ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิธีทำเซลล์แสงอาทิตย์แบบใหม่ อาจช่วยให้เสียค่าใช้จ่าย ในการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ได้ถูกลง


วิธีทำเซลล์แสงอาทิตย์แบบใหม่ มีลู่ทางว่า จะทำให้ผลิตกระแสไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายถูกลงกว่าเดิม และทำให้มีวิธีการใหม่ สำหรับเอาพลังงานแสงอาทิตย์ รวมตัวเข้าไปกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ

วัสดุที่ใช้ทำเซลล์แสงอาทิตย์ กันอย่างแพร่หลายก็คือ ธาตุอโลหะซิลลิคอน ซึ่งแข็งและเปราะบาง ศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์ แฮร์รี แอ็ทวอเตอร์ ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย กำลังใช้วิธีการทำเซลล์แสงอาทิย์ ที่ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิม โดยใช้วิธีเอาซิลลิคอนมาทำเป็นสายไฟเส้นเล็กๆ ซึ่งมีคุณสมบัติดูดซึมแสง และเก็บรวบรวมกระแสไฟฟ้าได้ดีพอๆ กับเซลล์แสงอาทิต์แผ่นบางๆ ที่ทำด้วยซิลลิคอน

ท่านอาจารย์อธิบายให้ฟังว่า สายไฟ้ฟ้าเส้นบางๆ เหล่านี้ตั้งตรงโดยมีฐานรองรับอยู่ ทำให้ดูเหมือนกับแปรงแปรงผมอันกระจิ๋วหลิวเลย และการออกแบบเซลล์แสงอาทิตย์แบบนี้ เมื่อมองในแง่ของค่าใช้จ่ายแล้ว จะเห็นว่าช่วยให้เราใช้ซิลลิคอนน้อยลงกว่าเดิมหนึ่งร้อยเท่า

บางคนอาจคิดว่า การใช้ซิลลิคอน ซึ่งเป็นตัวเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานไฟ้ฟ้าน้อยลงไปอย่างนี้ จะไม่ทำผลิตพลังงานไฟฟ้าได้น้อยลงไปละหรือ? แต่ศาสตราจารย์ แฮรี แอ็ทวอเตอร์ กล่าวว่าการณ์มิได้เป็นอย่างเช่นที่คิดกัน

ท่านอาจารย์กล่าวไว้ตอนนี้ว่า "แสงเข้ามาและถูกลวดสายไฟฟ้า ดูดซึมเอาไว้และแสงบางส่วนจะสะท้อนไปสะท้อนมาระหว่างลวดสายไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ดูดซึมแสงได้มากยิ่งขึ้นอย่างน่าทึ่ง ตลอดจนการที่แสงสะท้อนไปสะท้อนมา ระหว่างลวดสายไฟฟ้านี้ทำให้ซิลลิคอน มีโอกาสทำปฏิกิริยากับแสงได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย"

ศาสตราจารย์ แฮรี แอ็ทวอเตอร์ และเพื่อนร่วมงาน ผลิตต้นแบบของเซลล์แสงอาทิตย์แบบใหม่นี้ในห้องแล็บ และผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ มีรูปร่างไม่เหมือนกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งอยู่ตามหลังคาอาคาร อย่างที่เราอาจจะเคยมองเห็นกัน ท่านอาจารย์กล่าวว่า เซลล์แสงอาทิตย์ที่ว่านี้โดยพื้นฐานแล้ว มีคุณสมบัติเหมือนกับแผ่นพลาสติกที่ยืดหยุ่นได้ ซึ่งทำให้มีช่องทางใหม่ๆ สำหรับนำไปใช้ประโยชน์อย่างเช่น ทำเซลล์แรงดันพลังแสงแบบที่รวมตัวกัน ยกตัวเช่น สามารถสร้างวัศดุมุงหลังคา ที่มีเซลล์แสงอาทิตย์ ติดตั้งอยู่พร้อมเสร็จ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าติดตั้งได้ ศาสตราจารย์ แฮรี แอ็ทวอเตอร์กล่าวด้วยว่าการที่ เซลล์แรงดันพลังแสง มีคุณสมบัติหยืดหยุ่นคืองอโค้งได้ ทำให้สามารถติดตั้งกับตัวถังรถยนต์ ซึ่งไม่มีส่วนที่เป็นที่ราบเรียบได้ ศาสตราจารย์ แฮรี แอ็ทวอเตอร์แห่งสถาบันเทคโนโลยี แห่งแคลิฟอร์เนียหวังใจว่า จะนำเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ออกแบบใหม่นี้ออกใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ เพราะกระบวนการผลิต ไม่จำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาเทคโลยีใหม่ และท่านอาจารย์กล่าวเน้นว่า เซลล์แสงอาทิตย์แบบใหม่ ควรจะลดค่าใช้จ่ายในการผลิตกระแสไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ด้วย

คำบรรยายของศาสตราจาย์ แฮรี แอ็ทวอเตอร์ เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของเซลล์แสงอาทิตย์แบบใหม่ ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Nature Materials



XS
SM
MD
LG