ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักประชากรวิทยาเตือนว่ากัมพูชาต้องเริ่มเตรียมตัวรับมือกับประชากรสูงวัยที่จะเพิ่มมากขึ้น


หมู่บ้านชำบักเป็นหมู่บ้านเล็กๆตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกัมพูชา ห่างจากกรุงพนมเปญเมืองหลวงไปราว 100 กิโลเมตรเท่านั้น แต่แม้จะไม่ไกลจากเมืองหลวงนัก แต่ยังด้อยพัฒนากว่าเหมือนกับอยู่กันคนละโลกทีเดียว คนในหมู่บ้านเพิ่งเริ่มมีไฟฟ้าใช้เมื่อปีที่แล้วนี่เอง

ไฟฟ้าแต่ไม่ใช่แค่ความเปลี่ยนแปลงอย่างเดียวที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านนี้เท่านั้น ขิม วุทธี เกิดและโตในหมูบ้านแห่งนี้ เขาเป็นหนึ่งในชาวหมู่บ้านชำบักสองคนเท่านั้นที่ได้รับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ตอนนี้เขาทำงานในกรุงพนมเปญ แต่มักเดินทางกลับหมู่บ้านบ่อยๆเท่าที่จะทำได้ ทุกครั้งที่เขากลับไปเยี่ยมหมู่บ้าน เขาจะพบเห็นจำนวนคนแก่ที่ยากจนหาเช้ากินค่ำเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

เขาบอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทุกครั้งที่เขากลับไปหมาบ้านของตนเอง เขาได้เห็นคนสูงอายุที่แก่ตัวมากขึ้นและอยู่ตามลำพังโดยเฉพาะคนที่ไม่มีครอบครัว คนสูงอายุเหล่านี้ต้องออกไปขอทาน

เช่นเดียวกันกรณีของป้าพริ้ง อ่ำ อายุ 67 ปี ลูกชายของป้าพริ้งย้ายไปอยู่ในกรุงพนมเปญ เขาไม่สามารถเลี้ยงดูแม่ของตนได้เพราะต้องเลี้ยงดูครอบครัวที่สมาชิกเพิ่มมากขึ้นด้วยเงินค่าแรงวันละไม่ถึงสองดอลล่าร์สหรัฐหรือน้อยกว่าหกสิบบาท ป้าพริ้งต้องกลับไปอยู่ที่หมู่บ้านเองตามลำพัง ไม่มีที่ดินทำกินและไร้งานทำ จึงต้องออกไปขอทานที่ถนนใหญ่

ป้าพริ้ง อ่ำ บอกว่ารู้สึกอายมากแต่ต้องจำใจขอทานเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด เป็นขอทานยังดีกว่าเป็นขโมย
เมื่อปีที่แล้ว ขิม วุทธิเปิดบ้านพักคนชราเป็นแห่งแรกในประเทสกัมพูชาที่หมูบ้านชำบักแห่งนี้ โดยตั้งชื่อว่า Cambodian Retirement Village บ้านพักหลังเกษียณอายุนี้เปิดรับคนสูงอายุอย่างป้าพริ้ง อ่ำ หนึ่งในห้าของผู้เข้าพักที่ครอบครัวไม่สามารถเลี้ยงดูได้

คุณขิม วุทธิบอกว่าตามวัฒนธรรมของคนกัมพูชา ลูกหลานจะดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่าแต่คนเดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปเพราะคนสมัยใหม่ออกไปหางานทำไกลบ้าน ไปอยู่ในเมือง และปล่อยให้คนแก่คนเฒ่าต้องอยู่ตามลำพัง

เมื่อประชากรสูงอายุรุ่นเดียวกับป้าพริ้ง อ่ำ แก่ตัวมากขึ้น สัดส่วนของจำนวนคนในวัยทำงานกับคนสูงอายุจะลดลง นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรที่กำลังเกิดขึ้นในหลายๆประเทศในทวีปเอเชีย สัดส่วนคนวัยทำงานกับประชากรสูงอายุเริมไม่สมดุลมากขึ้นและจะรุนแรงมากขึ้น
คุณแซ็คการี่ ซิมเม่อร์ นักประชากรวิทยาและนักสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัย University of California ใน San Francisco กล่าวว่าประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญกับการตัดสินใจทางนโยบายสำคัญๆหลายอย่างเพื่อสร้างหลักประกันทางสังคมให้แก่ประชากรของตน

ผู้เชี่ยวชาญอเมริกันกล่าวว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายหลายอย่างที่นอกจากจะช่วยให้คนสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่แล้ว ยังช่วยดูแลคนสูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้เลื่อนการเกษียณอายุออกไปเพื่อให้คนทำงานนานปีขึ้นรัฐบาลอาจจะต้องออกนโยบายใดใดขึ้นมาเพื่อช่วยอนุโลมให้คนหนุ่มสาวสามารถดูแลพ่อแม่ที่อายุมากขึ้นได้
แม้ว่ากัมพูชามีประชากรอายุเกิน 60 ปีแค่ 7 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมดในปัจจุบัน คาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 11 เปอร์เซ็นต์ภายในอีก 18 ปีข้างหน้า
XS
SM
MD
LG