ลิ้งค์เชื่อมต่อ

"การทดลองนิวเคลียร์ครั้งใหม่ของเกาหลีเหนือ" บททดสอบครั้งสำคัญความสัมพันธ์ 'จีน - สหรัฐฯ'


please wait

No media source currently available

0:00 0:03:51 0:00

สื่อของทางการจีนต่างยกย่องว่า การพบหารือครั้งแรกของ ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ และ ปธน. สี จิ้นผิง ที่รัฐฟลอริด้า ถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของความสัมพันธ์ จีน-สหรัฐฯ

แต่เพียงไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์หลังการพบหารือดังกล่าว ดูเหมือนการกระชับสัมพันธ์ที่ได้รับการยกย่องอย่างมากนี้ กำลังเผชิญบททดสอบครั้งใหญ่บทแรก นั่นคือ "การทดสอบนิวเคลียร์ครั้งใหม่ของเกาหลีเหนือ"

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กองเรือจู่โจมของกองทัพเรือสหรัฐฯ รวมทั้งเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Carl Vinson และเรือดำน้ำ ได้มุ่งหน้าไปยังคาบสมุทรเกาหลี ในปฏิบัติการที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ บอกว่าเป็นการเตรียมพร้อมในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินในภูมิภาคนี้

FILE - The USS Carl Vinson
FILE - The USS Carl Vinson

ในขณะเดียวกัน มีรายงานว่ารัฐบาลเกาหลีเหนืออาจเตรียมทดสอบนิวเคลียร์ครั้งใหม่ เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิดของผู้นำคิม อิล ซุง ผู้ก่อตั้งประเทศเกาหลีเหนือ และปู่ของผู้นำคิม จอง อึน

คุณ Alex Neill นักวิชาการด้านความมั่นคงแถบเอเชียแปซิฟิก ของ International Institute for Strategic Studies กล่าวว่า “เหตุการณ์นี้ถือเป็นบททดสอบครั้งใหญ่ที่สุดของความสัมพันธ์ สหรัฐฯ – จีน หลังการหารือของ ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ และ ปธน. สี จิ้นผิง ที่รัฐฟลอริด้า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว”

นักวิชาการผู้นี้บอกด้วยว่า ดูเหมือนกรณีนี้จะเป็นการทดสอบสำคัญสำหรับจีนมากกว่าสหรัฐฯ เพื่อยืนยันถึงความร่วมมือที่ผู้นำจีนได้รับปากกับผู้นำสหรัฐฯ ไว้ที่รัฐฟลอริด้า

ผู้นำทั้งสองประเทศยังได้สนทนาทางโทรศัพท์กันในวันพุธ ซึ่ง ปธน.ทรัมป์ ได้ทวีตข้อความในเวลาต่อมาว่า “ตนได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีจีน เรื่องภัยคุกคามล่าสุดจากเกาหลีเหนือแล้ว”

ก่อนหน้านี้ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ เคยกล่าวไว้ว่า หากจีนไม่ยื่นมือเข้าช่วยในเรื่องเกาหลีเหนือ สหรัฐฯ ก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะต้องลงมือเอง โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำหลายครั้งว่า ทางเลือกทุกอย่างยังอยู่ในการพิจารณา รวมทั้งการใช้มาตรการทางทหาร

และบอกด้วยว่า การโจมตีด้วยจรวดมิสไซล์ต่อซีเรียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือการส่งสัญญาณเตือนไปถึงรัฐบาลกรุงเปียงยางด้วย

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับเกาหลีเหนือ คือการใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น เพื่อกดดันให้เกาหลีเหนือล้มเลิกโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์

และชี้ว่าหากสหรัฐฯ ตัดสินใจโจมตีเกาหลีเหนือด้วยจรวดที่ยิงจากเรือรบของสหรัฐฯ เหมือนที่ทำกับซีเรีย จะเกิดหายนะตามมาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ด้านคุณ Oh Ei Sun แห่ง S. Rajaratnum School of International Studies ที่สิงคโปร์ เชื่อเช่นกันว่า การใช้กำลังทหารกับเกาหลีเหนือนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

นักวิชาการผู้นี้ชี้ว่ามีเป้าหมายมากมายเกินไปในเกาหลีเหนือ เช่น หากต้องการจะโจมตีพื้นที่ทดสอบโครงการนิวเคลียร์พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แล้วเกิดผิดพลาด แน่นอนว่าจะเกิดความวุ่นวายครั้งใหญ่ในภูมิภาคนี้

ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์บางคนชี้ว่าทางรัฐบาลจีนก็อาจกำลังเกลี้ยกล่อมให้สหรัฐฯ เจรจากับเกาหลีเหนือ โดยมีจีนเป็นคนกลาง ซึ่งเชื่อว่าอาจเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา

แต่ทั้ง Alex Neill แห่ง International Institute for Strategic Studies และ Oh Ei Sun แห่ง S. Rajaratnum School of International Studies ต่างเชื่อว่า ในที่สุดแล้วแนวทางที่จะถูกนำมาใช้ในการจัดการกับภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือนี้ คงไม่พ้นการลงโทษทางเศรษฐกิจที่เข้มงวดกว่าเดิม ทั้งในส่วนของสหประชาชาติ สหรัฐฯ และจีน

(ผู้สื่อข่าว Bill Ide รายงานจากกรุงปักกิ่ง / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG