ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เจ้าหน้าที่เวียตนามตำหนิแผนของรัฐบาลลาวที่จะสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขง ซึ่งจะมีประเทศไทยเป็นลูกค้าซื้อไฟฟ้ารายใหญ่


เจ้าหน้าที่เวียตนามตำหนิแผนของรัฐบาลลาวที่จะสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขง ซึ่งจะมีประเทศไทยเป็นลูกค้าซื้อไฟฟ้ารายใหญ่
เจ้าหน้าที่เวียตนามตำหนิแผนของรัฐบาลลาวที่จะสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขง ซึ่งจะมีประเทศไทยเป็นลูกค้าซื้อไฟฟ้ารายใหญ่

เจ้าหน้าที่เวียตนามวิพากษ์ตำหนิแผนของรัฐบาลลาวที่จะสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขง เพื่อ นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า การคัดค้านจากเวียตนามและประเทศอื่นๆที่อยู่ติดแม่น้ำโขงตอนล่างลงไป อาจผลักดันให้ลาวปรับลดแผนในเรื่องนี้ได้

เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขง มูลค่า 3 พัน 5 ร้อยล้านดอลล่าร์ หรือกว่าหนึ่งแสนล้านบาท ที่สายบุรี ซึ่งรัฐบาลลาววางแผนจะสร้างนี้ เป็นเพียงเขื่อนแรกในจำนวนทั้งหมด 12 เขื่อนของแผน บริษัทที่จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเป็นบริษัทไทย และ ประเทศไทยจะเป็นผู้ซื้อไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่เขื่อนผลิตได้ คาดว่าปริมาณการผลิตจะสูงถึง 1,260 เมกกาวัตต์

เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลลาวกล่าวว่า เขื่อนที่เสนอสร้างนี้จะช่วยลดความยากจนและส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ

แต่เจ้าหน้าที่เวียตนามคัดค้านแผนสร้างเขื่อนที่ว่านี้อย่างเปิดเผย โดยระบุว่า เขื่อนนี้จะส่งผลกระทบปริมาณน้ำและการประมงในตอนล่างของในแม่น้ำโขง ซึ่งสอดคล้องกับการคัดค้านของนักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมก่อนหน้านี้ ที่ให้เหตุผลว่า เขื่อนจะทำลายสิ่งแวดล้อม และส่งผลเสียต่อการทำมาหากินของผู้คนที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำ

นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า พลังกดดันจากเวียตนามและประเทศอื่นๆในตอนล่างของแม่น้ำโขง อย่างเช่น ประเทศไทย และกัมพูชา อาจทำให้ลาวต้องชลอ หรือปรับแผนที่จะกักกั้นน้ำไว้ใช้ประโยชน์สำหรับตน

อาจารย์ Philip Hirsch ซึ่งสอนวิชานิเวศวิทยามนุษย์ที่มหาวิทยาลัย Sydney ในออสเตรเลีย บอกกับผู้สื่อข่าว VOA ว่า ในบรรดาประเทศที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง เวียตนามเป็นประเทศเดียวที่กล่าวตำหนิวิพากษ์แผนสร้างเขื่อนของลาวอย่างเปิดเผย

นักนิเวศวิทยาผู้นี้ให้ความเห็นว่า คำถามที่คงจะหาคำตอบได้ยากก็คือ เวียตนามและลาว ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกัน แต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมากในเรื่องเขื่อนที่สายบุรี จะขบแก้ปัญหาระหว่างกันได้อย่างไร

นักวิชาการผู้นี้ให้ความเห็นต่อไปว่า ตามปกติ เวียตนามจะพยายามทำงานเบื้องหลังฉากในการโน้มน้าวนโยบายของลาว แต่ในเรื่องเขื่อนนี้ เวียตนามไม่สงวนท่าทีเลย กล่าวตำหนิอย่างโจ่งแจ้ง

และแม้คณะกรรมการร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง หรือที่เรียกย่อๆว่า MRC มีกำหนดจะเผยแพร่ข้อเสนอแนะในเรื่องนี้ออกมาในเดือนนี้ อาจารย์ Philip Hirsch บอกว่า MRC ไม่มีอำนาจจะบังคับให้ลาวเลิกล้มแผนสร้างเขื่อน เพราะไม่ได้เป็นองค์กรที่ออกกฎบังคับควบคุม

นักนิเวศวิทยาผู้นี้บอกว่า แนวทางการทำงานของ MRC นั้น อาศัยมติของสมาชิกส่วนใหญ่เป็นพื้นฐาน และว่า ประเทศไทยกล่าวไว้ว่า จะวางตัวเป็นกลาง เพราะฉะนั้น ภาระในการเจรจากับลาวก็จะตกอยู่กับเวียตนาม

นาย Trinh Le Nguyen ผู้บริหารองค์กร PanNature ซึ่งเป็น NGO ในเวียตนาม บอกกับ VOA ว่า เวียตนามอาจใช้ความกดดัน ด้วยการบอกกับลาวว่า จะไม่ร่วมลงทุนในโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำในอนาคตหรือซื้ออะไรจากลาว

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา งานศึกษาอิสระ แต่มี MRC เป็นผู้ว่าจ้าง เสนอแนะให้ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างเลื่อนการตัดสินใจในโครงการกระแสไฟฟ้าพลังน้ำออกไปเป็นเวลา 10 ปี โดยเตือนว่า การสร้างเขื่อนดังกล่าวจะเร่งปัญหาเรื่องความไม่มั่นคงทางอาหารให้มากขึ้น และส่งผลกระทบเชิงลบทางสิ่งแวดล้อมอย่างหนักชนิดที่จะแก้ไขกลับคืนไม่ได้

จีนซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับลาวทางเหนือ สร้างเขื่อนไว้แล้วสี่เขื่อนในตอนบนของแม่น้ำโขง

XS
SM
MD
LG