ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อาหารจำพวกผักและผลไม้ และกรดไขมัน Omega-3 ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรค Alzheimer’s


Alzheimer
Alzheimer

นักวิจัยในสหรัฐศึกษาพบว่า การรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ และกรดไขมัน Omega-3 มากๆ นั้น นอกจากจะเป็นผลดีต่อสุขภาพหัวใจแล้ว ยังดีต่อสุขภาพสมอง และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรค Alzheimer’s หรือความจำเสื่อมเนื่องจากสมองฝ่อด้วย

นักวิจัยในสหรัฐศึกษาพบว่า การรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ และกรดไขมัน Omega-3 มากๆ นั้น นอกจากจะเป็นผลดีต่อสุขภาพหัวใจแล้ว ยังดีต่อสุขภาพสมอง และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรค Alzheimer’s หรือความจำเสื่อมเนื่องจากสมองฝ่อด้วย

ผลการศึกษาของนักวิจัยโคลัมเบียที่นครนิวยอร์ค บ่งชี้ถึงหลักฐานมากขึ้นในเรื่องที่ว่า อาหารที่เราเลิอกรับประทานนั้น มีส่วนต่อระดับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อม

ในการศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพ และการรับประทานอาหารของผู้ใหญ่วัย 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 2,000 คน นักวิจัยพบว่า คนที่รับประทานอาหารแบบเมดิเตอเรเนียนเป็นประจำ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค Alzheimer’s หรือ โรคความจำเสื่อมเนื่องจากสมองฝ่อ น้อยกว่าคนที่ไม่ได้รับประทานแบบนี้ 38 %

อาหารแบบเมดิเตอเรเนียนนั้น รวมทั้ง น้ำมันมะกอก ถั่วชนิดต่างๆ ปลา สัตว์ปีก ผักใบเขียวเข้ม และผลไม้ กรดไขมัน Omega-3 และ Omega-6 วิตามิน E และวิตามิน B-12 เป็นต้น การศึกษาวิจัยที่แล้วๆ มาแสดงว่า การรับประทานอาหารจำพวกนี้มากๆ และรับประทานอาหารจำพวกเนื้อแดง อาหารไขมันสูงต่างๆ ไขมันอิ่มตัวทั้งหลายน้อย จะทำให้มีความเสี่ยงน้อยลงต่อการเป็นโรคหัวใจ มาตอนนี้ ผลการวิจัยล่าสุดแสดงว่า การรับประทานอาหารแบบนี้ นอกจากจะเป็นผลดีต่อสุขภาพหัวใจแล้ว ยังอาจช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอได้ด้วย นักวิจัยกล่าวว่า การเป็นโรคหลอดเลือดสมองนั้น อาจมีผลต่อไปถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ และเมื่อการรับประทานอาหาร แบบเมดิเตอเรเนียนเป็นประจำ ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ก็อาจจะส่งผลสืบต่อไป ถึงการช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้

ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า สาร folate ในผักใบเขียวเข้มช่วยลดระดับกรดอะมิโน โฮโมซิสทีนที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด กรดชนิดนี้ มีความเกี่ยวเนื่องกับโรคอัลไซเมอร์ และวิตามิน อี ซึ่งมี anti-oxidant สูง ก็อาจมีผลในทางป้องกันโรคนี้ด้วย ขณะที่กรดไขมันอิ่มตัวต่างๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความจำเสื่อม โดยไปเร่งการจับตัวของลิ่มเลือด ซึ่งทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่สะดวกก็ได้

นักวิจัยกล่าวว่า แม้ว่าปัจจัยด้านการรับประทานอาหาร หรือแบบฉบับการดำเนินชีวิตประจำวัน จะไม่สามารถขจัดความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้โดยสิ้นเชิง แต่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การปรับตัวในการดำเนินชีวิตเมื่ออายุมากขึ้น โดยการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และระมัดระวังเอาใจใส่อาหาร ที่รับประทานแต่ละวัน และทำกิจกรรมทางสังคม ที่เคยทำอยู่อย่างต่อเนื่อง อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมได้

XS
SM
MD
LG