ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศจีน


อีกไม่กี่เดือน มหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่งก็จะเริ่มขึ้นแล้ว ซึ่งจีนคาดหวังว่าการเป็นเจ้าภาพครั้งนี้จะเป็นการแสดงศักยภาพหรือพลังของจีนในปัจจุบันให้ทั่วโลกประจักษ์

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศจีนก็กำลังถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดเช่นกัน โดยเฉพาะมาตรการล่าสุดของรัฐบาลจีนที่ใช้จัดการกับกลุ่มผู้ประท้วงในธิเบตก็กลายเป็นประเด็นร้อนที่ทำให้กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนหลายกลุ่ม รวมทั้งบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการต่างๆ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของจีนกันมากมาย

เสียงตะโกนคำว่า ทิเบตๆๆ ระหว่างการร้องเพลงของ Bjork นักร้องชาวไอซ์แลนด์ที่เพิ่งจัดการแสดงที่นครเซี่ยงไฮ้ไปเมื่อต้นเดือน ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจีนต้องประกาศว่าต่อไปจะควบคุมการแสดงของนักร้องนักแสดงจากต่างประเทศให้มากขึ้น ซึ่งมาตรการที่ว่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะก่อนหน้านี้เมื่อปี ค.ศ. 2006 วงร็อคชื่อดัง Rolling Stone ก็เคยถูกสั่งห้ามร้องเพลงหลายเพลงในการแสดงที่เมืองจีนมาแล้ว

คุณ Sharon Hom ผอ.กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนในประเทศจีนกล่าวว่า แม้รัฐบาลจีนจะยินดีต้อนรับศิลปินต่างชาติที่เดินทางมาจัดการแสดงในเมืองจีน แต่ในขณะ เดียวกันปักกิ่งก็ยืนยันหนักแน่นว่ามีบางประเด็นที่ศิลปินเหล่านั้นไม่ควรล่วงล้ำ โดยเฉพาะประเด็นที่เรียกว่า “3 ที” คือ ทิเบต ไต้หวัน และจัตุรัสเทียนอันเหมิน

และในขณะที่มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนกำลังใกล้เข้ามา นักรณรงค์ทั่วโลกต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนเรื่องปัญหาการละเมิดสิทธิในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงการจัดการปัญหาความขัดแย้ง การจำกัดเสรีภาพของสื่อและล่าสุดเรื่องการปราบ ปรามกลุ่มผู้ประท้วงในทิเบต นอกจากนี้ ยังมีเสียงวิจารณ์นโยบายต่างประเทศของจีน โดยเฉพาะความล้มเหลวในการช่วยยุติความรุนแรงในซูดาน

คุณ Phelim Kine นักวิชาการจากกลุ่ม Human Right Watch บอกว่า มาตรการของจีนในการจัดการกับกลุ่มผู้ประท้วงในธิเบตในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา อาจส่งผลให้ทั่วโลกเกิดทัศนคติด้านลบต่อจีนเกี่ยวกับการปกครองธิเบต และอาจส่งผลกระ ทบต่อการเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก และแม้คณะกรรมการโอลิมปิกจะมีกฎห้ามนักกีฬาแสดงท่าทีทางการเมืองระหว่างการแข่งขัน แต่มีรายงานหลายชิ้นระบุว่าเวลานี้บรรดานักกีฬาพากันกังวลเกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจีน และบางคนอาจจะคว่ำบาตรไม่เดินทางมาแแข่งขัน ในขณะที่ทางด้านองค์กรนิรโทษสกรรมสากลและองค์กรอื่นๆ ต่างพยายามเรียกร้องให้คณะกรรมการโอลิมปิกและบรรดาบริษัทผู้สนับสนุนการแข่งขันช่วยกันกดดันจีนในเรื่องนี้เช่นกัน

คุณ Mark Allison นักวิชาการจากองค์กรนิรโทษสกรรมสากลระบุว่า ตอนที่คณะ กรรมการโอลิมปิกสากลหรือ IOC ประกาศให้จีนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ก็บอกว่าจะพยายามตรวจสอบการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศจีน แต่จนถึงเวลานี้สถานการณ์กลับยิ่งแย่ลง ดังนั้น IOC จึงควรกดดันจีนให้มากกว่าเดิม ในขณะที่คุณ Sharon Hom จากกลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนในประ เทศจีนบอกว่า เสียงหรือการแสดงความเห็นของผู้มีชื่อเสียงในแวดวงต่างๆ อย่างที่สตีเว่น สปีลเบริ์กได้ทำไป ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้รัฐบาลจีนเกิดความกังวลถึงภาพลักษณ์ของตนมากขึ้น และทางด้านคุณ Kine จากกลุ่ม Human Right Watch ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า เวลานี้รัฐบาลจีนมีแผนจะจัดการกับกลุ่มผู้ประท้วงในระหว่างช่วงการแข่งขันกีฬาอย่างเด็ดขาด แต่สำหรับบุคคลที่มีชื่อเสียงที่จะเดินทางมายังกรุงปักกิ่งในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ จะเป็นกลุ่มที่มีฐานะเหนือกว่านักกีฬาทั่วไป ดังนั้น การแสดงความเห็นคัดค้านโดยคนกลุ่มนี้น่าจะมีน้ำหนัก และน่าจะทำให้ผู้มีอำ นาจในรัฐบาลจีนปิดกั้นได้ยากกว่า



XS
SM
MD
LG