ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สถานการณ์ความรุนแรง ทางภาคใต้ของประเทศไทย


กลุ่มทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ Human Rights watch กล่าวว่า เหตุการณ์รุนแรงทางภาคใต้ของไทยร้ายแรงขึ้นขณะที่ทางการทหารของไทยต่อสู้กับผู้แข็งข้อก่อการแทรกซึมบ่อนทำลาย การปราบปรามครั้งใหม่นั้น แยกไปจากการพยายามหาทางแก้ไขโดยทางการเมืองเพื่อยุติการสู้รบ

กลุ่มทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชน Human Rights watch ประณามการที่ ทั้งผู่้ก่อความไม่สงบ และทางการทหารใช้ความรุนแรงมากขึ้น และเตือนว่าการที่ทางการทหารปฏิบัติการหนักมือขึ้นในการปราบปรามผู้แข็งข้อก่อการบ่อนทำลายนั้น ยังความเสียหายแก่ความพยายามก่อนหน้านี้ที่จะให้ได้รับความสนับสนุนจากชุมชนมุสลิมในการต่อสู้กับการก่อความไม่สงบ

ตั้งแต่การก่อความไม่สงบแทรกซึมบ่อนทำลายในสามจังหวัดภาคใต้ติดชายแดนมาเลเซียเริ่มมาในปี 2547 มีคนเสียชีวิตมากกว่า 3,000 คน

ปีนี้ ผู้ก่อความไม่สงบ โจมตีหนักขึ้น โดยมุ่งเป้าหมายที่ครู ข้าราชการ และชาวพุทธสูงอายุ

อาจารย์สุนัย ผาสุข ผู้แทนกลุ่ม Human Rights watch ในประเทศไทยกล่าวว่า ผู้บัญชาการทหารบางคนในภาคใต้หันไปใช้ความรุนแรง ใช้กลวิธีแบบไม่ถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น โดยเฉพาะการจับกุมแบบรวบรัด ขึ้นรายชื่อบัญชีดำและทรมาน บรรยากาศแวดล้อมจึงขาดความไว้วางใจกันและกันระหว่างชุมชนมุสลิมกับทหาร วิธีการนั้นไม่เพียงแต่จะทำให้ความสนับสนุนของพลเรือนที่มีต่อทางการทหารลดลงเท่านั้น แต่ยังอาจเสริมให้มีความโหดเหี้ยมมากขึ้นในการก่อความไม่สงบ สังหารได้แม้กระทั่งเด็กและผู้หญิง และคนแก่ ผู้ป้องกันตัวเองไม่ได้

ส่วนอาจารณ์ปณิธาน วัฒนายากร แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในแง่สถิติตัวเลขนั้น ความรุนแรงโดยทั่วทั้งหมดลดลง แต่ยังมีกรณีเโจมตีเฉพาะราย อย่างการวางระเบิด และกาสังหารโหด และผู้ก่อความไม่สงบดูจะมีวิธีการและอาวุธที่ทันสมัยหลักแหลมขึ้น ซึ่งเห็นได้ว่าพลพรรคเหล่านั้นกำลังเรียนรู้มากขึ้น มีประสบการณ์มากขึ้นในการโจมตี

กลวิธีที่ทางการทหารต่อโต้ปราบปรามหนักมือขึ้นนั้น แยกต่างออกไปจากยุทธวิธีของรัฐบาลชุดก่อนที่พยายามหาทางแก้ปัญหาโดยวิธีการทางการเมือง

กลุ่ม Human Rights watch กล่าวว่า ผู้บัญชาการทหารบกสัญญาว่าจะลงโทษทหารผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน และว่าทางกลุ่มมีแผนการที่จะชี้ตัวและส่งรายชื่อผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนให้แก่ทางการทหาร

XS
SM
MD
LG