ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การประชุมเกี่ยวกับการพิจารณาทบทวนสนธิสัญญา ว่าด้วยการห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ ที่นครนิวยอร์ค


การประชุมเกี่ยวกับการพิจารณาทบทวนสนธิสัญญา ว่าด้วยการห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ ที่นครนิวยอร์ค
การประชุมเกี่ยวกับการพิจารณาทบทวนสนธิสัญญา ว่าด้วยการห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ ที่นครนิวยอร์ค

ผู้แทนของประเทศรอบโลก จะมาร่วมการประชุมเกี่ยวกับการพิจารณาทบทวนสนธิสัญญา ว่าด้วยการห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันจันทร์ที่สหประชาชาติในนครนิวยอร์กหลังจากสนธิสัญญาฉบับนั้น มีผลใช้บังคับมาได้สี่สิบปี

ผู้แทนของประเทศรอบโลก จะมาร่วมการประชุมเกี่ยวกับการพิจารณาทบทวนสนธิสัญญา ว่าด้วยการห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันจันทร์ที่สหประชาชาติในนครนิวยอร์กหลังจากสนธิสัญญาฉบับนั้น มีผลใช้บังคับมาได้สี่สิบปี

หนึ่งร้อยแปดสิบกว่าประเทศลงนาม และให้สัตยาบันสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลีย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานทางนิตินัย ที่รองรับการพยายามห้ามการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์

การลงนามกระทำกันในปีพุทธศักราช 2511และสนธิสัญญาฉบับนี้ มีผลใช้บังคับในอีกสองปีต่อมา ในปีพุทธศักราช 2538 บรรดาประเทศภาคีสหประชาชาติตกลง ให้ต่ออายุสนธิสัญญาฉบับนั้นออกไปโดยไม่มีกำหนด ทุกๆห้าปี ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญาฉบับนั้น จะประชุมเพื่อพิจารณาทบทวน

เรื่องการปฏิบัติตามสนธิสัญญาดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำกันอีกในช่วงเดือนพฤษภาคมที่สหประชาชาติ

กรรมการบริหารของศูนย์ควบคุมอาวุธ และการห้ามการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ จอห์น ไอแส็กกล่าวไว้ตอนนี้ว่า “สนธิสัญญาพัวพันกับการเจรจาต่อรอง ระหว่างรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งรวมถึงสหรัฐ รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศสและจีนและพวกรัฐ ที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์อย่างน้อยที่สุดก็ในช่วงเวลานั้น การต่อรองเบื้องพื้นฐาน ได้แกรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งรวมถึงสหรัฐ จะเคลื่อนไหวไปสู่การลดกำลังอาวุธและกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ในคลังแสงของตน และประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ตกลงว่าจะไม่สร้างอาวุธนิวเคลียร์และทุกประเทศ ไม่ว่าจะมีอาวุธนิวเคลียร์หรือไม่สามารถพัฒนาพลังนิวเคลียร์ได้อย่างเสรีตราบใดที่ประเทศเหล่านั้นไม่ใช้วัศดุกล่าวเพื่อทำอาวุธนิวเคลียร์”

คุณ เฮนรี โซโคลสกี้กรรมการบริหารของศูนย์การศึกษา เกี่ยวกับนโยบายห้ามการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์กล่าวว่าขณะที่ประเทศภาคี สหประชาชาติหนึ่งร้อยแปดสิบกว่าประเทศลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้ แต่ก็มีประเทศที่สำคัญๆ จำนวนหนึ่งที่ยังไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญาฉบับนั้น

เขากล่าวไว้ตอนนี้ว่า “ประเทศที่สำคัญๆ เหล่านั้น นอกจากยังมิได้ลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวแล้ว ยังมีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในความครอบครองด้วย ประเทศเหล่านั้นรวมถึงอินเดีย ปากีสถาน และอิสราเอลซึ่งยังไม่ยอมรับว่าตนมีอาวุธนิวเคลียร์ เห็นได้ชัดว่าประเทศที่น่าจะมีอาวุธนิวเคลียร์รายต่อไปก็คือเกาหลีเหนือซึ่งถอนตัวจากสนธิสัญญา ห้ามการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์และทดลองอาวุธนิวเคลียร์แล้ว

นักวิเคราะห์กล่าวว่า บรรดาผู้แทนที่มาร่วมการประชุมพิจารณาทบทวนสนธิสัญญาฉบับนั้น จะประเมินและถกอภิปรายกันว่าประเทศทั้งห้า ที่มีอาวุธนิวเคลียร์มาก่อนใครนั้นลดอาวุธนิวเคลียร์ในคลังแสงของตนไปได้มากน้อยแค่ไหนแล้ว? พวกเขากล่าวว่าสนธิสัญญาว่าด้วยการลดกำลังอาวุธระหว่างสหรัฐและรัสเซียที่ทำกันไป เมื่อไม่นานมานี้เป็นการดำเนินงานที่ถูกทิศทางขั้นหนึ่ง

คุณดาริล คิมบอลล์ กรรมการบริหารของสมาคมว่าด้วยการลดอาวุธกล่าวว่า ที่ประชุมเพื่อทบทวนสนธิสัญญาดังกล่าว จะมองหาวิธีที่จะทำให้องค์การพลังงานปรมาณู ระหว่างประเทศมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นเพื่อตอบโต้ ในกรณีที่มีการไม่ปฎิบัติตามสนธิสัญญา อย่างเช่นอิหร่านและจะมีการหาวิธีมาขบแก้ปัญหาดังกล่าว”

คาดว่าบรรดาผู้แทนจะพูดจากัน เกี่ยวกับเรื่องที่เกาหลีเหนือถอนตัวจากสนธิสัญญาห้ามการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ และโครงการนิวเคลียร์ของประเทศนั้น แต่จะไม่มีการตำหนิติเตียนโดยระบุชื่อประเทศเหล่านั้นโดยตรง

นักวิเคราะห์กล่าวว่าที่ประชุมจะถกกัน เกี่ยวกับความคิดของอียิปต์ที่จะให้มีการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการกำหนดเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ในตะวันออกกลางด้วย นอกจากนี้นักวิเคราะห์คาดหมายว่ารัฐบาลชุดประธานาธิบดีโอบามา จะมีแนวพินิจที่แตกต่างจากเดิมมากทีเดียวระหว่างการประชุมรวมสี่สัปดาห์ที่จะมีขึ้นนี้

XS
SM
MD
LG