ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ชาติกำลังพัฒนาบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นมาก


สถาบัน Worldwatch เตือนว่าหากไม่มีมาตราการควบคุมความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ที่สูงขึ้นจะเกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์

สถาบัน Worldwatch ชี้ว่าทั้งปริมาณการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ในประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงอย่างมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

คุณแดนนีเอล เนเร็นเบริ์ก ผู้อำนวยการโครงการ Planet แห่งสถาบัน Worldwatch เป็นผู้ร่วมเขียนรายงานเกี่ยวกับประชากรสัตว์ในฟาร์หม กล่าวว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา จำนวนสัตว์ในฟาร์หมจำพวกปศุสัตว์ หมู แกะ แพะ รวมถึงสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นราว23 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านตัวทั่วโลก

คุณเนเร็นเบริ์ก ชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมืองและการมีรายได้มากขึ้นเป็นสองสาเหตุที่ทำให้การผลิตและการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา การบริโภคในกลุ่มชนชั้นกลางใน จีน อินเดีย และ บราซิล เพิ่มสูงขึ้น เมื่อคนมีรายได้มากขึ้น พวกเขาจะหาซื้ออาหารที่มีคุณภาพ ซื้อนม เนยแข็งและเนื้อมากขึ้น

ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์นำไปสู่การเลี้ยงสัตว์ในฟาร์หมขนาดใหญ่ที่เรียกกันว่าโรงงานฟาร์หม มีจำนวนสัตว์ในฟาร์หมหลายหมื่นตัวถูกขังรวมกันไว้ในโรงเลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ โรงงานฟาร์หมเป็นแนวคิดที่เริ่มในสหรัฐและยุโรปเมื่อห้าสิบถึงหกสิบปีก่อน การเีลี้ยงสัตว์แนวนี้จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรมหาศาล

คุณเนเร็นเบริ์กกล่าวว่าโรงงานเลี้ยงสัตว์ต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากถ่านหินและน้ำมันในการทำความอุ่นและในการปรับความเย็นภายในโรงเลี้ยงสัตว์ ต้องใช้ถั่วเหลืองและข้าวโพดปริมาณมหาศาลเป็นอาหารสัตว์ ต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันโรคในสัตว์เลี้ยงที่ป่วยได้ง่ายเพราะความแออัดและความสกปรกในโรงเลี้ยง

สถาบัน Worldwatch ชี้ว่าโรงงานเลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ยังสร้างของเสียปริมาณมหาศาลที่อาจสร้างมลพิษต่อแหล่งน้ำใต้ดิน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์สร้างแก้สเรือนกระจกถึงสิบแปดเปอร์เซ็นต์จากทั้งหมดโดยเฉพาะแก้สมีเทน

นอกจากนี้ยังกังวลกันว่า ฟาร์มเลี้ยงสัตว์นิยมเลี้ยงวัวควายบางสายพันธุืเท่านั้นทำให้วัวควายสายพันธุ์ดั้งเดิมสูญพันธุ์ แม้ว่าปศุสัตว์พันธุ์พื้นเมืองสามารถทนทานต่อความร้อน ความแห้งแล้งและภาวะโลกร้อนได้ดีกว่าก็ตาม

รายงานของ Worldwatch ชี้ว่า ในขณะที่ชาติกำลังพัฒนารับประทานเนื้อกันมากขึ้น ความต้องการเนื้อสัตว์ในประเทศพัฒนาแล้วกลับไม่เพิ่มขึ้นและลดลงในหลายประเทศอุตสาหกรรม อาจเป็นเพราะว่าคนมีความตื่นตัวมากขึ้นต่อปัญหาสุขภาพจากการบริโภคเนื้อแดงและไขมันสัตว์ โดยเห็นว่า ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและมะเร็งบางชนิด มีผลการศึกษาตีพิมพ์ในวารสาร Archives of Internal Medicine ที่สรุปว่า การรับประทานเนื้อสัตว์สี่ขาเช่น เนื้อวัว หมูและแกะ สร้างความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเป็นโรคหัวใจและมะเร็ง

การลงทุนในภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นตั้งแต่เกิดภาวะวิกฤติทางอาหารเมื่อช่วงห้าถึงหกปีก่อน และคาดว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นจากเจ็ดพันล้านคนไปอยู่ที่เก้าพันล้านคนภายในอีกสามสิบแปดปี

คุณเนเร็นเบริ์กกล่าวปิดท้านรายงานของผู้สื่อข่าววีโอเอว่าการเกษตรกรรมไม่ควรเป็นแค่การเพิ่มปริมาณอาหารอย่างเดียว แต่ควรเป็นระบบที่ดูแลทั้งมนุษย์และโลกไปพร้อมๆกัน ช่วยชาวบ้านสร้างรายได้ เป็นทั้งผู้ผลิตและเป็นผู้บริโภค ไม่ขึ้นกับการผลิตแบบโรงงานหรือการทำร้ายสัตว์

XS
SM
MD
LG