ลิ้งค์เชื่อมต่อ

คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์... กับอาการนอนไม่หลับเพราะแปลกที่หรือ “First Night Effect”


sleep
sleep

นักวิทยาศาสตร์เรียกอาการนอนไม่ค่อยหลับหรือหลับๆตื่นๆ เวลาเราเปลี่ยนสถานที่นอนว่า “First Night Effect” หรืออิทธิพลของคืนแรก

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:47 0:00
Direct link

งานวิจัยจาก Brown University ในสหรัฐฯ มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอาการนอนไม่หลับ หรือหลับไม่เต็มตื่น สำหรับคืนแรกในสถานที่ที่ไม่คุ้นชิน ดังที่หลายคนเรียกกันว่า “อาการแปลกที่”

โดยนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามหาคำอธิบาย และพบว่าคำตอบอาจอยู่ในสมองของเรานี่เอง

ในรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Biology นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองเพื่อตรวจสอบการทำงานของสมองของกลุ่มตัวอย่าง 35 คน ซึ่งต้องมานอนค้างที่ห้องทดลองเป็นเวลา 2 คืน

นักวิจัยพบว่าในคืนแรก สมองซีกซ้ายของกลุ่มตัวอย่างมีการตื่นตัวมากกว่าสมองซีกขวา ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าเป็นเพราะสมองซีกซ้ายต้องทำหน้าที่คอยระแวดระวังภัยในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะในช่วงที่หลับลึกหรือที่เรียกว่า Slow-wave ซึ่งทำให้ตื่นขึ้นมาได้ง่ายเมื่อมีอะไรมากระตุ้น นำไปสู่อาการหลับๆตื่นๆตลอดทั้งคืน

แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่พบความแตกต่างของสมองซีกซ้ายและซีกขวา ในคืนที่สองของการนอนแปลกที่

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์จะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปก็คือ สมองซีกซ้ายส่วนที่ตื่นตัวตลอดในคืนแรกนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรระหว่างการหลับในช่วงต่างๆ นอกเหนือจากช่วง Slow-wave และสมองซีกขวาได้เข้าช่วยทำหน้าที่เฝ้าระวังในช่วงไหนแทนบ้างหรือไม่

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นชิ้นแรกๆ ที่พยายามหาคำอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ต่ออาการที่เรียกว่า “First Night Effect” หรือ อิทธิพลของคืนแรก นอกเหนือไปจากความเชื่อที่ว่าเป็นอาการแปลกที่แปลกถิ่น

XS
SM
MD
LG