการสืบทอดธรรมเนียมสำคัญที่ไม่เหมือนประเทศใดในโลก

Norm Ornstien นักวิเคราะห์จาก สถาบัน American Enterprise Institute กล่าวว่า "การขึ้นกล่าวแถลงเป็นครั้งแรกของว่าที่ประธานาธิบดี ทรัมป์ ยังคงเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้"

เขาบอกว่า ปกติการกล่าวแถลงในพิธีสาบานตนจะมีการเตรียมสคริปต์ไว้ล่วงหน้า และให้ประธานาธิบดีได้กล่าวตามสิ่งที่ร่างขึ้น แต่สำหรับนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ผ่านมามักจะไม่ค่อยอ่านตามสคริปต์มากนัก

แต่จะเกิดขึ้นหรือไม่นั้น ว่าที่ประธานาธิบดีลำดับที่ 45 เท่านั้น ที่จะเป็นผู้ล่วงรู้

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG