ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การวิจัยใช้เลือดปลาฉลามรักษามะเร็งรุดหน้าในออสเตรเลีย


A Sand Tiger Shark swims in its aquarium, File November 9, 2010.
A Sand Tiger Shark swims in its aquarium, File November 9, 2010.

ทีมนักวิทยาศาสตร์ในออสเตรเลียที่ศึกษาคุณสมบัติของเลือดปลาฉลามในรักษาโรคมะเร็ง ได้รับเงินทุนสนุบสนุนก้อนโตจากบริษัทผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง

บริษัท Roche ผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่ให้เงินสนันสนุนแก่ทีมนักวิจัยออสเตรเลียเพื่อศึกษาคุณสมบัติของเลือดปลาฉลามต่ออีกหกเดือน ในช่วงหกเดือนนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ต้องพิสูจน์ว่าภูมิคุ้มกันในเลือดปลาฉลามสามารถต่อสู้กับเซลร้ายของโรคมะเร็งได้หรือไม่


นักวิจัยกล่าวว่า แอนติบอดี้ของปลาฉลามมีขนาดเล็กมาก ทำให้สามารถเกาะติดกับเซลที่เป็นเป้าหมายได้ดี ในการศึกษาทดลองครั้งก่อนหน้าที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินวิจัยส่วนหนึ่งจากมูลนิธิ Bill Gates Foundation นักวิจัยพบว่าแอนติบอดี้ของปลาฉลามมีประสิทธิภาพในการรักษามาเลเรีย

การวิจัยเรื่องนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อสิบปีที่แล้ว ทีมงานวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย La Trobe ได้สร้างคลังหลอดแก้วแห่งแรกในโลกที่เก็บแอนติบอดี้หลายล้านชนิดจากเลือดปลาฉลามที่คาดว่าสามารถใช้รักษามะเร็งและโรคอื่นๆ การทดลองรักษาในคนไข้มะเร็งเต้านมได้เริ่มต้นไปแล้ว และจะเดินหน้าต่อไปอย่างรวดเร็ว

รองศาสตราจารย์ มิค ฟอยเล่ อธิบายเงื่อนไขของเงินทุนสนุบสนุนจากบริษัทผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่นี้ว่า ทีมงานมีแอนติบอดี้จากเลือดปลาฉลามหลานพันล้านชนิด ทีมงานต้องค้นหาว่าแอนติบอดี้ตัวไหนในคลังที่สามารถระงับการแพร่กระจายของเซลมะเร็งได้ แล้วจะอนุญาติให้บริษัทเจ้าของทุนนำไปใช้ได้ แต่ทีมงานหวังว่า การศึกษานี้ยังจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมยาในวงกว้างด้วย

เขาบอกว่า การทดลองของทีมงานาอาจจะนำไปการค้นพบทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ยิ่งใหญ่

ศาสตราจารย์ฟอยเล่ กล่าวว่า ทีมงานกำลังค้นหาทางรักษาโรคต่างๆ อาทิ มะเร็งชนิดต่างๆ

เขาบอกว่า มีแอนติบอดี้หลายตัวที่ทีมงานกำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ และมีแอนติบอดี้อยู่ตัวหนึ่งที่ทีมงานทดสอบดูแล้วในห้องทดลองและพบว่าสามารถเกาะติดกับเซลมะเร็งเต้านมได้และระงับไม่ให้มะเร็งเต้านมแพร่กระจาย

ปลาฉลามมีระบบภููมิคุ้มกันในร่างกายที่คล้ายกับภูมิคุ้มกันของมนุษย์ แต่ตัวแอนติบอดี้ในเลือดปลาฉลามหรือตัวโมเลกุลที่เป็นตัวต่อสู้กับเชื้อโรคกลับแตกต่างจากแอนติบอดี้ในเลือดมนุษย์ และมีความสามาถในการฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็วมาก

นอกจากนี้ ทีมวิจัยในเมืองเมลเบิร์นยังเปิดเผยด้วยว่าแอนติบอดี้ของปลาฉลามสามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงมากได้ดี และทนต่อสภาพความเป็นกรดกับความเป็นด่างได้ดีอีกด้วย

XS
SM
MD
LG