ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การค้ายาปลอมทั่วโลกมีมูลค่ากว่าสามหมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ


รายงานของธนาคารโลกและหน่วยงานสาธารณสุขระดับนานาชาติเปิดเผยว่าราว 40 เปอร์เซ็นต์ของยารักษาโรคที่ขายในหลายๆประเทศในทวีปอาฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าและหลายประเทศในทวีปอเมริกาใต้เป็นยาปลอมหรือไม่ก็เป็นยาไม่ได้ด้อยมาตราฐาน และผู้เชี่ยวชาญหลายคนกล่าวว่าการใช้ยาด้อยมาตราฐานหรือยาคุณภาพต่ำมักนำไปสู่การล้มเหลวในการบำบัดรักษาผู้ป่วยและนำไปสู่การเสียชีวิต

บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานด้านการหยุดยั้งการค้าขายยาปลอม ได้จัดประชุมกันที่กรุงวอชิงตันเมื่อเร็วๆนี้เพื่อระดมสมองเรื่องการหาทางแก้ปัญหาด้วยการใช้มาตราการทางกฏหมาย คุณหลุยส์ เชลลี่ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมและผู้อำนวยการของศูนย์การก่อการร้าย อาชญากรรมและคอรัปชั่นข้ามชาติ ที่มหาวิทยาลัย George Mason ในรัฐเวอร์จีเนีย กล่าวกบผู้สื่อข่าววีโอเอว่า ทางการทั่วโลกเน้นปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติดมากกว่าการปราบปรามการค้าขายยาปลอมและยาด้อยมาตราฐาน ทั้งๆที่ยาปลอมเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคมากกว่าการใช้สารเสพติด

คุณเชลลี่กล่าวว่ากลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติจำนวนมากอยู่เบื้องหลังการผลิตและการจำแนกแจกจ่ายยารักษษโรคที่ไม่ได้มาตราฐาน การปรามปรามที่ได้ผลจำเป็นต้องมีความร่วมมือกันระดับนานาชาติ ผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันกล่าวว่าองค์การอนามัยโลก หน่วยงานบังคับใช้กฏหมาย และหน่ิวยงานพิทักษฺผู้บริโภค กลุ่มทางสังคม ล้วนมีบทบาทในการแก้ปัญหาเรื่องนี้

ทางด้านด็อกเตอร์มาร์กาเร็ท ฮัมเบริ์ก ผู้อำนวยการสำนักงานอาหารและยาแห่งสหรัฐที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยของยาและผลิตภัณฑ์อาหารที่ขายในตลาดอเมริกัน กล่าวว่า เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สำนักงานอาหารและยาสหรัฐได้จัดการกับบริษัทขายยาทางออนไลน์หลายพันบริษัทที่ขายผลิตภัณฑ์ยาผิดกฏหมาย

ด็อกเตอร์ฮัมเบริ์ก กล่าวว่า ผู้บริโภคไม่ได้รับการรับประกันในเรื่องความปลอดภัย ประสิทธิภาพหรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยาด้อยคุณภาพที่ขายทางออนไลน์

ด็อกเตอร์แพทริก ลุคคัลเล่ย์ แห่งสำนักงาน United States Pharmacopeia หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบในการตั้งระดับมาตราฐานของยารักษาโรค กล่าวว่า การควบคุมคุณภาพของยาต้องการความร่วมมือระดับนานาชาติเพราะส่วนประกอบของยามาจากหลายส่วนของโลก เจ้าหน้าที่อเมริกันกล่าวว่าในสหรัฐ ราว 80 เปอร์เซ็นต์ของส่วนประกอบของยา นำเข้าจากทั้งอินเดียและจีน ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตยาอเมริกันล้วนมีความเสี่ยงในเรื่องนี้ทั้งนั้น

ทางด้านคุณแอนเดรียส์ ซีทเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบริษัททั่วโลกแห่งธนาคารโลกกล่าวว่าหลายๆประเทศจำเป็นต้องปรับปรุงกฏระเบียบที่ใช้ควบคุมการผลิตและการค้ายา เขากล่าวว่าในอินเดีย มีบริษัทผลิตยาถึงหนึ่งหมื่นบริษัท แม้ว่าหน่วยงานควบคุมยาจะพยายามมากขึ้น การตรวจสอบและควบคุมทำได้ยาก

ด้านคุณไมเคิ่ล เบทส์แห่งองค์การอนามัยโลกชี้ว่าไม่เฉพาะผู้บริโภคเท่านั้นที่รู้ไม่เท่าทันเรื่องยาปลอม เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวนมากก็ขาดความรู้เรื่องยาปลอมเช่นกัน เขากล่าวว่าการค้าขายยาระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ทุกฝ่ายต้องเสาะหาข้อมูลให้มากขึ้นเพื่อให้เข้าใจถึงระดับปัญหา อันตรายและผลเสียต่อเศรษฐกิจที่เกิดจากการผลิตและค้ายาปลอมและยาด้อยมาตราฐานเพื่อช่วยชักจูงให้ผู้ร่างนโยบายออกมาจัดการกับปัญหานี้
XS
SM
MD
LG