ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักศึกษาต่างชาติเจอการเเข่งขันสูงในการสอบเรียนต่อแพทย์ในสหรัฐฯ


Foreign Medical Students Talk About Challenges in US
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:06 0:00

Foreign Medical Students Talk About Challenges in US

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:59 0:00

แพทย์หญิง Fatima Ismail อายุ 32 ปี เติบโตในดูไบและอยากเป็นหมอมาตั้งแต่เล็กๆ เธอบอกว่าตนเองสนใจเรียนรู้การทำงานของสมองมาตลอด และรักที่จะทำงานที่เกี่ยวข้องกับเด็ก

ในตะวันออกกลางและในประเทศบ้านเกิดที่ดูไบ มีประชากรเด็กจำนวนมากที่มีความบกพร่องด้านพัฒนาการและไม่ได้รับการดูแลที่ดี

หลังจากเรียนจบด้านการเเพทย์จากประเทศบ้านเกิด เธอได้สมัครขอฝึกงานที่มหาวิทยาลัย Johns Hopkins ในเมือง Baltimore รัฐเเมรี่เเลนด์ ที่เธอเคยเป็นนักศึกษาเเลกเปลี่ยนตอนที่ยังเป็นนักศึกษาเเพทย์

แพทย์หญิง Fatima เป็นหนึ่งในกลุ่มนักศึกษาต่างชาติที่กำลังศึกษาวิชาการแพทย์ในสหรัฐฯ ในขณะนี้ เพื่อนๆ หลายคนบอกเธอว่า กว่าจะได้เข้าเรียน ได้ส่งใบสมัครไปมากสิบกว่าสถาบัน

แพทย์หญิง Fatima กล่าวว่าระดับการเเข่งขันสูงมากยิ่งเป็นนักศึกษาต่างชาติด้วยเเล้วเพราะมหาวิทยาลัยต่างๆ จะให้ความสำคัญกับผู้สมัครชาวอเมริกันก่อนเป็นอันดับเเรก แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เธอบอกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องวางเเผนล่วงหน้า

Paul White ผู้อำนวยการฝ่ายการรับนักศึกษาภาควิชาการเเพทย์ที่มหาวิทยาลัย Johns Hopkins กล่าวว่า การวางเเผนเป็นหัวใจสำคัญสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่ต้องการเรียนต่อด้านการแพทย์ในสหรัฐฯ แม้ว่าวุฒิการศึกษาจากประเทศบ้านเกิดจะช่วยให้สมัครเข้าเรียนในสหรัฐฯ ได้ แต่ภาควิชาการแพทย์ในหลายมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ มักกำหนดว่านักศึกษาต่างชาติจะต้องผ่านการเรียนในสหรัฐฯ มาก่อนหน้าที่จะสมัครเข้าเรียน

Paul White กล่าวว่า ทางภาควิชาการเเพทย์ของมหาวิทยาลัยต้องการกำหนดให้นักศึกษาต่างชาติเรียน coursework เพิ่มเติมมาเเล้วอย่างน้อย 1 ปีในสหรัฐฯ เพื่อดูว่าเป็น coursework ประเภทใดที่นักศึกษามีความสามารถพอที่จะลงเรียนได้ และเรียนได้ดีแค่ไหน

และเเน่นอนว่าหากนักศึกษาเรียนได้ดีในสหรัฐฯ และทำคะเเนนข้อสอบเข้าได้ดี นักศึกษาก็จะผ่านการคัดเลือก

Karum Arora ชาวอินเดียเป็นนักศึกษาการแพทย์ปีที่สี่ด้านจักษุวิทยา เขาผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนในภาควิชาการเเพทย์ที่มหาวิทยาลัย Johns Hopkins เพราะเข้าเรียนระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเเห่งนี้มาก่อน และยังเรียนจบหลักสูตรการวิจัยทางคลินิกที่ต้องเรียนสองปีอีกด้วย

Karum Arora กล่าวว่าไม่รู้จะหาคำพูดใดมาสาธยายคุณความดีของอาจารย์ปรึกษาหลายคนที่มหาวิทยาลัย Johns Hopkins ที่ช่วยเหลือและให้คำแนะนำในช่วงสองปีที่เรียนการวิจัย นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนเขาให้สมัครเข้าเรียนในภาควิชาการเเพทย์จนได้ และยังช่วยให้คำปรึกษาการทำโครงการต่างๆ เกี่ยวกับจักษุวิทยา และตอนนี้ก็กำลังหนุนให้เขาสมัครฝึกงานต่ออีกด้วย

บรรดาผู้บริหารมหาวิทยาลัยเเนะว่า นักศึกษาต่างชาติควรสมัครขอฝึกงานในสหรัฐฯ หลังเรียนจบปริญญาตรีด้านการเเพทย์ในประเทศบ้านเกิด หรือให้มาเรียนด้านการแพทย์ในระดับปริญญาตรีที่สหรัฐฯ เพราะเเม้เเต่ผู้สมัครที่มีเพียบพร้อมมากที่สุดยังเจอกับการเเข่งขันที่สูงมากกว่าจะได้เป็นเเพทย์ในสหรัฐฯ

(รายงานโดย Linda Ringe / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)

XS
SM
MD
LG