ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เปรียบเทียบรถไฟ ญี่ปุ่น-จีน คู่แข่งโครงการรถไฟความเร็วสูงในเอเชีย


เปรียบเทียบรถไฟ ญี่ปุ่น-จุีน กับการลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูงในเอเชีย

นักวิเคราะห์ระบุว่าจีนได้เปรียบทางการเงินที่ลดแลกแจกแถมด้วยระบบการรถไฟและเงินกู้ ขณะที่ญี่ปุ่นขึ้นชื่อในด้านระบบการทำงานและความปลอดภัย

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:22 0:00
Direct link

จีนและญี่ปุ่นกำลังแสวงหาผลประโยชน์มหาศาลจากโครงการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงที่หลายประเทศในเอเชียให้ความสนใจ ขณะที่นักวิเคราะห์ระบุว่าจีนได้เปรียบทางการเงินที่ลดแลกแจกแถมด้วยระบบการรถไฟและเงินกู้ ขณะที่ญี่ปุ่นขึ้นชื่อในด้านระบบการทำงานและความปลอดภัย

ญี่ปุ่นมีระบบรถไฟความเร็วสูงมายาวนานหลายสิบปีนับตั้งแต่รถไฟชินกังเซ็นเริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2507 แต่ญี่ปุ่นก็ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนา นวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ

The Central Japan Railway Co.'s seven-car 'magnetic levitation' or maglev train returns to the station after setting a new world speed record in a test run near Mount Fuji, April 21, 2015.
The Central Japan Railway Co.'s seven-car 'magnetic levitation' or maglev train returns to the station after setting a new world speed record in a test run near Mount Fuji, April 21, 2015.

การทดสอบรถไฟพลังงานแม่เหล็กที่เพิ่งทำลายสถิติความเร็วที่สุดในโลกที่ 603 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อไม่นานมานี้ยืนยันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีรถไฟจากญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี

คุณ Richard Lawless ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโครงการรถไฟความเร็วสูง Texas Central Railroad มองว่าในในด้านเทคโนโลยีแล้วญี่ปุ่นมีความโดดเด่นอย่างไม่ต้องสงสัย เขาบอกด้วยว่า ในเรื่องเทคโนโลยี ประสบการณ์การเดินรถไฟ และความปลอดภัย นั้น ต้องยกให้ญี่ปุ่นที่มี่ความโดดเด่น ญี่ปุ่นไม่เคยมีประวัติไม่ดีเกี่ยวกับการเดินรถและระบบความปลอดภัย ซึ่งแน่นอนว่าญี่ปุ่นนั้นอยู่ในระดับเหนือมาตรฐานทั่วไปอย่างมาก

ขณะที่ระบบรถไฟความเร็วสูงของจีนนั้น แม้ว่าจะจีนเพิ่งเข้าสู่วงการธุรกิจนี้ได้ไม่นาน เมื่อปี ค.ศ.2007 แต่ในปัจจุบันสามารถคุยได้ว่าระบบรางรถไฟความเร็วสูงของจีนมีระยะทางรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก หรือราวๆ 23,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าจีนกำลังอยู่ในระหว่างเจรจากับ 15 ประเทศเพื่อเสนอขายเทคโนโลยีรถไฟของจีน

นอกจากนี้ สิ่งที่ทำให้จีนมีข้อได้เปรียบในการบุกตลาดรถไฟความเร็วสูงมากกว่าญี่ปุ่น คือ งบประมาณมหาศาลจากธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชียหรือ AIIB ซึ่งจีนเป็นผู้ก่อตั้ง ที่พร้อมจะเสนอเงินกู้ล่วงหน้าไปพร้อมๆ กับเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของจีนให้กับลูกค้าประเทศต่างๆ

คุณ Richard Lawless ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Texas Central Railroad บอกว่า ตลาดในประเทศจีนค่อนข้างจะยากแล้วในเรื่องรถไฟความเร็วสูง ดังนั้นจีนจึงพยายามมุ่งออกสู่ตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น

laos-thai-railway-phase2-site
laos-thai-railway-phase2-site

โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงของไทย มีแนวโน้มที่จะได้รับการสนับสนุนเม็ดเงินมหาศาลจากจีน โดยเฉพาะโครงการเส้นทางเชื่อมประเทศ ไทย – ลาว และนครคุนหมิง ในมณฑลยูนนานของจีน ระยะทางราว 1,200 กิโลเมตร ซึ่งจะเป็นเส้นทางสายเศรษฐกิจที่สามารถเชื่อมเมืองต่างๆ ทางตอนในของจีนไปออกทะเลที่อ่าวไทยได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชัย ศิวะโกศิษฐ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่าใครก็ตามที่เข้ามาพร้อมกับแหล่งเงินทุนและเงินกู้สำหรับการก่อสร้าง ก็จะมีโอกาสสูงที่จะได้เป็นผู้วางระบบรถไฟในเมืองไทย

ผู้สื่อข่าววีโอเอ รายงานว่า แม้ว่าจีนจะมีข้อได้เปรียบด้านเงินกู้ แต่บริษัทญี่ปุ่นน่าจะได้รับให้ไปดำเนินการเส้นทางรถไฟความเร็วสูงอีกสายหนึ่ง คือสายตะวันออกที่จะสามารถเชื่อม 3 ประเทศคือ พม่า กัมพูชา และเวียดนามได้ ซึ่งทั้ง 2 เส้นทางถือเป็นโครงการเม็กกะโปรเจคที่รัฐบาลไทยจะต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชัย ศิวะโกศิษฐ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มองว่าแม้คนไทยหลายคนอาจไม่อยากได้เส้นทางรถไฟ 2 สายนี้ แต่ก็มีเหตุผลอื่นที่เป็นแรงจูงใจที่ผลักดันให้โครงการนี้เกิดขึ้นให้ได้

ผู้สื่อข่าววีโอเอรายงานด้วยว่า ผลประโยชน์หลักที่จะได้รับของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ คือการที่จีนจะมีเส้นทางใหม่ที่สามารถขนส่งสินค้าจากจีนตอนใต้ออกสู่ทะเลได้รวดเร็วอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

laos-china-speed-train-model
laos-china-speed-train-model

ขณะที่เส้นทางสายตะวันออกนั้นจะช่วยกระตุ้นภาคเอกชนของญี่ปุ่นที่มีโรงงานจำนวนมากในแถบภาคตะวันออกให้ตัดสินใจดำเนินธุรกิจต่อไปในเมืองไทยมากกว่าจะถอนทุนไปยังประเทศอื่น ขณะเดียวกันเชื่อว่าระบบการคมนาคมทางรางความเร็วสูงสายนี้จะสามารถกระตุ้นนักลงทุนหน้าใหม่ให้มาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น

XS
SM
MD
LG