ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การนำขยะอีเล็กทรอนิก หรือ E-Waste กลับมาแปรรูปใช้ประโยชน์ใหม่


ผลิตภัณฑ์อีเล็กทรอนิกนั้น อาจนำมาแปรรูปหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ แต่การทำเช่นนั้นเป็นกระบวนวิธีที่ยากลำบาก เพราะอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกสแต่ละอย่าง ประกอบด้วยสารวัตถุมากมายหลายหลาก

อย่างไรก็ตาม ขณะที่มีปัญหามลพิษ และสารวัตถุต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หลายอย่างยังมีค่า ไม่น่าทิ้งไปเฉยๆ จึงมีการนำขยะอีเล็กทรอนิก มาแปรรูปหมุนเวียนกันมากขึ้นเรื่อยๆ สหภาพยุโรปเริ่มส่งเสริมเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2546 ส่วนในสหรัฐนั้น ธุรกิจต่างๆ กำลังถูกกะเกณฑ์ ให้มีความรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ของตนด้วยวิธีการใหม่ๆ

แม้จะมีการแปรรูปขยะอีเล็กทรอนิกหรือ E-Waste กันมาหลายปีแล้ว แต่รัฐวอชิงตันทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ของสหรัฐเพิ่งมีกฏหมายว่าด้วยขยะอีเล็กทรอนิกหรือ E-Waste Law ราว 1 ปีมานี้เอง

John Friedrich ผู้อำนวยการโครงการแปรรูปพัสดุ ของรัฐวอชิงตันกล่าวว่า กฏหมายนี้เป็นข้อกำหนด ที่ให้บรรดาผู้ผลิตเครื่องอีเลกโทรนิค มีความรับผิดชอบทางกฏหมาย ไม่ปล่อยให้ผู้เสียภาษีต้องรับภาระในการกำจัดขยะอีเล็กทรอนิก ในเวลาหนึ่งปีที่มีกฏหมายนี้ รัฐวอชิงตันเก็บขยะอีเล็กทรอนิกมาเป็นปริมาณราว 27,000 ตันแล้ว และบรรดาผู้ผลิตสิ้นค่าใช้จ่ายในการแปรรูปเกือบ 10 ล้านดอลล่าร์

แนวคิดที่ให้ขยายขอบเขตความรับผิดชอบ ของผู้ผลิตในผลิตภัณฑ์ของตนออกไป จนถึงจุดสิ้นสุดเช่นนี้ เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ในสหรัฐ แต่ในยุโรปนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่

Klaus Kuoegler แห่งสำนักงานอำนวยการ ด้านสิ่งแวดล้อมของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่กรุงบรัสเซลส์กล่าวว่า หลักตามแนวคิดนี้ก็คือ ผู้ใดก็ตามที่เป็นสาเหตุ ของการยังความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งในด้านการเงิน การซ่อมแซม หรือการดำเนินงานเพื่อลดอันตราย ตั้งแต่ต้นจนจบเลยทีเดียว เขายกตัวอย่าง การกำหนดให้รถยนต์ที่ขายในสหภาพยุโรป ต้องแปรรูปได้ 85 % จะก่อให้เกิดแรงกระตุ้น ให้มีการพัฒนารถยนต์ที่ง่ายต่อการดูแลซ่อมบำรุง เมื่อหมดอายุใช้งานก็นำมาแปรรูปได้ง่าย สิ้นค่าใช้จ่ายต่ำ

นอกจากจะเป็นการช่วยคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแล้ว การให้ผู้ผลิตรับผิดชอบ การนำผลิตภัณฑ์เก่า ที่หมดอายุการใช้งานแล้วมาแปรรูปนั้น ยังเป็นการนำทรัพยากรส่วนหนึ่ง ที่ยังใช้งานได้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อีกด้วย อย่างการสะกัดเอาโลหะต่างๆ ที่กำลังหายากและราคาแพงขึ้น ออกมาจากอุปการณ์เก่าๆ กลับมาป้อนอุตสาหกรรมได้อีก ด้วยเหตุนี้ สหภาพยุโรป จึงกำลังดำเนินงานสู่เป้าหมายใหญ่ยิ่งกว่าเดิม นการแปรรูปพัศดุจากขยะอีเล็กทรอนิก

ในสหรัฐนั้น รัฐวิสคอนซินเพิ่งกลายเป็นรัฐที่ 20 ที่ออกกฏหมายว่า ด้วยการแปรรูปขยะอีเล็กทรอนิกส์ และรัฐต่าง ๆ กำลังขยายขอบเขตความรับผิดชอบของบรรดาผู้ผลิตไปยังผลิตภัณฑ์อื่นๆ อย่าง แบตเตอรี หลอดไฟนีออน และ สี เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ทางฝ่ายอุตสาหกรรมเครื่องอีเล็กทรอนิกส์กำลังโต้กลับ กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ 2 กลุ่มกำลังยื่นเรื่องทักท้วงกฏหมายขยะอีเล็กทรอนิก ของนครนิวยอร์ค โดยระบุว่ากฎหมายนั้น ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ บรรดานักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเห็นว่า การฟ้องร้องนั้นเป็นการโจมตีแนวคิดโดยรวม ในเรื่องความรับผิดชอบของผู้ผลิต

แต่ Rick Goss แห่งคณะกรรมการอุตสาหกรรมเทคโนโลจีสารสนเทศ ยืนยันว่าไม่ใช่เช่นนั้น และว่า ฝ่ายนี้สนับสนุนเรื่องความรับผิดชอบของผู้บริโภค มีความเข้าใจและรับรู้ว่า ในฐานะผู้ผลิต ฝ่ายนี้จะต้องมีหน้าที่เสนอทางเลือกให้ผู้บริโภค และช่องทางแก้ไขปัญหา กำจัดผลิตภัณฑ์ที่ใช้หมดอายุแล้ว เพื่อไม่ให้เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม แต่บรรดาผู้ผลิตก็ยังมีหน้าที่รับผิดสิ่งอื่นๆ ด้วย

คดีความเรื่องนี้ ทำให้มีการโต้แย้งตามรัฐธรรมนูญ ที่อาจถูกนำมาใช้ทักท้วงสิทธิของรัฐต่างๆ ในการตั้งกฏเกณฑ์กับบรรดาผู้ผลิตเรื่องการแปรรูปพัศดุ

รายงานด้านสิ่งแวดล้อมนี้ มาจากมูลนิธิ Park Foundation Gaylord and Dorothy Donneley Foundation.


XS
SM
MD
LG