ลิ้งค์เชื่อมต่อ

NASA ส่งกล้องดูดาวอวกาศกล้องใหม่ ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกในวันจันทร์


องค์การอวกาศสหรัฐ หรือ NASA ส่งกล้องดูดาวอวกาศกล้องใหม่ ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกในวันจันทร์ เจ้าหน้าที่ NASA กล่าวว่า กล้องดูดาวอวกาศกล้องใหม่นี้ จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สังเกตการณ์ห้วงเอกภพได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนยิ่งขึ้น และจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ ดาวฤกษ์ แกแล็กซี่ และเทหวัตถุต่างๆ ที่ตรวจไม่พบมาก่อน

กล้องโทรทรรศน์ดูดาวอวกาศกล้องใหม่นี้ ใช้แสง Infrared ในการสำรวจตรวจหาเทหวัตถุฟากฟ้าต่างๆ กล้องดูดาวอวกาศขนาด 41 เซ็นติเมตรนี้ เรียกตามอักษรย่อว่า WISE ซึ่งย่อมาจาก Wide-field Infrared Survey Explorer

กล้องดูดาวอวกาศ WISE จะโคจรอยู่เหนือโลกในระดับ 525 กิโลเมตร ผ่านขั้วโลกวันละ 15 ครั้ง ถ่ายภาพทุกๆ 11 วินาที และจะได้ภาพถ่ายห้วงอวกาศ อย่างอย่างกว้างขวางรอบด้านราว 1,500,000 ภาพในชวงเวลา 9 เดือนจากนี้ไป

Amy Mainzer รองหัวหน้านักวิทยาศาสตร์โครงการ WISE อธิบายว่า การสำรวจห้วงอวกาศอย่างกว้างขวางนี้ จะช่วยทำให้มีแผนที่ google ของเอกภพ โดยจะส่องสังเกตการรอบตัวไปทั่วทุกด้านทุกมุมทุกแห่งบนท้องฟ้า และจะให้แผนที่ในการค้นหาเทหวัตถุต่างๆ ทุกรูปแบบในห้วงอวกาศ

ภาพพาโนรามาของห้วงอวกาศที่กล้อง WISE ได้มา จะเป็นเหมือนการจับภาพในมุมกว้างสำหรับนักวิทยาศาสตร์ จากนั้นนักวิทยาศาสตร์จะใช้กล้องดูดาวอวกาศอย่าง Hubble ที่อยู่ในวงโคจรรอบโลกอยู่แล้ว และกล้อง James Webb ที่กำลังจะส่งขึ้นไป เจาะดึงภาพขยายเฉพาะส่วนที่สนใจจะศึกษา

นักวิทยาศาสตร์ต้องการจะหาแกแล็กซี่ หรือดาราจักรที่เรืองแสงมากเป็นพิเศษ ดาวฤกษ์ที่ยังมองไม่เห็น ตลอดจนดาวเคราะห์น้อย หรืออุกกาบาตยักษ์ที่ยังตรวจไม่พบอีกนับแสนดวง แม้ว่า อุกกาบาตขนาดเล็กจะไม่เป็นอันตรายคุกคามโลก แต่อุกกาบาตขนาดยักษ์ยักษ์หรือดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะ และโลกเราหลายร้อยดวง อาจเป็นอันตรายต่อโลกได้วันใดวันหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ จึงต้องการที่จะสำรวจศึกษาสังเกตการณ์เทหวัตถุเหล่านั้นด้วย

นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโครงการ WISE กล่าวว่า ขณะที่นักวิทยาศาสตร์อาจไม่จำเป็นที่จะต้องทราบขนาด รูปทรงสัณฐาน และตำแหน่งแห่งที่ของเทหวัตถุเหล่านั้นในตอนนี้ แต่การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำ เตรียมไว้สำหรับการป้องกันในอนาคต

Edward Wright นักวิทยาศาสตร์ใหญ่ของโครงการ WISE กล่าวว่า การเรียนรู้เกี่ยวเส้นทางโคจรของเทหวัตถุเหล่านั้น และตรวจพบว่ามีดวงไหนจะตรงมาทางโลกบ้างสักวันหนึ่งในอนาคต และมีท่าทางว่าจะเป็นภัยคุกคามโลก ก็จะได้มีเวลาพอที่จะจัดการเตรียมส่งยานอวการศออกไปปฏิบัติงานสะกัดกั้นเบี่ยงเบนหันเหนเทหวัตถุนั้นให้ๆ ให้ห่างออกไป ไม่ให้เข้ามาชนโลกได้

นอกจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ ยังต้องการสำรวจหาสิ่งที่คาดไม่ถึง หรือเทหวัตถุแบบใหม่ๆ หรือปรากฏการณ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันด้วย

กล้องดูดาวอวกาศ WISE ใช้แสงอินฟราเรดในการตรวจจับภาพ โดยมีกำลังและความไวกว่าที่เคยใช้มาหลายร้อยเท่า และมีขีดความสามารถ ในการจับภาพระบบดิจิทอลระดับ 4 ล้าน pixels สำหรับดาวเทียมดาราศาสตร์อินฟราเรด ที่ออกไปสำรวจห้วงอวกาศลำหลังสุดเมื่อปี 2526 นั้น มีขีดความสามารถในการจับภาพระบบดิจิทอลเพียง 62 pixels กล้องดูดาวอวกาศ WISE ใชัทุนในการสร้างราว 320 ล้านดอลล่าร์


XS
SM
MD
LG