ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อังกฤษจะลงประชามติว่าจะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อหรือไม่เดือนมิถุนายนนี้


British Prime Minister David Cameron, right, speaks with Italian Prime Minister Matteo Renzi, left, during a meeting on the sidelines of an EU summit in Brussels, Feb. 19, 2016.
British Prime Minister David Cameron, right, speaks with Italian Prime Minister Matteo Renzi, left, during a meeting on the sidelines of an EU summit in Brussels, Feb. 19, 2016.

ผู้ที่ไม่เห็นด้วยมองว่าอังกฤษจะถูกกระทบจากเศรษฐกิจของ EU ที่ยังมีปัญหา

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:39 0:00
Direct link

นายกรัฐมนตรี David Cameron ของอังกฤษกำหนดวันลงประชามติว่าอังกฤษจะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อหรือไม่ วันที่ 23 มิถุนายน

ผู้นำอังกฤษกล่าวในครั้งนี้ด้วยว่า อังกฤษจะปลอดภัยและเป็นชาติที่แข็งแกร่งขึ้นถ้าอังกฤษยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ
เขาบอกว่าหากชาวอังกฤษเห็นว่าประเทศควรเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไป ตนจะพยายามผลักดันให้เกิดการปฏิรูปต่อเนื่อง

นายกรัฐมนตรีเดวิด แคเมอรอน บรรลุข้อตกลงกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ อีก 27 ประเทศ เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อที่จะรักษาสถานภาพพิเศษของอังกฤษให้คงอยู่ต่อไปภายใต้เงื่อนไขการเป็นสมาชิก EU

British Prime Minister David Cameron, center left, talks during the round table meeting of European Union heads of state and government at an EU summit in Brussels, Feb. 19, 2016.
British Prime Minister David Cameron, center left, talks during the round table meeting of European Union heads of state and government at an EU summit in Brussels, Feb. 19, 2016.

ความตกลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากการเจรจายาวนานสองวันที่การประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปที่บรัสเซลส์ โดยผู้นำประเทศในยุโรปรายอื่นๆ ยอมรับข้อเรียกร้องของอังกฤษ ซึ่งรวมถึงสิทธิ์การจำกัดสวัสดิการและการดูแลลูกจ้างสำหรับประชาชนจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ ที่เข้ามาทำงานในอังกฤษ

นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีแคเมอรอนยังสามารถทำให้ประเทศสมาชิก EU อื่นๆ ยอมรับว่า อังกฤษจำไม่ผูกพันกับการถูกลงโทษใดๆ จากการใช้เงินสกุลปอนด์สเตอร์ลิงต่อไป แทนที่จะเงินยูโรเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ

อีกประการหนึ่ง อังกฤษไม่ต้องดำเนินการบูรณาการเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปมากขึ้น ผู้สันทัดกรณีกล่าวด้วยว่า ความตกลงครั้งนี้น่าจะช่วยรักษาบทบาทของกรุงลอนดอนให้เป็นศูนย์กลางการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกต่อไปด้วย

แม้ว่าในตอนแรก ผู้นำประเทศ EU บางรายไม่เห็นด้วยกับการที่อังกฤษสามารถจำกัดสวัสดิการสำหรับแรงงานจากประชาชนของประเทศอื่นที่เข้ามาทำงานในอังกฤษ แต่ไม่มีประเทศใดที่อยากเห็นอังกฤษยุติการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

ที่เป็นเช่นนั้นก็น่าจะมาจากการเห็นความสำคัญของอังกฤษในด้านการทหารและเศรษฐกิจ
หลังจากที่นายกรัฐมนตรี เดวิด แคเมอรอนสามารถตกลงเงื่อนไขเหล่านี้ได้กับประเทศอื่นๆ และได้กำหนดวันที่ชาวอังกฤษจะลงประชามติว่าต้องการให้ประเทศของตนเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไปหรือไม่ โดยการประชุมมีข้อสรุปว่าการลงประชามติดังกล่าวจะเกิดขึ้นในวันที่ 23 มิถุนายน

นายกรัฐมนตรี แคเมอรอนกล่าวว่า ตนเห็นว่าอังกฤษ จะแข็งแกร่งขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น ภายใต้กลุ่มสหภาพยุโรปที่มีการปฏิรูป และนั่นเป็นเหตุผลที่ตนจะยังคงรณรงค์ด้วยความมุ่งมั่น ให้ชาวอังกฤษเห็นถึงข้อดีของการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไป

อย่างไรก็ตามยังมีคนจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองแนวอนุรักษ์นิยม ที่ต้องการให้ชาวอังกฤษเลือกที่จะถอนตัวจากสหภาพยุโรป เนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจเป็นหลัก พวกเขาเห็นว่ากฎหมายอื่นๆ ของสหภาพยุโรปเช่นเรื่อง คนเข้าเมืองและการลงโทษอาชญากรมีบทบาทเหนือกฎหมายของอังกฤษ

Pam Watts ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปกล่าวว่า ความตกลงที่เกิดขึ้นระหว่างนายกรัฐมนตรีแคเมอรอน และผู้นำประเทศ EU คนอื่นๆ ไม่ถือว่ามีผลอะไรต่อความคิดของเธอ

เธอกล่าวว่าฝ่ายของเธอจะยังคงรณรงค์อย่างแข็งขันให้ประชาชนต่อต้านการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เธอเห็นว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นทางประชาธิปไตยที่สะท้อนการต่อสู้ของประชาชนกับข้าราชการ กลุ่มธุรกิจและกลุ่มทุน

ส่วน Dominic Spencer ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอีกคนหนึ่งกล่าวว่า ตนหวังว่าความเห็นของพวกตนจะได้รับการพิจารณา

เขาหวังว่าในที่สุดแล้ว ชาวอังกฤษจะเลือกให้ประเทศของตนถอนตัวจากสหภาพยุโรป และเห็นภาพชัดเจนว่าการเจรจาของนายกรัฐมนตรีแคเมอรอนครั้งล่าสุดกับ EU เป็นเพียงเกมส์ที่สร้างขึ้นมาทำให้ประชาชนไขว้เขว

(รายงานโดย Kenneth Schwartz / เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)

XS
SM
MD
LG