ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การประชุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กรุงโคเป็นฮาเก็น


เจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งหลาย และผู้นำรัฐบาลจากประเทศต่างๆ มากกว่า 60 คน กำลังร่วมการประชุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กรุงโคเป็นฮาเก็น

การประชุม 2 สัปดาห์ซึ่งเริ่มในวันทึ่ 7 ธันวาคมนี้ มุ่งที่จะบรรลุความตกลงที่มีข้อผูกพันทางกฏหมายให้มีการลดการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก แต่ยังมีคำถามอยู่ว่าจะสามารถทำกันได้มากน้อยเพียงใด

การประชุมในประเทศเด็นมาร์ค เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศตรั้งนี้ ถือกันว่าเป็นโอกาสดีที่สุดโอกาสสุดท้ายที่จะบรรลุความตกลงกันได้ กลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งหลายพยายามผลักดันให้มีการดำเนินงานอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว

Charlie Kronick ที่ปรึกษาของกลุ่ม Greenpeace ในอังกฤษกล่าวว่า ประเทศพัฒนาแล้วควรมีพันธกรณีอย่างเป็นแก่นสาร ในการให้ทุนแก่ปรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

เป้าหมายนั้น เพื่อที่จะลดการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นที่เห็นกันว่า ทำให้บรรยากาศที่หุ้มห่อโลกอุ่นขึ้น และด้วยเหตุที่บรรดาประเทศอุตสาหกรรม เป็นผู้ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่มาช้านาน จึงถูกกดดันให้ลดการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

ขณะเดียวกัน หลายคนเห็นว่า บรรดาประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งกำลังมีส่วนอย่างมากในการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ก็จำเป็นจะต้องดำเนินงานมากขึ้นด้วยในการดำเนินงานลดก๊าซนั้น ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาต้องการความช่วยเหลือในทางการเงิน

เจ้าหน้าที่โครงการด้านสิ่งแวดล้อม ของสหประชาชาติกล่าวว่า ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา จำเป็นจะต้องทำงานร่วมกัน อย่างเป็นหุ้นส่วนกันทั่วโลก

นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่กล่าวว่า กิจกรรมของมนุษย์ อยู่เบื้องหลังสภาพโลกร้อน และว่า ขึ้นอยู่กับมนุษย์เราเอง ที่จะต้องทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่จะแปรผันแนวโน้มนี้

เจ้าหน้าที่ของ Greenpeace กล่าวว่า รัฐบาลทั่วๆ ไป และนักการเมืองมักพิจารณากันเรื่องค่าใช้จ่ายในช่วงสมัยการปฏิบัติงานของรัฐบาล และมองข้ามเรื่องที่ว่า ยอมเสียค่าใช้จ่ายมากตอนนี้ในการแก้ปัญหา จะดีกว่าการที่จะต้องไปจ่ายแพงขึ้นอีกมากในอนาคต

เป็นที่คาดหวังกันว่า การประชุมที่กรุงโคเป็ฮาเก็นครั้งนี้ จะบรรลุข้อตกลงที่มีข้อผูกพันออกมาใช้แทนพิธีสารเกียวโตซึ่งจะหมดอายุในปี 2555 บางคนเห็นว่า ข้อตกลงที่ทำกันที่เมืองกียวโตเมื่อปี 2540 นั้น ไม่มีประสิทธิผลมาตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว เนื่องจากสหรัฐไม่เคยลงนามในพิธีสารนั้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า มาตอนนนี้ ในการประชุมครั้งนี้ เป็นเวลาที่จะต้องมีการพิจารณาตัดสินใจกันแล้วว่า จะลงมือดำเนินการกันอย่างไร กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ประธานาธิบดีสหรัฐบารัค โอบามา จะไปร่วมการประชุมนี้ และสหรัฐเสนอเรื่องการลดการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกไปแล้ว


XS
SM
MD
LG