ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การตัดไม้ในอินโดนีเซีย<br>Illegal Logging in Indonesia May Destroy Ancient Forests - 2004-03-05


Indonesia has some of the last remaining ‘old growth’ forests in Asia, and Greenpeace is asking for a suspension of logging until a system can be put in place that will insure that all lumber comes from legally cut timber. Currently 80-90% of logging in Indonesia is illegal.

Some of the hardest hit areas are the National Parks, where endangered animals such as the Orangutan and Sumatran rhinoceros live. Logged lands are also subject to flash flooding. Recently, more than 130 people were killed in a flash flood that washed away their village.

In Thailand, in the mid 1980’s, there was similar flash flooding in logged out areas in the mountainous south. More than 500 people died in a deforested area of Nakornsrithammarat, when floodwaters washed their villages out to sea. In response, the Thai government put in place a moratorium on logging that is still in effect today.

การตัดไม้ในอินโดนีเซีย

กรีนพีซ องค์การที่ทำงานด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเรียกร้องให้อินโดนีเซียยับยั้งการตัดไม้ อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ส่งไม้ออกรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก กรีนพีซเตือนว่าถ้าอินโดนีเซียยังตัดไม้ทำลายป่าในอัตราที่ทำอยู่ทุกวันนี้ อีกสัก 15 ปีข้างหน้า ปัญหาที่ตามมาจะหนักหนาจนแก้ไขไม่ได้ เวลานี้อินโดนีเซียตัดไม้ถางป่าในอัตราปีละราวๆ 24 ล้านไร่

รัฐบาลอินโดนีเซียประมาณว่า 80 - 90 เปอร์เซ็นต์ของไม้ที่ตัดมานั้น เป็นไม้ผิดกฎหมาย โดยพ่อค้าไม้จ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองป่า บางพื้นที่ที่มีการตัดไม้นั้น เป็นบริเวณป่าสงวนเสียด้วยซ้ำ ไม้ส่วนใหญ่ที่ตัดมา ถูกลักลอบนำเข้ามาเลย์เซียและเวียตนามเพื่อการแปรรูป และส่งออกไปขายในชาติตะวันตกต่อไป

กรีนพีซเรียกร้องให้ระงับการตัดไม้ทั้งหมดในอินโดนีเซีย จนกว่าจะมีการจัดตั้งระบบที่เป็นที่เชื่อถือและตรวจสอบได้ เพื่อเป็นการรับประกันว่าไม้นั้นเป็นไม้ที่ตัดมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กรีนพีซยังให้คำมั่นสัญญาไว้ด้วยว่า จะระบุชื่อบริษัทในชาติตะวันตกที่กำลังซื้อไม้จากอินโดนีเซีย โดยไม่มีการรับรองตรวจสอบว่า ไม้ที่ซื้อนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

เมื่อเร็วๆนี้ มีการประชุมนานาชาติเรื่องไม้ในมาเลย์เซีย ซึ่งองค์การสหประชาชาติร่วมมือกับมาเลย์เซีย ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นมา มีองค์กรระหว่างประเทศกล่าวหามาเลย์เซียในที่ประชุมว่า ไม่ปราบปรามไม้เถื่อนที่ลักลอบนำเข้าไปในมาเลย์เซียจากต่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งไม้จากอินโดนีเซียด้วย และว่าเจ้าหน้าที่ของมาเลย์เซียให้ความร่วมมือกับผู้ลักลอบค้าไม้เถื่อน เพราะได้รับสินบน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของมาเลย์เซียโกรธเคืองมากที่ถูกกล่าวหาในที่ประชุมระดับนานาชาติ และกล่าวหาตอบโต้ว่า องค์กรระหว่างประเทศที่ติดตามตรวจสอบเรื่องไม้เถื่อนต้องการทำให้มาเลย์เซียต้อง “เสียหน้า” จึงได้เปิดโปงกล่าวหากันอย่างนี้

ป่าของอินโดนีเซียเป็นแหล่งทรัพยากรมหาศาลของโลกทั้งทางพืชและสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์อย่างลิงอุรังอุตัง และแรดสุมาตรา การตัดไม้ยังส่งผลกระทบต่อมนุษย์อีกด้วย เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว มีชาวบ้านมากกว่า 130 คนเสียชีวิต เพราะเกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลันกวาดหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมอุทยานแห่งชาติไปทั้งหมู่บ้าน เหตุการณ์ทำนองเดียวกันแต่มีผู้เสียชีวิตมากกว่าเกิดขึ้นมาแล้วในภาคใต้ของไทย

สาเหตุที่มีน้ำท่วมฉับพลันเกิดขึ้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ ใครๆก็รู้ว่า เมื่อตัดไม้ทำลายป่าไปแล้ว ฝนตกลงมา ไม่มีป่าจะรองรับดูดซับน้ำให้ เรื่องผู้นำประเทศหงุดหงิดไม่พอใจเมื่อมีคนให้คำแนะนำจี้จุดอ่อน ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่จะเป็นเรื่องใหม่ก็คือการที่ผู้นำประเทศรับฟังความคิดเห็น และพยายามช่วยเหลือประชาชนอย่างจริงจัง แต่เมื่อไม่มีใครทำเรื่องใหม่ขึ้นมา ก็จะต้องรับฟังเรื่องเก่าๆกันต่อไป

นิตยา มาพึ่งพงศ์
VOA ภาคภาษาไทย วอชิงตัน

XS
SM
MD
LG