ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ชาวอิหร่านใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเผยแพร่เหตุการณ์ในประเทศออกสู่โลกภายนอก


ในช่วงเวลาที่มีการประท้วงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี นับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านผ่านพ้นไปนี้ ผู้เดินขบวนประท้วงแสดงให้เห็นว่าเป็นคนเจ้าความคิด และหลบเลี่ยงการที่รัฐบาลพยายามสะกัดกั้นการแบ่งปันข่าวสารนั้นได้เก่งทีเดียว

ชาวอิหร่านผู้เจนจัดในเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งมีโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหลากหลาย ไว้ใช้จัดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันและกับโลกภายนอก โดยส่งรายงานที่ประสบมาด้วยตนเองไปให้โดยที่ไม่ผ่านการตรวจตัดเรื่องราวนั้นๆ เลยขณะที่เหตุการณ์ดังกล่าวกำลังเกิดอยู่ในอิหร่าน

ชาวอิหร่านดึงดูดความสนใจของชาวโลกด้วยวิธีรายงานข่าวสดๆ น่าสนใจมาให้โลกทราบ ถ้าคุณดูทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คุณจะได้ชมวิดิทัศน์ที่แสดงให้เห็นถึงการท้าทายรัฐบาลอย่างไม่เกรงกลัว เหตุการณ์ปั่นป่วนยุ่งเหยิงและการก่อเหตุรุนแรงตามท้องถนน

เวลาเดียวกัน สารที่นำไปเผยแพร่ทางบริการเวปไซต์อย่างเช่น Twitter และทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทางสังคมอย่างเช่น Facebook ก็ช่วยให้ผู้เดินขบวนประสานกิจกรรม เตือนให้คนอื่นทราบถึงอันตราย และแจ้งให้โลกทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นทุกระยะ

ผู้ประกอบการด้านสื่อเกี่ยวกับสังคม และนักประพันธ์ เจฟฟ์ ลิฟวิงสตัน ที่รัฐเวอร์จิเนียรู้สึกประทับใจที่สามัญชนชาวอิหร่านสามารถติดต่อและแจ้งให้โลกภายนอกทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที

เนื่องจากผู้สื่อข่าวต่างชาติโดนบีบบังคับให้ออกไปจากอิหร่าน หรือไม่ก็โดนจำกัดเขตให้อยู่แต่ภายในโรงแรมที่พักของพวกเขา องค์การสื่อมวลชนที่สำคัญๆจึงต้องพึ่งพาอาศัยพลเมืองอิหร่านที่ทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวจำเป็นเหล่านั้น

คุณฮามิเดห์ อารามิเดห์ ผู้รายงานข่าวของข่ายงานข่าวเปอร์เซียของ Voice of America กล่าวไว้ตอนนี้ว่า " ขณะนี้ไม่มีแหล่งข่าวอย่างเป็นทางการที่เชื่อถือได้ ประชาชนเป็นแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ซึ่งมีจำนวนนับพันๆ คน ทางหน้าเวปไซต์ Facebook ของคุณ ฮามิเดห์ อารามิเดห์ มีการติดต่อใหม่ๆ กับชาวอิหร่านนับพันๆ รายในช่วงไม่กี่วันมานี้

คุณอเลกซ์ วาตังกา นักวิเคราะห์อาวุโสด้านตะวันออกกลางของกลุ่ม Jane's Information Group กล่าวว่า เมื่อดูจากประชากรกลุ่มต่างๆ ในอิหร่านแล้วจะเห็นว่าชาวอิหร่านกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่าสามสิบปีมีจำนวนร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด ชาวอิหร่านวัยหนุ่มสาวเหล่านี้ ซึ่งเจนจัดในด้านเทคโนโลยีสามารถใช้เครื่องมือสื่อสารล่าสุดได้อย่างคล่องแคล่ว แต่คุณอเลกซ์ วาตังกากล่าวเสริมว่า ไม่ใช่ชาวอิหร่านที่เดินขบวนเท่านั้นที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ทางการอิหร่านเองก็ใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทางสังคม Facebook และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทางสังคมอื่นๆในการจัดการชุนุมเพื่อสนับสนุนฝ่ายตน อีกทั้งยังสามารถติดตามสดับตรับฟังว่ามีการพูดอะไรกันบ้าง และใครเป็นคนพูดทางบริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างๆ ด้วย

ทางการอิหร่านมีทางเลือกจำกัดในการสกัดกั้นการติดต่อสื่อสาร Blogger และนักประพันธ์ แดเนียล เดรซเนอร์ ผู้เป็นอาจารย์สอนวิชาการเมืองอยู่ที่มหาวิทยาลัยทัฟต์ รัฐแมสสาชูเซตส์มีความเห็นว่า

อาจารย์ แดเนียล เดรซเนอร์กล่าวด้วยว่า อิหร่านเป็นประเทศล่าสุด ที่เทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวกในการลุกฮือขึ้นแข็งข้อต่อต้านของประชาชนและว่าขบวนการนิยมประชาธิปไตย ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้อย่างไม่ต้องพึงสงสัย

ส่วนคุณ เจฟฟ์ ลิฟวิงสตันกล่าวว่ารัฐบาลที่รวบอำนาจโดยเด็ดขาด ที่พยายามปิดช่องทางมิให้พลเมืองของตนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้นกำลังตกอยู่ในอันตราย เพราะการป้องกันมิให้มีการแบ่งปันข่าวสารกันย่อมหมายถึงว่า รัฐบาลทำให้การพัฒนาทางเทคโนโลยีของประเทศชะงักงัน ซึ่งจะพลอยทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจ และการทำสงครามสงครามของประเทศพลอยชะงักงันไปด้วย

ส่วนบริการเวปไซต์ต่างๆ ก็ดำเนินมาตรการพิเศษ เพื่อสนองรับความคลี่คลายของเหตุการณ์ในอิหร่าน Twitter ประวิงการซ่อมบำรุงระบบดังที่กำหนดไว้แล้วนั้นเพื่อที่จะไม่ให้ขัดจังหวะการให้บริการ YouTube ผ่อนคลายข้อจำกัด โดยยอมให้เผยแพร่วิดิทัศน์ จากอิหร่านที่มีภาพเหตุการณฯรุนแรงนั้นได้ โดยให้เหตุผลว่าภาพเหล่านั้นเป็นภาพเหตุการณ์สำคัญ ที่จะต้องให้โลกภายนอกได้ชมกัน


XS
SM
MD
LG