ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สีสันนิทรรศการตุ๊กแก(Geckos Exhibition)รวบรวมสายพันธุ์ตุ๊กแกจากทั่วโลกมาจัดแสดงที่กรุงวอชิงตัน


สีสันนิทรรศการตุ๊กแก(Geckos Exhibition)รวบรวมสายพันธุ์ตุ๊กแกจากทั่วโลกมาจัดแสดงที่กรุงวอชิงตัน
สีสันนิทรรศการตุ๊กแก(Geckos Exhibition)รวบรวมสายพันธุ์ตุ๊กแกจากทั่วโลกมาจัดแสดงที่กรุงวอชิงตัน

เด็กชาวอเมริกันและนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เดินทางมาเที่ยวกรุงวอชิงตันกำลังตื่นเต้นกับนิทรรศการตุ๊กแก ที่รวบรวมตุ๊กแกหลายสายพันธ์ที่มีอยู่ทั่วโลกจากสวนสัตว์เลื้อยคลาน Clyde Peeling (Clyde Peeling’s Reptiland) ในรัฐเพลซิลเวเนีย มาจัดแสดง ที่พิพิธภัณธ์ National Geographic ในกรุงวอชิงตัน

เสียงเจ้าตุ๊กแตที่คุ้นหูของชาวเอเชีย แต่ฟังแล้วน่าตื่นเต้นสำหรับผู้ที่ไปเที่ยวชมนิทรรศการตุ๊กแก ในพิพิธภัณฑ์ National Geographic ในกรุงวอชิงตัน ที่รวบรวมตุ๊กแกมีชีวิต18 สายพันธ์จากที่ต่างๆทั่วโลก รวมกว่า 90 ตัวมาจัดแสดงและให้ความรู้ถึงลักษณะและความน่าสนใจของสัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้

โคลิน วอล์คเกอร์(Colin Walker) เจ้าหน้าที่ดูแลนิทรรศการตุ๊กแก อธิบายลักษณะพิเศษพร้อมกับคว้าเจ้าตุ๊กแกสายพันธุ์จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รูปร่างลายจุดที่คุ้นตาแทบจะไม่ต่างกับที่พบเห็นได้ทั่วไปในเมืองไทยมาอยู่ในมือ ว่าเป็นตุ๊กแกทำท่าเหมือนว่าจะชอบเกาะที่ติดหนึบที่นิ้วมือของเขา แต่ขณะเดียวกันก็ต้องระวังฟันเล็กๆที่แสนจะคมมากพอที่จะสร้างความเจ็บปวดได้ถ้าถูกกัด

นิทรรศการครั้งนี้ได้รับเกียรติจากเจ้าตุ๊กแกที่คุณโคลิน บอกว่า ตัวใหญ่ที่สุดโลก มีรูปร่างคล้ายจรเข้ตัวสีเขียว ยาวประมาณ 1 ฟุต เจ้าตัวนี้เดินทางมาจากเกาะนิว คาลีโดเนีย (New Caledonia) ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิคตอนใต้

ความน่าสนใจของเจ้าสัตว์เลื้อนคลานชนิดนี้คือความหลากหลายและความแตกต่างของสายพันธ์ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่าในโลกนี้น่าจะมีมากกว่า 1 พัน 2 ร้อย 5 สิบ สายพันธุ์ โดยตุ๊กแกเพศเมียบางสายพันธุ์สามารถผสมพันธุ์และขยายพันธุ์ได้ด้วยตัวเอง

อายุของตุ๊กแกบางพันธุ์ยืนยาวหลายสิบปี อย่างเช่นเจ้าตุ๊กแกสีเหลืองลายจุดที่เรียกว่าตุ๊กแกเสือดาว นั้นมีอายุยืนยาวถึง 25-40 ปีเลยทีเดียว

ตุ๊กแกส่วนใหญ่มีความสามารถพิเศษในการพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม แต่ก็ไม่พ้นสายตาเด็กๆที่ให้ความสนใจผ่านตู้กระจกใส

เด็กชายแมท วัยประมาณ 7 ขวบ บอกว่าพบเจ้าตุ๊กแกที่เกาะนิ่งคล้ายใบไม้แห้งอยู่หลังต้นไม้

โคลิน อธิบายเพิ่มเติมว่าตุ๊กแกบางสายพันธุ์ปลอมตัวได้เนียนมากโดยเฉพาะเจ้าตุ๊กแกจากเกาะมาดากาสการ์ (Madagascar)ในทวีปแอฟริกาที่มีรูปร่างเหมือนกิ่งไม้ หรือบางชนิดปลอมตัวเกาะติดกับต้นไผ่ หรือต้นไม้ บางชนิดทำได้แนบเนียนบนผืนทราย ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศแต่ตุ๊กแกทุกชนิดมีลักษะเด่นคือฝ่าเท้าที่เกาะติดแน่นอยู่กับวัตถุได้ทุกชนิดไม่ว่าจะในยามหลับหรือว่ายามตื่น

นิทรรศการครั้งนี้รวบรวมเอาความสามารถพิเศษในการเกาะผนังของเจ้าตุ๊กแกถ่ายภาพขยายมาวิเคราะห์ให้ศึกษาอย่างละเอียด ถึงขนาดที่นักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยต้องการศึกษาและเลียนแบบลักษณะเด่นชนิดนี้กันอย่างจริงๆจังกันเลยทีเดียว เช่นเดียวกับความก้าวหน้าในเรื่องการมองเห็นของตุ๊กแกที่ว่ากันว่าเหนือกว่ามนุษย์กว่า 300 เท่า โดยเฉพาะในที่มืดสนิท

ตุ๊กแกกินแมลง หรือยุงเป็นอาหาร แต่เจ้าตุ๊กแกบางชนิดเช่นพันธุ์ที่อาศัยในทะเลทรายจะสามารถเก็บอาหารพิเศษและน้ำไว้ที่บริเวณหางจนทำให้มันอยู่ได้โดยไม่ต้องทานอะไรเลยได้นานนับสัปดาห์ แต่ถึงแม้จะมีความสามารถพิเศษเพียงใด เจ้าตุ๊กแกส่วนใหญ่บนโลกนี้ก็กำลังอยู่ในภาวะใกล้จะสูญพันธุ์เพราะต้องสูญเสียถิ่นที่อยู่จากการรุกรานของมนุษย์นั่นเอง

นิทรรศการมหัศจรรย์สายพันธุ์ตุ๊กแก ที่กรุงวอชิงตันจะยังคงจัดต่อเนื่องข้ามปีไปจนถึงต้นเดือนมกราคมนี้

XS
SM
MD
LG