ลิ้งค์เชื่อมต่อ

งานประชุม Computer-Human Interface 2010 ที่นครแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย


งานประชุม Computer-Human Interface 2010 ที่นครแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย
งานประชุม Computer-Human Interface 2010 ที่นครแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย

เมื่อเร็วๆ นี้ ที่นครแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย มีการจัดงานประชุม Computer-Human Interface 2010 ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญราว 2,300 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือเรื่อง Computer-Human Interface หรือส่วนเชื่อมประสานระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ ผู้สื่อข่าว Philip Graitcer ส่งรายงานเรื่องนี้มาจากนครแอตแลนต้า

เมื่อเร็วๆ นี้ ที่นครแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย มีการจัดงานประชุม Computer-Human Interface 2010 ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญราว 2,300 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือเรื่อง Computer-Human Interface หรือส่วนเชื่อมประสานระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ ผู้สื่อข่าว Philip Graitcer ส่งรายงานเรื่องนี้มาจากนครแอตแลนต้า

หุ่นยนต์ไซม่อนซึ่งมีรูปร่างหน้าตาคล้ายมนุษย์ต่างดาว หัวกลมๆ หูใหญ่ๆ ตาโต และมีสมองเป็นคอมพิวเตอร์กำลังถูกฝึกให้ทำงานต่างๆ ตามที่นักวิจัยสั่ง เช่นทำความสะอาดหรือนำขยะไปทิ้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Andrea Thomaz แห่งมหาวิทยาลัย Georgia Tech ผู้ออกแบบหุ่นยนต์ไซม่อนบอกว่า การสอนไซม่อนนั้นง่ายกว่าสอนเด็กเล็กๆ ให้เก็บของเล่นเสียอีก ซึ่งนั่นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการนำหุ่นยนต์มาใช้งานในบ้านและสำนักงาน

แต่ปัญหาใหญ่ของหุ่นยนต์อย่างไซม่อนก็คือ ต้องสามารถปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากมนุษย์ที่อาจไม่ทราบเกี่ยวกับการเรียนรู้หรือการทำงานของหุ่นยนต์ตัวนั้นเลยก็ตามที่งานประชุม Computer-Human Interface หรือ Chi-ไค ปี 2010 ได้มีการหารือเกี่ยวกับการเชื่อมประสานระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ปัจจุบันมนุษย์ไม่ได้แค่ใช้งานหรือเล่นคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังอยู่ร่วมกับคอมพิวเตอร์ด้วย อย่างกรณีที่เห็นได้ชัดเจนคือหุ่นยนต์ไซม่อนที่กำลังจะถูกนำมาใช้ในสภาพแวดล้อมของมนุษย์ นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาหารือในการประชุมครั้งนี้ คือเรื่องระบบสัมผัส โดยเฉพาะการออกแบบแป้นพิมพ์สำหรับอุปกรณ์เทคโนโลยีขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ

Chris Harrison นักศึกษาปริญญาโทที่มหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ชี้ว่า เวลานี้ โทรศัพท์มือถือไม่สามารถย่อขนาดให้เล็กลงกว่าที่เป็นอยู่ได้แล้ว เพราะจะทำให้ใช้งานไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องคิดหาวิธีอื่นเพื่อทำให้แป้นพิมพ์ขนาดเล็กที่มีอยู่ ใช้งานได้ง่ายขึ้น คุณ Harrison จึงคิดค้นเทคโนโลยีที่เรียกว่า Skinput ขึ้นมา

การทำงานของ Skinput ก็คือผู้ใช้ต้องใส่ปลอกข้อมือที่มีตัวจับแรงสั่นสะเทือน 10 ชิ้นติดตั้งอยู่ภายใน ซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายไมโครโฟนที่คอยฟังเสียงภายในร่างกาย และเมื่อผู้ใช้เคาะนิ้ว ก็จะมีสัญญาณคลื่นปรากฎบนจอมอนิเตอร์ จากนั้นจึงมีการจำแนกและเรียนรู้คลื่นเหล่านั้นออกมาตามนิ้วแต่ละนิ้ว

นิ้วแต่ละนิ้วจะถูกกำหนดหรือตั้งค่าการทำงานไว้แตกต่างกันไป การเคาะนิ้วแต่ละนิ้วจึงให้ความหมายต่างกัน เช่น นิ้วกลางอาจหมายถึงการกดหมายเลขโทรศัพท์ นิ้วก้อยหมายถึงการตรวจสอบข้อความเสียง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เวลานี้เทคโนโลยี Skinput ยังอยู่ในขั้นการทดลอง ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่หลายบริษัท รวมทั้ง Microsoft ก็กำลังให้ความสนใจอยู่เช่นกัน

XS
SM
MD
LG