ลิ้งค์เชื่อมต่อ

พบหลักฐานชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งรกรากในแอฟริกาหลายพันปีก่อน


At an ancient settlement site in Madagascar, residues of plant remains were obtained from sediments in the archaeological layers
At an ancient settlement site in Madagascar, residues of plant remains were obtained from sediments in the archaeological layers

มนุษย์โบราณเดินทางจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังหมู่เกาะในทวีปแอฟริกา ซึ่งอยู่ห่างออกไป 6,000 กิโลเมตร ได้อย่างไร?

มนุษย์โบราณจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อพยพไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณหมู่เกาะในแอฟริกาเมื่อหนึ่งพันกว่าปีก่อน การวิจัยทางพันธุกรรมและภาษาได้ยืนยันว่า ผู้อยู่อาศัยบนเกาะ Madagascar พูดภาษาที่มีเอกลักษณ์เหมือนภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีต้นตอพันธุกรรมที่คล้ายกับชาว Malaysian และ Polynesian

แต่จนบัดนี้ ยังไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีที่ยืนยันว่าผู้อาศัยกลุ่มแรกๆ คือนักเดินทางจากอีกฝากฝั่งของมหาสมุทร Indian

กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Bristol มหาวิทยาลัย Oxford และ มหาวิทยาลัย Queensland ศึกษาพืชที่ปลูกตั้งแต่โบราณใน Madagascar และบริเวณชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก เพื่อค้นหาว่าพืชเหล่านี้เป็นพืชพื้นเมือง หรือถูกนำมาเพาะปลูกจากต่างถิ่น

ซึ่งนักวิจัยได้ค้นพบซากพืชกว่า 2,500 ชนิด มาจากถิ่นฐานโบราณทั้งหมด 18 แห่ง นอกจากนั้นยังมีการค้นพบพืชที่พบได้ง่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ข้าว และถั่วเขียว ใน Madagascar อีกด้วย

FILE - A farmer harvests rice seedlings in a nursery paddy field on the outskirts of Madagascar's capital, Antananarivo, Oct. 30, 2013. Researchers found that rice and mung beans remains show Southeast Asians settled the African island 1,300 years ago.
FILE - A farmer harvests rice seedlings in a nursery paddy field on the outskirts of Madagascar's capital, Antananarivo, Oct. 30, 2013. Researchers found that rice and mung beans remains show Southeast Asians settled the African island 1,300 years ago.

ในขณะเดียวกัน การค้นหาโบราณสถานในทวีปแอฟริกาและหมู่เกาะนอกชายฝั่ง พบว่าพืชส่วนใหญ่ เช่น ข้าวฟ่าง หญ้าไข่มุก และต้นเบาบับ เติบโตในสภาพแวดล้อมเอง

งานวิจัยชิ้นนี้ได้เขียนลงใน Proceedings of the National Academy of Sciences ซึ่งนักวิจัยได้นำเสนอข้อมูลว่า ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไปตั้งรกรากในแอฟริกา ได้นำพืชจากเอเชียติดตัวไปด้วย

โดยนักวิจัยได้กล่าวว่า “พืชเหล่านี้ คือหลักฐานโบราณคดีที่หนักแน่นและเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ และแสดงให้เห็นถึงการอพยพของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปใน Madagascar”

นอกเหนือจากการค้นพบซากพืชใน Madagascar แล้ว นักวิจัยยังพบพืชจากเอเชียในหมู่เกาะ Comoros ซึ่งเป็นหมู่เกาะบริเวณใกล้เคียง Madagascar ถึงแม้ว่าชาว Comoros จะพูดภาษาแอฟริกัน และไม่น่าจะมีต้นตอพันธุกรรมของชาว Austronesian แต่การที่มีการปลูกข้าวและถั่วเขียว แสดงให้เห็นว่าการอพยพของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้หยุดแค่เพียงที่ Madagascar

กลุ่มนักวิจัยสรุปงานเขียนไว้ว่า มีความเป็นไปได้ว่า ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตั้งรกรากในหมู่เกาะ Comoros และในเวลาต่อมาถูกกลืนทางภาษาและทางพันธุกรรม

XS
SM
MD
LG