ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การตรวจวินิฉัย ด้วยการฉายรังสี CT Scans จำเป็นหรือไม่ในหมู่เด็ก?


ผลการศึกษาวิจัยใหม่แสดงว่า เด็กๆ จำนวนมากได้รับการตรวจด้วยการฉายรังสี CT-Scan โดยไม่จำเป็น หลังจากเกิดการกระทบกระแทกรุนแรงและบาดเจ็บที่ศีรษะ รายงานการศึกษาวิจัยนั้น มีข้อเสนอแนะและคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้

ภาวะสมองสะเทือน เพราะศีรษะถูกกระทบกระแทกรุนแรง มักเกิดขึ้นในอุบัติเหตุรถยนตร์ชนกัน หรือหกล้ม หรือในการเล่นกีฬา

ภาวะดังกล่าวอาจไม่รุนแรงมาก แต่แพทย์อาจสั่งให้ตรวจด้วยการฉายรังสี CT-Scanซึ่งเป็นการฉายภาพบริเวณศีรษะ เข้าระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้ภาพรายละเอียดของสมอง แต่รายงานการศึกษาวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ เตือนว่า เด็กเป็นจำนวนมากขึ้น กำลังถูกตรวจแบบนี้โดยไม่จำเป็น

คณะนักวิจัยระดับชาติ ซึ่งมีแพทย์สองคนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย California วิทยาเขต Davis เป็นผู้นำ ศึกษาประวัติการตรวจสุขภาพเด็กหลายพันคน ที่บาดเจ็บที่ศีรษะ และพบว่า ในหลายกรณี ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง จากการถูกฉายรังสีมีมากกว่าความเสี่ยงอันตรายจากการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ

การศึกษานั้นพบว่า เด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป 1 ใน 5 คน และ อายุต่ำกว่า 2 ปี เกือน 1 ใน 4 คน มีความเสี่ยงต่ำต่อการบาดเจ็บร้ายแรง แต่ก็ได้รับการตรวจ CT-Scan อยู่ดี

นักวิจัยคณะนี้ได้ตั้งกฏเกณฑ์ขึ้นมาในการพิจารณาว่า การบาดเจ็บที่ศีร์ษะนั้น มีความรุนแรงถึงขั้นที่จะต้องได้รับการตรวจด้วย CT – Scan หรือไม่ นักวิจัยชุดนี้แนะนำแพทย์ว่า สำหรับเด็กอายุไม่ถึง 2 ปี ไม่ควรใช้การตรวจ CT-Scan หากสภาพจิตใจปกติ ไม่มีอาการบวมหลังศีร์ษะ ไม่มีกระดูกส่วนใดของกระโหลกศีร์ษะแตก และไม่หมดสติเกิน 5 วินาที นอกจากนั้น แพทย์ควรพิจารณาตรวจสอบด้วยว่า เด็กได้รับบาดเจ็บมาอย่างไร พ่อแม่ผู้ปกครองพูดถึงอาการผิดปกติใดๆ ของเด็กหรือไม่ รวมทั้งมีอาการหมดสติ หรืออาเจียร หรือปวดศีร์ษะรุนแรงหรือไม่ด้วย สำหรับผู้ป่วยอายุ 2 ปีถึง 18 ปีนั้น การพิจารณาว่าสมควรใช้การตรวจ CT – Scan หรือไม่ จะมีแนวทางคล้ายๆ กัน

เมื่อต้นปีนี้ วารสารการแพทย์กีฬาของอังกฤษเสนอแนวทางใหม่ สำหรับภาวะสมองสะเทือนในเด็กและวัยรุ่น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญนานาชาติแนะนำว่า เด็กเหล่านั้นไม่ควรกลับไปเล่นกีฬา หรือไปโรงเรียนจนกว่าจะฟื้นตัวเต็มที่ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า สมองจะต้องได้รับการพักผ่อนในกระบวนการการรับรู้ด้วย ซึ่งควรจำกัดกิจกรรมบางอย่าง อย่าง วิดิโอเกม การส่งข้อความทางอินเตอร์เน็ท หรือดูโทรทัศน์

ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า เด็กมักจะใช้เวลานานกว่าผู้ใหญ่ ในการฟื้นตัวจากภาวะสมองสะเทือน และความก้าวหน้าของแต่ละคน ควรเป็นแนวทางในการพิจารณาตัดสินใจว่า ผู้ป่วยจะกลับไปทำกิจกรรมต่างได้อย่างปกติใหม่ได้หรือยัง ไม่ใช่การตั้งกำหนดเวลา

เฉพาะในสหรัฐ แต่ละปีมีรายงานผู้เกิดภาวะสมองสั่นสะเทือนรุนแรงมากกว่า 1 ล้านคน


XS
SM
MD
LG