ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อาสาสมัครวิศวกรรมชีวการแพทย์เรียนรู้ปัญหาการใช้อุปกรณ์ทันสมัยในประเทศโลกที่สาม


Saved from the brink of extinction, the American alligator now thrives in its native habitat: the swamps and wetlands of the southeastern United States. (Courtesy Mark Glass)
Saved from the brink of extinction, the American alligator now thrives in its native habitat: the swamps and wetlands of the southeastern United States. (Courtesy Mark Glass)

ในขณะที่เทคโนยีการแพทย์ในประเทศตะวันตกก้าวหน้าไปไกล ประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนมักมีปัญหาในการนำอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยเหล่านี้ไปใช้ และองค์การที่ไม่แสวงผลกำไรชื่อ Engineering World Health ซึ่งส่งอาสาสมัครออกไปทำงานตามประเทศที่ยากจนได้พบว่า ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการมีอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมของการใช้งาน และค่าใช้จ่ายสูงในการบำรุงรักษา เช่นระดับแรงดันไฟฟ้าที่ต่างกัน และปัญหาความไม่แน่นอนของพลังงานไฟฟ้าเป็นต้น

ตัวอย่างเช่นอาสาสมัครขององค์การนี้ที่ออกไปทำงานในแทนซาเนียได้พบปัญหาไฟฟ้าที่ติดๆ ดับๆ ซึ่งทำให้บางครั้งศัลยแพทย์ต้องหยุดการผ่าตัดกลางคัน และน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองก็มีราคาสูงเกินไป ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาของอาสาสมัครกลุ่มนี้คือการนำแบตเตอรี่เก่าของรถยนต์มาสร้างแหล่งพลังงานสำรองเพื่อรองรับอุปกรณ์ และการทำงานของแพทย์ และนับเป็นตัวอย่างหนึ่งของการผสมผสาน ระหว่างความรู้ของวิศวกรชีวการแพทย์จากประเทศตะวันตก กับประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในประเทศกำลังพัฒนา

XS
SM
MD
LG