ลิ้งค์เชื่อมต่อ

“พนมเปญโพสต์” กล่าวหานายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชาซื้อ Like บนเฟสบุ๊ค!


A person uses a smartphone to look at the Facebook page of Cambodia's Prime Minister Hun Sen, during breakfast at a restaurant in central Phnom Penh, Cambodia.
A person uses a smartphone to look at the Facebook page of Cambodia's Prime Minister Hun Sen, during breakfast at a restaurant in central Phnom Penh, Cambodia.

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนประกาศว่ายอด Like ของหน้าเฟสบุ๊คตนเองแตะระดับสามล้าน และความดังของตนบนโลกโซเชี่ยลมีเดียน่าจะทำให้เป็น “นายกรัฐมนตรีเฟสบุ๊ค” ได้

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:27 0:00
Direct link

สื่อ “พนมเปญโพสต์” กล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชา “ซื้อไล้ค์ (Like)” บนเฟสบุ๊ค ซึ่งโฆษกรัฐบาลปฏิเสธคำครหานี้ทันทีที่ตกเป็นข่าว

ไม่กี่วันก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีฮุนเซนประกาศว่ายอดไล้ค์ของหน้าเฟสบุ๊คตนเองแตะระดับสามล้านไล้ค์ และบอกด้วยว่าความดังของตนบนโลกโซเชี่ยลมีเดีย น่าจะทำให้เขาเป็น “นายกรัฐมนตรีเฟสบุ๊ค” ได้

สื่อ “พนมเปญโพสต์” ตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ที่ไลค์เหล่านั้นอาจได้มาจากการซื้อหรือไม่? หลังจากที่นายกฮุนเซนเพิ่งเปิด account เฟสบุ๊คเมื่อประมาณหกเดือนก่อน แต่ยอดคนเข้ามากดไล้ค์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนแซงหน้านายสม รังสีที่มีคนนิยมสองล้านสองแสนคน

ทั้งๆ ที่นายสม มี account เฟสบุ๊คมาแล้วอย่างน้อยห้าปี!

This screenshot of social media tracking site SocialBakers.com shows the largest 10 Facebook pages in Cambodia both in terms of local and global fan numbers, as of March 9, 2016. The Facebook page of Cambodian Prime Minister Hun Sen - which just crossed t
This screenshot of social media tracking site SocialBakers.com shows the largest 10 Facebook pages in Cambodia both in terms of local and global fan numbers, as of March 9, 2016. The Facebook page of Cambodian Prime Minister Hun Sen - which just crossed t

หนังสือพิมพ์ “พนมเปญโพสต์” อ้างข้อมูลวิเคราะห์จาก socialbacker.com ซึ่งชี้ว่า ในบรรดาผู้ไล้ค์หน้าเฟสบุ๊คของนายกฯฮุนเซน มีเพียงร้อยละ 20 ที่อยู่ในกัมพูชา

คนที่เข้ามาไล้ค์ส่วนมากเป็นคนที่อยู่ในประเทศที่ไม่น่าจะมีเหตุผลมากมายที่จะสนับสนุนผู้นำเขมร

“พนมเปญโพสต์” รายงานว่าไล้ค์จำนวนมากในช่วง 30 วันมาจากอินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า อินโดนีเซีย ตุรกี และ บางรายมาไกลจากเม็กซิโกก็มี

Chok Sopheap ผู้อำนวยการบริหารของศูนย์ Center for Human Rights ในกัมพูชากล่าวว่า ตนรู้สึกแปลกใจเมื่อเห็นรายงานข่าวนี้ และว่าประเด็นดังกล่าวตั้งคำถามถึงความโปร่งใสของฟังก์ชั่นไล้ค์ของเฟสบุ๊ค

เขากล่าวว่า ตนเชื่อว่านักการเมืองบางคนและสถาบันบางแห่งใช้เงินโฆษณาตนเองเพื่อเพิ่มความโด่งดัง

Chok Sopheap บอกด้วยว่าไม่ความใช้ความดังบนโลกโซเชี่ยลมีเดียมาวัดความนิยมของนักการเมือง แต่ควรดูถึงประสิทธิภาพในการทำงาน และเสริมว่าคนควรตระหนักว่าการได้ไล้ค์บนเฟสบุ๊คไม่ได้หมายความว่านักการเมืองได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากประชาชน

ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชี่ยลมีเดีย Nget Moses บอกกับวีโอเอภาคภาษาเขมรว่าฟังก์ชั่น “boost” ของเฟสบุ๊คที่เก็บเงินผู้ใช้ สามารถช่วยให้โพสต์เข้าถึงกลุ่มคนได้มากขึ้น แต่การซื้อไล้ค์โดยตรงทำไม่ได้

เขาบอกว่าหากทางการต้องการสร้างความโปร่งใสและตรวจสอบได้ รัฐบาลเขมรสามารถนำรายงานอย่างละเอียดของยอดไล้ค์มาเผยแพร่มาเผยแพร่ให้ประชาชนทราบได้

In this screenshot of social media tracking site SocialBakers.com, as of March 9, 2016, 11% or over 330,000 of the total (global) of over three million Facebook fans of Cambodian Prime Minister Hun Sen are based in India. (Web screenshot of SocialBakers.
In this screenshot of social media tracking site SocialBakers.com, as of March 9, 2016, 11% or over 330,000 of the total (global) of over three million Facebook fans of Cambodian Prime Minister Hun Sen are based in India. (Web screenshot of SocialBakers.

ทั้งนี้เคยมีข่าวก่อนหน้านี้ว่า ธุรกิจรับจ้างไล้ค์หรือที่เรียกว่า “ไล้ค์ฟาร์ม” เกิดขึ้นเป็นเงาตามตัวการใช้โซเชี่ยลมีเดียเพื่อเสริมความโด่งดังของบุคคลหรือสถาบัน “ไล้ค์ฟาร์ม” เหล่านี้รวมถึงการสร้าง account ปลอมโดยระบบคอมพิวเตอร์ และช่วยทำให้การ “boost” โพสต์บนเฟสบุ๊คดูได้ผลในเชิงตัวเลข

โฆษกพรรครัฐบาล Sok Eysan ปฏิเสธข้อครหาที่ว่า นายกรัฐมนตรีฮุนเซนปั่นจำนวนไล้ค์ให้สูงเกินจริง เขากล่าวว่ามีคนบอกว่ารัฐบาลจ้างให้คนมาไล้ค์หน้าเฟสบุ๊คของผู้นำ แต่หากดูความเป็นจริง ตนเห็นว่าการให้คนที่อยู่ในต่างประเทศเข้ามากดไล้ค์หน้าเฟสบุ๊คของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ไม่ได้สร้างประโยชน์ใดๆ จากการกระทำดังกล่าว

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนซึ่งอยู่ในอำนาจมากว่า 30 ปี ประกาศไม่นานนี้ให้ประชาชนทั่วไปสามารถเขียนร้องเรียนเรื่องต่างๆ หาตนได้โดยตรงบนเฟสบุ๊ค โดยนโยบายเชิงรุกบนโซเชี่ยลมีเดียนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในปีหน้า

(รายงานโดย Neou Vannarin วีโอเอภาคภาษาเขมร http://www.voacambodia.com​ / เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)

XS
SM
MD
LG