ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ปะการังเขตร้อนมีสารธรรมชาติที่อาจนำมาทำเป็นยาป้องกันรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากแสงแดดได้


ปะการังเขตร้อนมีสารธรรมชาติที่อาจนำมาทำเป็นยาป้องกันรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากแสงแดดได้
ปะการังเขตร้อนมีสารธรรมชาติที่อาจนำมาทำเป็นยาป้องกันรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากแสงแดดได้

นักวิทยาศาสตร์อังกฤษ ที่ศึกษาปะการังจากแนวปะการังใหญ่ Great Barrier Reef นอกฝั่งรัฐควีนสแลนด์ของออสเตรเลีย พบว่า ปะการังในบริเวณนั้น ซึ่งเป็นปะการังเขตร้อน มีสารประกอบที่มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสี ultraviolet และสักวันหนึ่งอาจนำมาใช้ในการพัฒนายาเม็ดคุณภาพสูงสำหรับป้องกันตาและผิวหนังให้พ้นอันตรายจากแสงแดดได้

นักวิทยาศาสตร์อังกฤษ ที่ศึกษาปะการังจากแนวปะการังใหญ่ Great Barrier Reef นอกฝั่งรัฐควีนสแลนด์ของออสเตรเลีย พบว่า ปะการังในบริเวณนั้น ซึ่งเป็นปะการังเขตร้อน มีสารประกอบที่มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสี ultraviolet และสักวันหนึ่งอาจนำมาใช้ในการพัฒนายาเม็ดคุณภาพสูงสำหรับป้องกันตาและผิวหนังให้พ้นอันตรายจากแสงแดดได้

ปะการังเป็นสัตว์ชั้นต่ำชนิดหนึ่ง ซึ่งมีชีวิตอยู่แบบอาศัยซึ่งกันและกันกับสาหร่ายทะเลเซลเดียวซึ่งเป็นพืชชั้นต่ำ ปะการังได้อาหารจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายทะเล และสาหร่ายทะเลได้อาศัยของเสียจากปะการังมาใช้ในการสังเคราะห์แสงหมุนเวียนเป็นวงจร และด้วยเหตุที่การสังเคราะห์แสงต้องมีแสงแดด ปะการังจะก่อตัวอยู่ในบริเวณน้ำตื้นพอที่แสงอาทิตย์จะส่องถึง ซึ่งหมายความว่า ปะการังจะถูกแดดแผดเผา

นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่า ปะการังและสาหร่ายทะเลบางอย่างสามารถป้องกันตัวเองจากรังสีอุลตราไวโอเล็ท ในสภาพภูมิอากาศเขตร้อนได้ดีโดยการผลิตสารกันแดดขึ้นมาเอง แต่ไม่ทราบว่า กระบวนการนั้นเป็นไปอย่างไร

สถาบัน Biotechnology and Biological Science Research Council ให้ทุนแก่คณะนักวิทยาศาสตร์ที่ King’s College ในกรุงลอนดอน ทำงานศึกษาวิจัยเรื่องนี้ โดยร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลของออสเตรเลีย และมหาวิทยาลัย Maine ในสหรัฐ การศึกษานั้นพบว่า สาหร่ายทะเลเซลเดียวที่อาศัยอยู่ในปะการัง สร้างสารประกอบบางอย่างขึ้นมา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า สารประกอบนั้นถูกส่งไปยังปะการัง แล้วมีกระบวนการบางอย่างที่ทำให้สารนั้น มีคุณสมบัติในการป้องกันอันตรายจากรังสีอุลตราไวโอเล็ทในแสงแดด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งปะการังและสาหร่ายทะเลที่มีชีวิตอยู่อย่างอาศัยกันและกันนักวิทยาศาสตร์พบด้วยว่า สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังก็ได้รับประโยชน์จากการป้องกันดังกล่าวไปตาม ๆ กัน ตามกระบวนการปลาใหญ่กินปลาเล็กต่อ ๆ กันเป็นลูกโซ่ไปด้วย

ผลประโยชน์ด้านการป้องกันอันตรายจากรังสีอุลตราไวโอเล็ท ที่ส่งต่อถึงกันเป็นลูกโซ่ในวงจรอาหารของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังนั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หากสามารถศึกษาทราบได้แน่ชัดเกี่ยวกับกระบวนการนั้น ก็จะสามารถพัฒนารูปแบบตามอย่างขึ้นมาได้ในห้องทดลอง และจะเป็นช่องทางในการพัฒนาสารประกอบที่จะนำมาทำเป็นยาป้องกันรังสีอุลตราไวโอเล็ทในลักษณะต่าง ๆ ได้ต่อไป หากทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี ก็อาจนำมาทดลองได้ในเวลา 2 ปี และมียาใหม่ ๆ สำหรับป้องกันรังสีอุลตราไวโอเล็ทออกมาให้ได้ใช้กันในอีกราว 5 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำตัญที่นักวิทยาศาสตร์จะต้องคำนึงถึงคือ คุณสมบัติของสารดังกล่าวในการป้องกันรังสีอุลตราไวโอเล็ทจะมีผลอย่างไรหรือไม่ต่อการผลิตวิตามินดีของร่างกายคนเราซึ่งต้องอาศัยแสงแดด การป้องกันมากเกินไปไม่ให้ร่างกายได้รับแสงแดด อาจทำให้ร่างกายขาดวิตามินดี ซึ่งจะมีผลให้กระดูกอ่อนแอลงได้

XS
SM
MD
LG